พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสั่งจำกัดการสืบพยานแล้ววินิจฉัยประเด็นอื่นที่ไม่ได้สั่งให้สืบ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อเท็จจริง 4 ข้อ ศาลชั้นต้นสั่งให้คู่ความนำพยานสืบสำหรับประเด็น ข้อ 1 ข้อเดียว ส่วนประเด็นอื่นเห็นว่าวินิจฉัยได้เอง เมื่อคู่ความได้ดำเนินการตามที่ศาลสั่งแล้ว ศาลกลับวินิจฉัยว่าโจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ประเด็นข้อ 3 แล้วไม่พิสูจน์ จึงพิพากษายกฟ้อง เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสั่งสืบพยานจำกัดประเด็น การวินิจฉัยนอกประเด็นที่สั่งสืบพยานเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
คดีมีประเด็นข้อเท็จจริง 4 ข้อ ศาลชั้นต้นสั่งให้คู่ความนำพยานสืบสำหรับประเด็นข้อ 1 ข้อเดียวส่วนประเด็นอื่นเห็นว่าวินิจฉัยได้เองเมื่อคู่ความได้ดำเนินการตามที่ศาลสั่งแล้ว ศาลกลับวินิจฉัยว่าโจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ประเด็นข้อ 3 แล้วไม่พิสูจน์จึงพิพากษายกฟ้องเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ของโจทก์ ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิในที่ดินก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ โจทก์ต้องการที่คืนจึงบอกเลิกการเช่ากับจำเลยและให้จำเลยออกไปจากที่เช่าจำเลยก็ไม่ออก ขอให้ขับไล่ จำเลยสู้ว่าที่พิพาทเป็นของกรมชลประทานไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เพราะโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขับไล่ จำเลยได้ก็ต้องได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ถ้าโจทก์ไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาทแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจเอาไปให้ผู้อื่นเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลก่อนพิพากษาห้ามอุทธรณ์ เว้นแต่มีการโต้แย้ง และศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้สืบพยานใหม่ได้
(1) ตามาตรา 226 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นั้น หมายความว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ถ้ามิใช่คำสั่งมาตรา 227, 228 แล้วห้ามอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา แต่ถ้าได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลพิพากษาหรือชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว ฉะนั้น ถ้าไม่ได้แย้งไว้ ก็อุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้
(2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ของฝ่ายผู้ค้าน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228 และถือว่าเป็นคำสั่งก่อนพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
(3) นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจนถึงวันฟังคำสั่งตัดสินชี้ขชาดคดีซึ่งมีเวลาที่จะคัดค้านคำสั่งได้ถึง 10 วันนั้น ถือว่ามีเวลานานพอที่จะโต้แย้งแล้ว จึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไม่ได้
(4) ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ว่ารับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยกคำสั่งชี้ขาดหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243 (2)
(ข้อ 3 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2505)
(2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ของฝ่ายผู้ค้าน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228 และถือว่าเป็นคำสั่งก่อนพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
(3) นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจนถึงวันฟังคำสั่งตัดสินชี้ขชาดคดีซึ่งมีเวลาที่จะคัดค้านคำสั่งได้ถึง 10 วันนั้น ถือว่ามีเวลานานพอที่จะโต้แย้งแล้ว จึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไม่ได้
(4) ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ว่ารับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยกคำสั่งชี้ขาดหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243 (2)
(ข้อ 3 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเดิมหลังศาลยกเลิกคำพิพากษาเดิมและให้พิจารณาใหม่
เดิมศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดและให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ ในการพิจารณาใหม่เช่นนี้ แม้โจทก์จะขาดนัดพิจารณาศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้เคยสืบไว้แต่เดิมนั้นได้ เพราะในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ยกเลิกกระบวนพิจารณาเรื่องพยานหลักฐานที่สืบมาก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตพยานเพิ่มเติมและการยกเหตุอายุความในชั้นฎีกา ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยระบุเอกสารเป็นพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตโดยเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยโดยมิได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยอีกเป็นพิเศษ ต้องแปลว่าศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นข้อนี้แล้ว เพราะเมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรงไม่พอฟังแล้ว พยานเอกสารอันไม่เกี่ยวกับประเด็นก็ย่อมไม่สามารถช่วยคดีจำเลยซึ่งไม่มีน้ำหนักอยู่แล้ว ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกได้
เรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฏหมาย แต่เมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม มาตรา 249 วรรค1.
เรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฏหมาย แต่เมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม มาตรา 249 วรรค1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตพยานเพิ่มเติมและการยกอายุความในชั้นฎีกา ศาลยืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยระบุเอกสารเป็นพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตโดยเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยโดยมิได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยอีกเป็นพิเศษ ต้องแปลว่าศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นข้อนี้แล้ว เพราะเมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรงไม่พอฟังแล้ว พยานเอกสารอันไม่เกี่ยวกับประเด็น ก็ย่อมไม่สามารถช่วยคดีจำเลยซึ่งไม่มีน้ำหนักอยู่แล้ว ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกได้
เรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การชำระหนี้บางส่วนและการพิสูจน์ข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่าตกลงและเปลี่ยนที่ดินกันและว่าให้แต่ละฝ่ายถือเอาที่ดินแลกเปลี่ยนกันได้และจะได้ไปจดทะเบียนกันภายหลังดังนี้ย่อมเป็นเรื่องจะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน หาใช่เป็นการแลกเปลี่ยนกันเด็ดขาดแล้วไม่
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้ว ซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป.
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้ว ซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การชำระหนี้บางส่วนด้วยการเข้าปลูกสร้าง และการพิสูจน์ข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันและว่าให้แต่ละฝ่ายถือเอาที่ดินแลกเปลี่ยนกันได้และจะได้ไปจดทะเบียนกันภายหลังดังนี้ย่อมเป็นเรื่องจะแลกเปลี่ยนที่ดินกันหาใช่เป็นการแลกเปลี่ยนกันเด็ดขาดแล้วไม่
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้วซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้วซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสิทธิแม้ยังมิได้จดทะเบียน
การโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้นหาจำต้องมีกฎหมายรับรองสิทธินั้นไว้โดยตรงเสียก่อนอย่างใดไม่ เมื่อผู้ใดโต้แย้งผู้นั้นก็อาจมาขอความคุ้มครองจากศาลได้เสมอเช่นในกรณีขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อมีข้อโต้แย้งว่าใครจะมีสิทธิดีกว่าในการที่จะจดทะเบียนก่อน ดังนี้ศาลก็ต้องรับวินิจฉัยให้ อย่าว่าแต่ในระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วยกันเลย เจ้าของเครื่องหมายการค้าอันแท้จริงแม้จะยังมิได้จดทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับผู้ที่จดทะเบียนแล้วในศาลก็ยังได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน (อ้างฎีกาที่ 277/2496)
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน (อ้างฎีกาที่ 277/2496)