คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ ขึ้นอยู่กับสถานะกรรมการของโจทก์ ต้องให้สืบพยานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธข้ออ้างและสิทธิในการนำสืบพยาน การครอบครองปรปักษ์ และคำสั่งที่ไม่ชอบของศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองผิดสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันเดิมฉบับใหม่กับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองให้การว่า หลังจากจำเลยที่ 1ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับแรกแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ด้วยการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับใหม่ และจำเลยที่ 2ก็มิได้ตกลงทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์นำแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันมาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ลงชื่อในสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันตามลำดับแล้วโจทก์นำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความอันเป็นเท็จโดยไม่ได้รับความยินยอม คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอม เมื่อคำให้การของจำเลยชัดแจ้งและไม่ขัดกัน คำสั่งของศาลชั้นต้นว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นว่ามีการรับสภาพหนี้โดยทำสัญญาซื้อขายและค้ำประกันหรือไม่ กับสัญญาซื้อขายและค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในรถยนต์บรรทุกพิพาทดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยความสงบ เปิดเผยและแสดงเจตนาครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์บรรทุกพิพาทอีกต่อไป คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นข้อ 1 และข้อ 4 แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นดังกล่าวเอง ฉะนั้น เมื่อศาลสูงยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิสืบพยานในประเด็นข้อนั้น และสำหรับประเด็นการครอบครองปรปักษ์รถยนต์พิพาทที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้แล้วก็ต้องให้โจทก์มีสิทธิสืบแก้ในข้อนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ตราปลอม, และการแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้คำฟ้องไม่เป็นผล
จำเลยทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้ว่า นายย.ร่วมกับนายช.ทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นเท็จว่าจำเลยลาออกจากกรรมการของโจทก์ทั้งสองแล้วตั้งนายย.เป็นกรรมการแทนและนำความเท็จดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ นายย.เป็นกรรมการของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ ตราประทับของโจทก์ทั้งสองในใบแต่งทนายความเป็นตราปลอม คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทตามข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่ ซึ่งจำเป็นจะต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและโจทก์ทั้งสองนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยและโจทก์ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกยึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาท การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำคัดค้าน เมื่อตามคำคัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านครอบครอง ทรัพย์มรดกเพื่อตนเองในฐานะส่วนตัว จึงไม่มีประเด็นว่า ผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองหรือไม่ ต้องถือว่าผู้คัดค้านยึดถือครอบครองมรดก ไว้แทนทายาทของเจ้ามรดก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดตลอดมา ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทนทายาท การงดสืบพยานไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำคัดค้าน เมื่อตามคำคัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองในฐานะส่วนตัวจึงไม่มีประเด็นว่าผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองหรือไม่ ต้องถือว่าผู้คัดค้านยึดถือครอบครองมรดกไว้แทนทายาทของเจ้ามรดก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดตลอดมา ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย การงดสืบพยานก่อนพิสูจน์สิทธิเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก.ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นโมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถโอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่พอให้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จนที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูป: ต้องเป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาจัดให้เกษตรกรตามกฎหมายเท่านั้น
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้น ไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิ ในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อ ที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้ เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ดังนั้น สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะ เพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขาย ที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ 3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่ โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลย ทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็น โมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถ โอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์ นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่ พอให้ ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 จนที่ดิน นั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็น ต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ หรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยหลังเสียชีวิต: สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก vs. ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่กรรม จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยซึ่ง ถึงแก่กรรมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพินัยกรรมแทนจำเลยต่อไป ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ผู้จัดการมรดกหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ และข้อเท็จจริง ตามคำร้องของโจทก์และคำแถลงของ ส.คงได้ความแต่เพียงว่าส.เป็นทายาทของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ปกครอง ทรัพย์มรดกหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของ ก.แต่อย่างใดส.จึงไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากในที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ส.ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ.
of 29