คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่ง-อาญาเกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาชี้ว่าคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงจากสำนวนได้ ส่วนคดีแพ่งต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญา
ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกัน ในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญาด้วยกันนั้น หาได้มีบทกฎหมายใดบังคับว่า ในการพิจารณาคดีหลังที่กล่าวหากันด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีก่อน ศาลจะต้องถือเอาข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วในคดีก่อนไม่ดังนั้น ในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญา ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนได้ หาจำต้องไปฟังข้อเท็จจริงจากคดีก่อนไม่ ส่วนในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งนั้น หากเป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกันมาศาลจำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ในคดีส่วนแพ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยคดีและพิพากษาให้แก่โจทก์ การที่จะส่งสำนวนคืนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งเสียใหม่หาได้เกิดผลดีแก่คดีโจทก์ไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูน: เจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้สร้างสรรค์ ไม่ใช่ผู้ว่าจ้าง การดัดแปลงและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิด
โจทก์มิได้สร้างสรรค์ภาพต้นแบบขึ้นโดยการรับจ้างจำเลย จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ว่าจ้างอันจะมีลิขสิทธิ์ในงานนั้นตาม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์ย่อมเป็น เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยได้ดัดแปลง และนำงาน อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ของโจทก์ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้บรรยายว่า การกระทำของ จำเลยเป็นการละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ด้วยก็ตามแต่ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นประเด็นพิพาทไว้และโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร เหตุผลความจำเป็นและมิใช่การประวิงคดี
คำร้องขอระบุพยานบุคคล 3 อันดับ พยานเอกสาร 6 อันดับ รวม 9 อันดับเพิ่มเติม อ้างเหตุสองประการคือบัญชีระบุพยานยังพิมพ์ขาดตกบกพร่อง และเอกสารที่ขอระบุเพิ่มเติมนี้เพิ่งทราบว่ามีและหาได้ พยานบุคคลที่ขอระบุเพิ่มเติมได้ความว่า พยานบุคคลที่ระบุไว้เดิมมาเบิกความไม่ได้ในวันนัดโจทก์จึงระบุพยานเพิ่มเติมแทนพยานที่ระบุไว้เดิม และนำตัวมาพร้อมที่จะเบิกความด้วยในวันนัดเช่นนี้นั้น กรณีถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร ส่วนพยานเอกสารที่ขอเพิ่มเติม 6 อันดับ โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จำเลยมิได้คัดค้านและไม่ปรากฏว่าเป็นเอกสารที่โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามี กรณีต้องฟังตามคำร้องของโจทก์ว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโจทก์ขอเลื่อนโดยแถลงว่านัดหน้าจะนำพยานมาสืบ นัดต่อมาโจทก์ไม่มีพยานตามที่ระบุไว้แล้วมาศาล คงมีแต่พยานบุคคลที่โจทก์ขอระบุเพิ่มเติมในวันนั้นมาศาลพร้อมที่จะสืบ แต่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม โจทก์แถลงถึงความจำเป็นที่พยานคนเดิมไม่มาศาลไว้ด้วย พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า และการที่โจทก์นำพยานบุคคลที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบก็ไม่มีข้อที่จะทำให้จำเลยเสียเปรียบในทางคดีแต่อย่างใด เพราะแม้ตามบัญชีระบุพยานเดิมเมื่อถึงวันนัดจำเลยก็ไม่อาจรู้ได้ว่าโจทก์นำพยานบุคคลอื่นใดเข้าสืบก่อนหลัง และไม่อาจรู้ได้ก่อนว่าพยานปากใดจะเบิกความในประเด็นแห่งคดีเรื่องอะไรก่อนที่จะลงมือสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบจำเลยในทางคดี กรณีมีเหตุอันสมควรให้โจทก์สืบพยานไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องและนอกประเด็นแห่งคดี ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินขอบเขตที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็น
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง อยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น และการพิพากษาคดีหุ้นส่วนที่มิได้ยกเหตุเลิกสัญญา
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการโดยไม่ต้องยินยอมทายาท แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและแบ่งมรดกให้ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกตามกฎหมาย แต่ศาลต้องไต่สวนเมื่อมีข้อกล่าวหาการจัดการที่ไม่ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท
คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม 9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง 8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเนื่องจากป่วย ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนสั่งปรับผู้ประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยอ้างเหตุว่าป่วย และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง หากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าจำเลยป่วยจริง ก็ชอบที่จะไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยประวิงคดี จงใจไม่มาฟังคำพิพากษาและสั่งว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยมิได้มีการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบแม้ผู้ประกันร่วมจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ประกันร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247,243(2),245(1) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์, การยกฟ้องเนื่องจากไม่มาศาล, และการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ
of 29