คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนชำระหนี้โดยไม่คิดราคาท้องตลาดเป็นโมฆะ – จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 2 ข้อ ดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการ แก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย การบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่น แทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระ เป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สิน ในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2. ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลย รับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็น หนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลย รับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยาน ตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริง ให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาท ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานกรณีข้อพิพาทเรื่องการโอนชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการพิพากษา
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการแก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2.ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลยรับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าชดเชยแรงงานและการขยายเวลา ศาลต้องพิจารณาคำร้องขยายเวลาก่อนสั่งรับฟ้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม มิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงาน ขยายระยะเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใดการที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลา วางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าชดเชยในคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 125 วรรคสาม จะกำหนดให้นายจ้างที่ประสงค์จะฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 124 ต้องนำเงิน มาวางต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานพร้อมกับคำฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่ห้ามนายจ้าง ที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อโจทก์ ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วน ต่อศาล ศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาสั่งคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณา สั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงิน ก่อนเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตาม มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินในคดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสามมิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใด การที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานเพิ่มเติมหลังศาลฎีกาแก้คำพิพากษา: พิจารณาความสำคัญของพยานหลักฐานใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ค. เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มี คำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้วให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ค. ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระภิกษุค. มีใจความพอสรุปได้ว่าโจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้ พระภิกษุค.กรอกข้อความ โดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ค. ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระภิกษุค. ถึงแก่มรณะภาพไปแล้วการที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสาร รวมทั้งคำเบิกความของพระภิกษุค. เป็นพยานในคดีนี้ พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติม จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญ ในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยาน ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมจำเลยและ สืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานเพิ่มเติมหลังศาลฎีกาพิพากษาให้สืบพยานเดิม การพิจารณาพยานหลักฐานอันสำคัญเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ค. เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มีคำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้ว ให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ค. ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระสมุห์ค. มีใจความพอสรุปได้ว่า โจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และ สัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้พระสมุห์ค. กรอกข้อความโดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ค. ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความ ในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระสมุห์ค. ถึงแก่มรณะภาพไปแล้ว การที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสารรวมทั้งคำเบิกความของพระสมุห์ค. เป็นพยานในคดีนี้พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมจึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติม จำเลยและสืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้พยานถึงแก่กรรมแล้ว โดยอ้างหลักฐานจากคดีอาญา
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ ค.เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มีคำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้วให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ ค.ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระสมุห์ ค.มีใจความพอสรุปได้ว่า โจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้พระสมุห์ ค.กรอกข้อความ โดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ ค.ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระสมุห์ ค.ถึงแก่มรณะภาพไปแล้ว การที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสารรวมทั้งคำเบิกความของพระสมุห์ ค.เป็นพยานในคดีนี้ พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมจึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมจำเลยและสืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังศาลชั้นต้นยกคำร้องเนื่องจากพ้นกำหนด และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่บังคับมีผลโดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่ โจทก์ ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดา ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดง เหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้น วินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่คำบังคับมีผล โดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคแรก ให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
of 29