พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดผิดที่อยู่และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์จำเลย โจทก์ได้แถลงยืนยันภูมิลำเนาของจำเลยว่า ปัจจุบันจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1213/39 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม. ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่แนบท้ายคำแถลงขอให้ปิดหมาย และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย ณ บ้านหลังดังกล่าว หากไม่มีผู้รับโดยชอบก็ขอให้มีคำสั่งให้ปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาดังกล่าว ซึ่งสามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยได้ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น ดังนั้น ต้องถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1213/39 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม. ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่แนบท้ายคำแถลงขอให้ปิดหมาย และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย ณ บ้านหลังดังกล่าว หากไม่มีผู้รับโดยชอบก็ขอให้มีคำสั่งให้ปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนา ดังกล่าว ซึ่งสามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยได้ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น ดังนั้น ต้องถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1213/39 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม. เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาดังกล่าว หากไม่มีผู้รับโดยชอบก็ขอให้ปิดหมายไว้ ณ บ้านหลังดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมายดังที่ได้ประทับข้อความไว้ในหมายนัด แต่เจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 65/71-72 ถนนแฮปปี้แลนด์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. ไม่ตรงตามคำสั่งศาล จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยและหลังจากนั้นต่อมาถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้วสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยใหม่ให้ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง การที่ศาลอุทธรณ์ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแรงงาน: ศาลจำหน่ายคดีโดยไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่มาศาลหลังการสืบพยานโจทก์
การที่จะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไปและศาลแรงงานมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลเมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดอื่นหลังจากนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ในวันที่ 13 มีนาคม 2549 เวลา 9 นาฬิกา โดยสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ต่อมาโจทก์และจำเลยก็มาศาลตามวันเวลานัดดังกล่าว และศาลทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 27 เมษายน 2549 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 แล้วสืบพยานโจทก์ จากนั้นจึงนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 แต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่างๆ ตามมาตรา 37, 38, 39 ผ่านพ้นไปแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งได้ และกรณีดังกล่าวมิใช่การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานที่จะถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณาและศาลจะมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200, 202 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้น ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่มิชอบดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีภาษีอากรและการย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
คดีนี้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดรังวัดที่ดินซึ่งได้นัดไว้ก่อน สอบโจทก์ไม่ค้าน ย่อมถือว่าทนายจำเลยที่ 2 มีเหตุจำเป็นไม่อาจมาศาลได้ ชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ส่งออกสินค้านอกราชอาณาจักรจริง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนบัตรภาษี หากศาลภาษีอากรกลางได้ทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออก อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจให้งดสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาไปเสียทีเดียว จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออกหรือไม่ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง โดยให้ย้อนสำนวนไปทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์รับฟังได้เป็นพยานหลักฐาน แต่ยังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงอื่นอีก
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ใบตอบรับการสมัครสินเชื่อเงินสดควิกแคชพร้อมสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระบุข้อความว่า จำเลยขอรับบริการสินเชื่อเงินสดควิกแคชในวงเงิน 500,000 บาท ในอัตราค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ 1.15 ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้และจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ โดยไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่าเป็นสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระหว่างโจทก์กับจำเลย เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น เอกสารดังกล่าวที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้
ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์หรือไม่ และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมายที่ขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247
ใบตอบรับการสมัครสินเชื่อเงินสดควิกแคชพร้อมสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระบุข้อความว่า จำเลยขอรับบริการสินเชื่อเงินสดควิกแคชในวงเงิน 500,000 บาท ในอัตราค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ 1.15 ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้และจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ โดยไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่าเป็นสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระหว่างโจทก์กับจำเลย เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น เอกสารดังกล่าวที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้
ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์หรือไม่ และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมายที่ขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659-660/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอให้สืบพยานเพิ่มเติม ศาลต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. ก่อนวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยที่ 2 จำเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อน มิได้มีเจตนาประวิงคดี ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้สืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป หากเป็นจริงดังอ้างจำเลยที่ 2 ก็มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีจึงต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และ (4) ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เสียก่อนแล้วมีคำสั่ง ไม่สมควรก้าวล่วงข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยวินิจฉัยตามคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของจำเลยที่ 2 เลยไปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ประวิงคดี ฟังยังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดใจสืบพยาน และสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ กรณีไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย มาตรา 247 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และประเด็นความเสียหายพิเศษจากการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์อันเป็นการกีดขวางทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร และได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าเสียหายจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนพยานจำเลยที่ไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยซ่อมแซมบ้านให้โจทก์เพียงบางส่วน ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ยื่นคำร้อง ทั้งตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 1 และข้อ 2 จำเลยจะชดใช้เงินค่าเสียหายที่แท้จริงให้แก่โจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่ได้ตกลงจำนวนค่าเสียหายกันไว้ให้แน่นอนที่จะสั่งให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่สั่งว่าค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด จึงไม่ทำให้คดีเสร็จไป โจทก์จำเลยจะต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณากันในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์อีก คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องหนี้หลายสัญญา การแยกฟ้องที่ไม่ชอบ และการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชีจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยใช้สัญญาบัญชีเดินสะพัด และสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินรวมกันมากับให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์ที่จำนองซึ่งโจทก์ชำระแทนจำเลยไปก่อน และมีคำขอให้บังคับจำนองแก่ทรัพย์ที่จำเลยนำมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งตามสำเนาสัญญาจำนอง ระบุว่า จำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้า โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทใดเป็นจำนวนเท่าใด การที่ศาลจะพิพากษาบังคับจำนองได้หรือไม่เพียงใด จำต้องพิจารณาก่อนว่ามูลหนี้ตามสัญญาแต่ละฉบับเมื่อรวมกันแล้วมียอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงชอบที่จะนำมูลหนี้ตามสัญญาทุกฉบับมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันและชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องข้อหากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินออกเป็นแต่ละคดี กับให้เสียค่าขึ้นศาลตามรายคดีที่แยกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่าการรวมพิจารณาข้อหาเหล่านี้เข้าด้วยกันจะเป็นการไม่สะดวกโดยศาลชั้นต้นไม่ได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 วรรคสอง และมีผลให้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยโจทก์ไม่ควรจะต้องเสีย จึงเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ มีผลทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การสั่งให้โจทก์แยกฟ้องแต่ละข้อหาออกเป็นแต่ละคดี กับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีที่แยกฟ้อง รวมทั้งการที่ศาลชั้นต้นอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่ดำเนินการแยกฟ้องตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบไปด้วย
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขมานั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ปัญหาที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบดังกล่าวมานั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชีจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยใช้สัญญาบัญชีเดินสะพัด และสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินรวมกันมากับให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์ที่จำนองซึ่งโจทก์ชำระแทนจำเลยไปก่อน และมีคำขอให้บังคับจำนองแก่ทรัพย์ที่จำเลยนำมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งตามสำเนาสัญญาจำนอง ระบุว่า จำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้า โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทใดเป็นจำนวนเท่าใด การที่ศาลจะพิพากษาบังคับจำนองได้หรือไม่เพียงใด จำต้องพิจารณาก่อนว่ามูลหนี้ตามสัญญาแต่ละฉบับเมื่อรวมกันแล้วมียอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงชอบที่จะนำมูลหนี้ตามสัญญาทุกฉบับมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันและชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องข้อหากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินออกเป็นแต่ละคดี กับให้เสียค่าขึ้นศาลตามรายคดีที่แยกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่าการรวมพิจารณาข้อหาเหล่านี้เข้าด้วยกันจะเป็นการไม่สะดวกโดยศาลชั้นต้นไม่ได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 วรรคสอง และมีผลให้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยโจทก์ไม่ควรจะต้องเสีย จึงเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ มีผลทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การสั่งให้โจทก์แยกฟ้องแต่ละข้อหาออกเป็นแต่ละคดี กับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีที่แยกฟ้อง รวมทั้งการที่ศาลชั้นต้นอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่ดำเนินการแยกฟ้องตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบไปด้วย
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขมานั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ปัญหาที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบดังกล่าวมานั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247