พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้โทษคดีพรากเด็ก-กระทำชำเรา: ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษแม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา
แม้ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมตามความผิดและพฤติการณ์แห่งคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนเงินรถยนต์คันแรก: การจอง vs. ซื้อ/เช่าซื้อ และเงื่อนไขการรับมอบรถ
หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 กันยายน 2554 เรื่องการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่อนุมัติหลักการและแนวทางในการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรกกำหนดว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการต้องเป็นการซื้อรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยมิได้ระบุถึงการจองรถยนต์ไว้ด้วย การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ให้ขยายเวลาส่งมอบรถยนต์และยื่นเอกสารสำหรับโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกโดยบันทึกข้อความของสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 ส่วนมาตรฐานฯ 3 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเอกสารใบจองรถยนต์เพื่อการขอใช้สิทธิรถยนต์คันแรกระบุว่า ผู้ขอใช้สิทธิต้องซื้อหรือจองรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 แต่ไม่สามารถรับมอบรถยนต์หรือไม่สามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และไม่สามารถยื่นเอกสารหลักฐานได้ภายในวันสิ้นสุดโครงการ สามารถนำใบจองมาขอใช้สิทธิตามโครงการรถยนต์คันแรกได้ แสดงว่าผู้ขอใช้สิทธิตามโครงการที่จองรถยนต์ไว้แล้วยังจะต้องซื้อหรือทำสัญญาเช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อต่อไปอีกจึงจะมีสิทธิได้รับเงินคืน
การที่จำเลยจองรถยนต์กับบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ก่อนคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและแนวทางในการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 มิใช่เป็นการจองซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์โดยตรง หากแต่เป็นการจองเพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ล. ผู้ให้เช่าซื้อ โดยบริษัท ล. เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือแก่บริษัท ต. จนครบถ้วนแล้วนำหลักฐานการซื้อขายรถยนต์ที่ออกโดยบริษัท ต. ไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท ล. จากนั้นจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ล. เจ้าของรถยนต์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้จองรถยนต์เพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น หาใช่เป็นผู้ซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. โดยตรงไม่ จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยจองรถยนต์เป็นการตกลงซื้อขายรถยนต์ที่สมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อรถยนต์ตามมติคณะรัฐมนตรีในโครงการรถยนต์คันแรก เมื่อจำเลยได้รับมอบรถยนต์ที่จองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 และทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเป็นการเช่าซื้อรถยนต์ภายในระยะเวลาของโครงการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายไปคืนตามมติคณะรัฐมนตรี การใช้สิทธิขอรับเงินของจำเลยมิได้ผิดเงื่อนไขอันจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์
การที่จำเลยจองรถยนต์กับบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ก่อนคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและแนวทางในการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 มิใช่เป็นการจองซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์โดยตรง หากแต่เป็นการจองเพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ล. ผู้ให้เช่าซื้อ โดยบริษัท ล. เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือแก่บริษัท ต. จนครบถ้วนแล้วนำหลักฐานการซื้อขายรถยนต์ที่ออกโดยบริษัท ต. ไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท ล. จากนั้นจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ล. เจ้าของรถยนต์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้จองรถยนต์เพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น หาใช่เป็นผู้ซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. โดยตรงไม่ จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยจองรถยนต์เป็นการตกลงซื้อขายรถยนต์ที่สมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อรถยนต์ตามมติคณะรัฐมนตรีในโครงการรถยนต์คันแรก เมื่อจำเลยได้รับมอบรถยนต์ที่จองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 และทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเป็นการเช่าซื้อรถยนต์ภายในระยะเวลาของโครงการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายไปคืนตามมติคณะรัฐมนตรี การใช้สิทธิขอรับเงินของจำเลยมิได้ผิดเงื่อนไขอันจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060-1061/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้าง-ค่าชดเชย: ศาลแก้ไขจำนวนกรรมความผิดเป็นรายลูกจ้าง และไม่รอการลงโทษจำคุก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างเดือนสิงหาคม 2559 ต่อลูกจ้างแต่ละคน 87 กรรม ค่าจ้างเดือนกันยายน 2559 ต่อลูกจ้างแต่ละคน 87 กรรม และไม่จ่ายค่าชดเชยต่อลูกจ้างแต่ละคน 87 กรรม เมื่อลูกจ้างแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างแต่ละคนแยกเป็นราย ๆ ไป แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะกระทำต่อลูกจ้างทั้ง 87 คน ในคราวเดียวกัน แต่เป็นการกระทำที่มีเจตนาต่อลูกจ้างตามที่มีสิทธิได้รับแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนลูกจ้างแต่ละคน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียว เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 จะยุติไปแล้ว แต่คดียังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจพิพากษาลงโทษครบทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และแม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 11 ยกเลิกความในมาตรา 70 และมาตรา 14 ยกเลิกความใน (5) ของมาตรา 118 และมาตรา 20 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 144 และมาตรา 21 ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 144 และมาตรา 24 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 151 โดยข้อความที่ยกเลิกให้ใช้ข้อความใหม่แทน และมาตรา 15 ให้เพิ่มข้อความใหม่เป็น (6) ของมาตรา 118 ก็ตาม แต่ระวางโทษเท่าเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณ จึงต้องใช้กฎหมายเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางออนไลน์ ค่าเสียหาย และความรับผิดทางแพ่ง จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เดิมโจทก์ร่วมเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ในคดีหมายเลขดำที่ 481/2558 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับคดีนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคน โดยระบุเหตุผลว่า "...โจทก์จึงมีความประสงค์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต่อศาล เพื่อจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีได้มีคำสั่งฟ้องจำเลยทั้งสี่ต่อศาลนี้..." ต่อมาเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนต่อศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมก็ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกเพียง 1 เดือนเศษ และต่อมาเมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ พวกอีกสองคนให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาใหม่ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ หลังจากนั้นอีกเพียง 3 วัน โจทก์ร่วมก็ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้แม้ขณะที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนในคดีก่อน ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพนักงานอัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้วหรือไม่ และไม่ทราบว่าพนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่า โจทก์ร่วมมีเจตนาถอนฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นการเด็ดขาด เนื่องจากโจทก์ร่วมได้ระบุไว้ในคำร้องแล้วว่า ประสงค์ขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง เพื่อที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการทั้งสองคดีต่อเนื่องตลอดมา พฤติการณ์จึงหาใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 36 ไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องทั้งของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอม, การฉ้อโกง, และสิทธิในการบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้หากยังไม่ได้รับชำระหนี้
พ. ปลอมหนังสือมอบอำนาจ แล้วนำไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ทั้งห้า และแม้ว่าโจทก์ทั้งห้าจะได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้แก่ พ. ไป แต่ พ. เป็นทนายความของโจทก์ทั้งห้าย่อมถือเป็นผู้มีวิชาชีพและมีจรรยาบรรณเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนว่าจะกระทำการใด ๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของตนเพื่อจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทั้งจะต้องรักษาผลประโยชน์แห่งลูกความของตนไม่ให้เป็นที่เสื่อมเสีย เช่นนี้ การที่ พ. นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ทั้งห้าลงลายมือชื่อไปปลอมเอกสาร ย่อมถือไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ทั้งห้า เมื่อ พ. นำหนังสือมอบอำนาจปลอมของโจทก์ทั้งห้าไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งห้าร่วมรู้เห็นกับการกระทำของ พ. ดังกล่าว การทำสัญญาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งห้า พ. จึงไม่มีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งห้า ไม่มีอำนาจรับเงินหรือเช็คจากจำเลยที่ 2 ไว้แทนโจทก์ทั้งห้า และมิใช่กรณีตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจในอันที่ตัวการจะให้สัตยาบัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ได้ ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จะได้ฟ้อง พ. ให้คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยที่ 2 แก่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 หรือร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อ พ. กับพวกก็ตาม ก็เป็นเพียงการเรียกร้องค่าเสียหายและการดำเนินคดีเนื่องจากโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ถูก พ. กระทำละเมิด ฉ้อโกง และยักยอกไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ พ.
ภายหลังจากที่ พ. รับเงินและเช็คจากจำเลยที่ 2 แล้ว พ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและรับเงินตามเช็คเป็นของตน มิได้นำเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่โจทก์ทั้งห้า ทั้งยังนำเช็คส่วนที่เหลืออีก 29 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3,050,000 บาท ไปขายลดคืนให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคาเพียง 900,000 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินตามเช็คจำนวนมาก ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่ พ. จะต้องนำเช็คมาขายลดคืนแก่จำเลยที่ 2 ในราคาดังกล่าวและไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ทั้งห้าที่เป็นลูกความ การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 900,000 บาท แก่ พ. เพื่อแลกกับเช็คจำนวน 3,050,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งห้า ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่สมคบกับ พ. เพื่อที่จะไม่ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งห้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งห้าครบถ้วนแล้วขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ เมื่อโจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงยังคงมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้
ภายหลังจากที่ พ. รับเงินและเช็คจากจำเลยที่ 2 แล้ว พ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและรับเงินตามเช็คเป็นของตน มิได้นำเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่โจทก์ทั้งห้า ทั้งยังนำเช็คส่วนที่เหลืออีก 29 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3,050,000 บาท ไปขายลดคืนให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคาเพียง 900,000 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินตามเช็คจำนวนมาก ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่ พ. จะต้องนำเช็คมาขายลดคืนแก่จำเลยที่ 2 ในราคาดังกล่าวและไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ทั้งห้าที่เป็นลูกความ การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 900,000 บาท แก่ พ. เพื่อแลกกับเช็คจำนวน 3,050,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งห้า ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่สมคบกับ พ. เพื่อที่จะไม่ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งห้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งห้าครบถ้วนแล้วขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ เมื่อโจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงยังคงมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้