คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลต้องจัดให้มีคู่ความแทนที่ก่อนพิจารณาต่อ
ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน2522 ขอให้ศาลชั้นต้นแก้คำบังคับโดยให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มด้วย ซึ่งต่อมาได้มีอุทธรณ์ฎีกาคำร้องดังกล่าวโดยทนายจำเลยเป็นผู้ฎีกาและปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2522โดยทนายจำเลยก็ทราบแต่ยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คดีก็กลับมีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ โดยต้องจัดให้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความเสียก่อนเช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เป็นต้นมา จึงยังไม่ถูกต้องและทนายจำเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจำเลยที่จะยื่นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเจตนาลาออก: สัญญาจ้างไม่ผูกพันตามอายุสัมปทาน, เจตนาลาออกจากการถูกข่มขู่เป็นโมฆะ
แม้อายุสัมปทานที่จำเลยได้รับจากรัฐบาลจะกำหนดเวลาไว้แน่นอนแต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนไม่
การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ลงชื่อในใบลาออกเพราะถูกคำขู่ตามประกาศของจำเลย ใบลาไม่มีผลบังคับเป็นเรื่องศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์เสื่อมเสียไปเพราะเป็นเจตนาที่ได้มาจากการข่มขู่มิใช่วินิจฉัยว่าไม่มีข้อความว่าลาออกทั้ง ๆ ที่เอกสารมีข้อความแจ้งชัดว่าเป็นการลาออก จึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย/ถอนทนาย และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าตัวโจทก์ป่วยและทนายโจทก์มีความคิดเห็นในการดำเนินคดีขัดแย้งกับตัวโจทก์ หากดำเนินคดีให้แก่ตัวโจทก์ต่อไปจะเกิดความเสียหายได้ ทนายโจทก์จึงขอถอนตัวจากคดี คำร้องดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความขอเลื่อนคดี ก็เท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัว ศาลชั้นต้น สั่งให้ทนายโจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ทราบก่อน แล้วศาล จะได้สั่งคำร้องในภายหลัง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่ จะดำเนิน กระบวนพิจารณาในเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 เสียก่อน ทั้งใน วันนั้นทนายจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก เพราะ ความเจ็บป่วย ซึ่งศาลควรจะต้องสั่งเลื่อนคดีตาม มาตรา 40 อยู่แล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ คดีก็ไม่ ต้องห้าม อุทธรณ์ฎีกา และเป็นกรณีแตกต่างกับการที่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจ สั่งให้เลื่อนหรือไม่ให้เลื่อนคดี ซึ่งคู่ความที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ระหว่างพิจารณาดังกล่าวจะต้องโต้แย้งคำสั่งศาลไว้จึงจะมีสิทธิ อุทธรณ์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้เช็ค: ศาลล่างงดสืบพยานไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยผู้สั่งจ่าย จำเลยต่อสู้คดีว่าออกเช็คให้โจทก์เพื่อประกันหนี้เงินกู้เช็คตามฟ้องมีมูลหนี้ส่วนหนึ่งจากการกู้เงิน และจำเลยได้ชำระไปบ้างแล้ว มิได้มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเต็มจำนวนในฟ้อง ดังนี้ เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนแรก ชอบที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ การที่ศาลสั่งงดสืบพยานจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานกรณีข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้เช็ค ศาลต้องเปิดโอกาสให้จำเลยสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยผู้สั่งจ่าย จำเลยต่อสู้คดีว่าออกเช็คให้โจทก์เพื่อประกันหนี้เงินกู้เช็คตามฟ้องมีมูลหนี้ส่วนหนึ่งจากการกู้เงิน และจำเลยได้ชำระไปบ้างแล้ว มิได้มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเต็มจำนวนในฟ้อง ดังนี้ เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนแรกชอบที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ การที่ศาลสั่งงดสืบพยานจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติม: โจทก์ต้องนำสืบประเด็นสำคัญตั้งแต่ต้น หากละเลย ศาลไม่อนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งชื่อไทยและจีน ได้กู้เงินโจทก์ที่ฮ่องกงทำหลักฐานการกู้และลงลายมือชื่อไว้เป็นภาษาจีน จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ที่ฮ่องกง หลักฐานการกู้โจทก์ปลอมแปลงขึ้น ลายเซ็นชื่อในเอกสารไม่ใช่ลายมือขื่อของจำเลย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นาสืบว่าชื่อในหลักฐานการกู้เป็นชื่อของจำเลยและไม่ปลอม ทั้งขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้น จำเลยอยู่และหาหลักฐานให้โจทก์ที่ฮ่องกง ต่อเมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว ระหว่างการสืบพยานจำเลย โจทก์จึงเพิ่งยื่นคำร้องว่าที่จำเลยเบิกความว่าอ่านเขียนภาษาจีนไม่เป็น ไม่ได้ขื่อภาษาจีน ไม่ได้ไปฮ่องกงในปีที่ลงในสัญญากู้นั้น โจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบ สนับสนุนข้ออ้างของตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 แต่ปรากฏว่าในชั้นที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยาน แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้ว และเตรียมพร้อมที่จะนำสืบพิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวอันอยู่ในประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบมาแต่ต้นแล้ว แต่ในการนำสืบของโจทก์ โจทก์ก็มิได้แสดงหลักฐานเหล่านี้ต่อศาล ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างและขอนำสืบพยานเพื่อเพิ่มเติมคดีของโจทก์ กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าโจทก์ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าถึงข้อนำสืบของจำเลยหาได้ไม่ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องดังกล่าของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติมต้องทำในโอกาสที่เหมาะสม หากโจทก์ละเลยการนำสืบพยานหลักฐานแต่แรก ศาลย่อมไม่อนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งชื่อไทยและจีนได้กู้เงินโจทก์ที่ฮ่องกงทำหลักฐานการกู้และลงลายมือชื่อไว้เป็นภาษาจีนจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ที่ฮ่องกงหลักฐานการกู้โจทก์ปลอมแปลงขึ้นลายเซ็นชื่อในเอกสารไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยดังนี้ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบว่าชื่อในหลักฐานการกู้เป็นชื่อของจำเลยและไม่ปลอมทั้งขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้น จำเลยอยู่และทำหลักฐานให้โจทก์ที่ฮ่องกงต่อเมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วระหว่างการสืบพยานจำเลย โจทก์จึงเพิ่งยื่นคำร้องว่าที่จำเลยเบิกความว่าอ่านเขียนภาษาจีนไม่เป็น ไม่ได้ชื่อภาษาจีนไม่ได้ไปฮ่องกงใน ปีที่ลงในสัญญากู้นั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 120 แต่ปรากฏว่าในชั้นที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานแสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้ว และเตรียมพร้อมที่จะนำสืบพิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวอันอยู่ในประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบมาแต่ต้นแล้วแต่ในการนำสืบของโจทก์ โจทก์ก็มิได้แสดงหลักฐานเหล่านี้ต่อศาล ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างและขอนำสืบพยานเพื่อเพิ่มเติมคดีของโจทก์กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าโจทก์ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าถึงข้อนำสืบของจำเลยหาได้ไม่ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีภาษี การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นและสิทธิอุทธรณ์ การสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การและเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดี ทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินมีสาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุน เงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) (14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกัน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้ เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพ ฯ จ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่ นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไร ก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับ เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยหลงผิดหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้น ย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งในคดีภาษีอากร: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นสาระสำคัญ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดีทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุนเงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)(14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯจ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไรก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับเจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่ โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยผิดหลงหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้นย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่ จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
of 29