พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยร่วม และพิพากษาโดยไม่แก้ไขกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากโจทก์สูญหายไป จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และอ้างเหตุว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อได้ประกันภัยไว้กับบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ขอให้เรียกบริษัทสินมั่นคงประกันภัยจำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นจำเลยร่วม อันเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำให้การของจำเลยร่วมจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสาม เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และยกฟ้องสำหรับจำเลยร่วม โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ส่วนจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอชำระค่าเสียหายน้อยลง และขอให้จำเลยร่วมร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยด้วย เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยร่วมยังเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามและจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้เฉพาะโจทก์โดยไม่ได้ มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสามพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา และที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา ดังกล่าวเสียก่อน กับที่ศาลชั้นต้นไม่นัดให้จำเลยร่วมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 และต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามฎีกาต่อมายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีสิทธิที่จะฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วม แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีและยกฎีกาของจำเลยทั้งสาม คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และไม่พิจารณาการละเมิด สรุปฎีกายกคำพิพากษาให้ส่งสำนวนกลับพิจารณาใหม่
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นฟ้องเคลือบคลุมและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาที่ไม่ชอบ และอำนาจศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้อง คู่ความประสงค์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ขอเลื่อนไปเจรจาในรายละเอียดอีกครั้ง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือฟังคำพิพากษาก็เพราะเห็นว่าถ้าคู่ความไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็พิพากษาคดีไปได้โดยไม่ต้องมีการสืบพยาน วันที่เลื่อนมาจึงไม่ใช่วันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อทนายจำเลยไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นกำหนดเอาเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันนั้นเอง แล้วมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจำเลยไม่ทราบล่วงหน้า เป็นการพิจารณาโดยขาดนัดที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการไม่วินิจฉัยประเด็นการขาดนัด
คดีอาญาโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเกินกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ กรณีจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้ในครั้งแรกแล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว ได้แสดงเหตุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้ในครั้งแรกแล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว ได้แสดงเหตุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการขยายเวลาชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แต่จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาดังกล่าว ครั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้แล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้แสดงเหตุว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการฎีกา การพิจารณาคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา และการสั่งรับ/ไม่รับฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกา และคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อนและผลของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีแรงงาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จาก จำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้ อำนาจนายส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัย คำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏ ในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริง นอกสำนวนมาตัดสินคดี เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงาน ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยต้องนำสืบพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย