คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 195

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์หักเงินสะสมสวัสดิการชำระหนี้กู้ยืม การมีอำนาจฟ้อง และการต่อสู้คดีด้วยสิทธิอื่น
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจาก เงินเดือน เงินโบนัสหรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้)ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้ โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้ เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อม มี อำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อนเป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากลูกจ้าง-สิทธิโดยไม่สุจริต-ไม่ต้องรับผิดชอบค่าขาดราคา
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซิ้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อได้นำเช็คฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง แต่โจทก์ก็ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ ทั้งโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่าโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างแล้ว และไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคา และเมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตาม ป.วิ.พ.มาตรา245 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ตัวการไม่ต้องรับผิด
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก 1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค แม้จะเป็นการผิดระเบียบการขายรถยนต์และข้อบังคับในการ ปล่อยรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่การที่ผู้ซื้อได้นำเช็ค ฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง และโจทก์ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ โจทก์จึง ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่า โจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ลูกจ้างแล้วและไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็น กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคาจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอน ยักยอกไม่ได้ เหตุไม่มีการส่งมอบหรือตรวจนับ
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกข้าวเปลือกของโจทก์จำนวน 400 กระสอบซึ่งฝากไว้ที่ยุ้งข้าวของจำเลย โดยข้าวเปลือกจำนวนดังกล่าวจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ามีการตรวจนับจำนวนหรือคัดเลือกข้าวเปลือกเพื่อกำหนดส่งมอบให้แก่โจทก์ ข้าวเปลือกที่โจทก์กล่าวอ้างจึงยังไม่เป็นวัตถุแห่งหนี้ที่จะชำระให้แก่กัน และกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอนไปเป็นของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองข้าวเปลือกของโจทก์ ไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเตาโอนเมื่อผู้ขายบรรจุและส่งมอบ หากมีการลักทรัพย์ ผู้รับซื้อเป็นผู้เสียหาย
บริษัท อ. นำน้ำมันเตาจำนวน 12,000 ลิตรที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อไปส่งยังบริษัทโจทก์ร่วมโดยรถบรรทุกน้ำมัน และจะรับรู้หรือรับผิดชอบถ้าหากลวดซีลที่ฝาปิดเปิดอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย แสดงว่าบริษัท อ. ผู้ขายได้หมาย หรือ นับ ชั่ง ตวงวัด หรือคัดเลือกบ่งตัวทรัพย์สินคือน้ำมันเตาที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อไว้แน่นอนเป็นจำนวน 12,000 ลิตร และบรรจุไว้ในรถเรียบร้อยแล้ว กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเตาที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมนำรถบรรทุกน้ำมันไปชั่งน้ำหนักอีกทีหนึ่งเป็นเพียงวิธีการตรวจสอบว่าบริษัท อ.ได้ส่งมอบน้ำมันเตาที่สั่งซื้อให้โจทก์ร่วมครบถ้วนหรือไม่เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องการกระทำเพื่อให้ทราบราคาที่แน่นอนไม่เมื่อจำเลยลักน้ำมันเตาไป 4,000 ลิตร โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนเมื่อขายฝากไม่ไถ่ และอายุความฟ้องร้องที่แตกต่างกัน
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่
การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่า กรมการศาสนาได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนและอายุความฟ้องร้อง: การซื้อขายฝาก การครอบครอง และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้วจำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตามแต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง1ปีไม่ การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่ากรมการศาสนาได้รับความเสียหายซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้นจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขายฝากที่ผิดสัญญาและรื้อถอนทรัพย์สิน - อายุความ 10 ปี
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่
การที่จำเลยเป็นผู้ขอให้เรียกกรมการศาสนาเข้ามาเป็นคู่ความเองและคำฟ้องของกรมการศาสนาก็เป็นเรื่องให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์เช่าจากกรมการศาสนาจึงเป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพียงขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยเท่านั้นและคดีนี้ก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายซ้ำซ้อนเพราะจำเลยยอมรับมาเองว่า กรมการศาสนาได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่กรมการศาสนาตามนั้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้
of 2