พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความ ไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมา ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกา เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคู่ความจากการสอดคดี: ศาลต้องพิจารณาคดีใหม่โดยมีคู่ความครบถ้วน
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม มาตรา 58 การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความสามฝ่าย ศาลจะแยกพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามมาตรา 243(2),247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำร้องสอดและการพิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้รับคำร้องสอด
ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้แล้วผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความทั้งสามฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกามีอำนาจสั่งยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) นั้น ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่เสียมาทั้งหมดให้แก่คู่ความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้าอ้อย, การแจ้งคำสั่ง, และการไม่สืบพยานส่งผลต่อคำพิพากษา
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร.เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส.ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร.ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้า ก. คณะกรรมการน้ำตาลทราย และการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเมื่อไม่สืบพยาน
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร. เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส. ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร. ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง"แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่าคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายหาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย เพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราบ เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบได้เลือกจำเลยที่ 4เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยมีจำเลยที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้วมิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทราบได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทราบในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 มาตรา 42(2)บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทราบมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือมีอำนาจสั่งตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทราบซึ่งมีจำเลยที่ 5เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟัง ไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทราบมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก.ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควต้าก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาพยานหลักฐานในคดีตัวแทน: ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาเอกสารท้ายฟ้องประกอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินและทรัพย์สินให้โจทก์ในฐานะตัวการ รวมทั้งเงินสดที่จำเลยในฐานะตัวแทนได้รับไว้แทนโจทก์ในฐานะตัวการ 2 รายการคือ ลูกหนี้58,301.35 บาท ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่ามีเงินสดจำนวนดังกล่าวอยู่ที่จำเลยแล้ว ส่วนอีกรายการคือสินค้าคงเหลือ57,887.95 บาท ปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เมื่อพิจารณาตามฟ้องโจทก์ประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องโจทก์ได้ยืนยันว่าจำเลยได้จำหน่ายสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงินแล้วดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาเพียงจากสภาพคำฟ้องและพิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าตามฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินสดจำนวน116,189.30 บาท แต่ตามคำฟ้องทั้งสองรายการแปลได้ว่าไม่มีเงินสดอยู่ที่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่อาจบังคับกับจำเลยได้นั้น ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งก่อนแล้วจึงวินิจฉัย กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจน vs. การปฏิเสธลายมือชื่อปลอม: ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้ว
การที่จำเลยให้การต่อสู้โจทก์เพียงว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้เป็นประเด็นให้ศาลวินิจฉัยด้วยว่าเหตุใดหรือด้วยวิธีอย่างใดโจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบ เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้เพราะมิได้ให้การไว้ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวซึ่งยุติลงในศาลชั้นต้นแล้วอีก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้เพราะถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจึงเป็นการชอบแล้ว จำเลยให้การว่า เช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับจำเลยมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ลายมือชื่อในเช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอม ดังนี้ คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม จึงเป็นคำให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ไม่จำต้องกล่าวว่าปลอมอย่างไรอีกชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองและศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้แล้ว จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาอีก จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาในปัญหานี้และพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้อง ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ว วินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและ แบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษา ให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาแท้จริง ในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยาน และคำพิพากษาและศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลย ได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลาง ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานก่อนยุติข้อเท็จจริงเรื่องราคาสินค้าเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวน
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดง-รายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่เป็นสินสมรส และการจำนองที่ดิน ศาลต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นข้อกล่าวหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม และจำเลยที่ 2 ได้ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ขอให้เพิกถอนการยกให้ที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2ไถ่ถอนการจำนองที่ดินส่วนของโจทก์ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 ให้การและแถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง คำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1ดังกล่าวก็หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไม่ทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ให้การและโจทก์มิได้ยอมรับว่า จำเลยที่ 2แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการยกให้ไม่สมบูรณ์และฟังว่าหลังจากการยกให้ที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกินกว่า 1 ปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 และพิพากษายกฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบเพราะข้อเท็จจริงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ยังโต้เถียงกันว่า การยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ และโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายต่อไป