คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการนโยบายพลังงานในการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งนายกรัฐมนตรี
พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา 3 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การมีไว้ในครอบครอง การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด..." ต่อมานายกรัฐมนตรีออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งข้อ 9/1 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ที่จำหน่ายก๊าซมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณก๊าซที่จำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด การออกคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 สืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นและน้ำมันดิบที่จะหาซื้อมีปริมาณลดลงอันจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและการให้ผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายก๊าซมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอาศัยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 แม้มาตรานี้จะมิได้บัญญัติไว้โดยตรงให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้จัดเก็บหรือตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก็ตาม แต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงถือว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวได้ ทั้งปัญหาว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งได้หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายซึ่งไม่อาจนำความเห็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดมายืนยันได้ แม้จะได้ความตามทางนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับผลการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ครั้งที่ 22/2556 ว่า คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ออกโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการออกคำสั่งเพื่อให้เรียกเก็บเงินและจ่ายเงินชดเชยหรือจ่ายเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ และจำเลยได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมที่ 4/2554 และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือนิติกรรมทางปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว รวมทั้งขอให้เพิกถอนอำนาจในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ที่ 1 เป็นคดีของศาลปกครองสูงสุดก็ตาม แต่เมื่อศาลปกครองสูงสุดยังมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว กรณีจึงยังต้องถือว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะผู้ค้าน้ำมันจึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีจนกว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิก ที่จำเลยอ้างว่าคำสั่งที่ให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันมิใช่บริการสาธารณะจึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ และการไม่นำส่งเงินดังกล่าวเข้าคลังก่อนเป็นการมิชอบ เพื่อปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองนั้น เหตุแห่งการปฏิเสธความรับผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับการที่จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เมื่อจำเลยเป็นผู้ค้ำน้ำมันซึ่งได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันมาก่อน จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์หาได้ไม่ ส่วนโจทก์ทั้งสองต้องนำส่งเงินที่ได้รับมาเข้าคลังก่อนหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างกระทรวงการคลังกับโจทก์ทั้งสองที่ต้องดำเนินการต่อไป และที่จำเลยอ้างว่าตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธุรกิจพลังงาน พ.ศ. 2556 กับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 ไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้าน้ำมันนั้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ข้อ 26 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2554 กำหนดว่า ในกรณีที่กรมธุรกิจพลังงาน (โจทก์ที่ 2) ตรวจพบว่ามีผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ให้โจทก์ที่ 2 แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินจากจำเลยโดยอาศัยคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินเข้ากองทุนตามที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีถังก๊าซหุงต้มของผู้อื่น และบรรจุก๊าซลงในถังนั้น โดยไม่เป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎหมาย
ผู้ค้าน้ำมันตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ได้แก่ ผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิด หรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่หนึ่งแสนเมตริกตันขึ้นไป หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวแต่เพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละตั้งแต่ห้าหมื่นเมตริกตันขึ้นไป โดยที่คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เป็นการกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง บทบัญญัติตามข้อ 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เป็นมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีก๊าซสำหรับประชาชนใช้ในการหุงต้มอย่างพอเพียง จึงกำหนดเป็นบทบังคับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ซึ่งจัดว่าเป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการจัดให้มีการบรรจุก๊าซใส่ถังก๊าซหุงต้มและจำหน่ายให้ทั่วถึงทุกอำเภอที่มีการใช้ถังก๊าซหุงต้มซึ่งแสดงเครื่องหมายการค้าของตน หรือมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่นหรือผู้บรรจุก๊าซ เป็นผู้ดำเนินการแทนได้แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน การฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 มาตรา 3 และ 8 ผู้กระทำจะต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 และกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไม่จัดให้มีการบรรจุก๊าซหุงต้มและจำหน่ายให้ทั่วถึงทุกอำเภอที่มีการใช้ถังก๊าซหุงต้มซึ่งแสดงเครื่องหมายการค้าของตนหรือได้มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์นายจ้างควบคู่กับการสูบถ่ายน้ำมันโดยมิชอบ ศาลลดโทษและขยายผลถึงจำเลยอื่น
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นสูบถ่ายน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1เป็นคนขับ อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะบรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัดก. การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา3,4,8 ประกอบคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 1/2522 ข้อ 15(1)อีกบทหนึ่งด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ทำการสูบถ่ายน้ำมันดังกล่าวชี้ชัดว่าเป็นความต้องการเดียวกันกับเอาน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ไป และโดยลักษณะของการกระทำ คือ การสูบถ่ายน้ำมันไปดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นการเอาน้ำมันไปด้วยในตัวจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน หาได้มีเจตนาให้มีผลแยกต่างหากจากกันไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยไว้หนักไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เบาลงได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดีให้มีผลตลอดถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีและฐานลักทรัพย์ กรณีสูบถ่ายน้ำมันผิดสถานที่
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ข้อ 15(1)(3) ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ซื้อน้ำมัน ทำการสูบถ่ายน้ำมันเบนซินหรือดีเซลระหว่างทางนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ต้องถือว่าประชาชนรวมทั้งจำเลยได้ทราบคำสั่งฉบับดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2516 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งนายกฯ เกี่ยวกับก๊าซหุงต้ม ศาลฎีกาพิพากษาให้ริบได้
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 ข้อ 20 ออกตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซ คือ เครื่องสูบก๊าซท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรองถังก๊าซและรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดฝ่าฝืนคำสั่งนายกฯ และ พ.ร.ก. แก้ไขภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่3/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 ข้อ 20ออกตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น "อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซคือเครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังก๊าซหุงต้มเศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรอง ถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งแก้ไขภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 ข้อ 20 ออกตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซ และจ่ายก๊าซถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรองถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.น้ำมันเชื้อเพลิง: การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกระทำความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529ข้อ 20 ออกตาม ความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่ง ระบุว่า"ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่าย ก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซไม่ว่าจะกระทำด้วย วิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่าย ก๊าซ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถัง เก็บก๊าซ และจ่ายก๊าซถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่ง ระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรอง ถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่เคยซื้อตามปกติหลังมีคำสั่งนายกฯ ต้องได้รับอนุญาต หากไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นความผิด
แม้จำเลยจะเคยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดที่ประกาศไว้ในคำสั่งของนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็เป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ และเป็นการซื้อภายหลังจากที่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการซื้อน้ำมันดีเซลตามปกติเช่นที่เคยซื้อ ตามความหมายในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ19 (4) การที่จำเลยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดในคดีโดยไม่รับอนุญาต จึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่กำหนดหลังมีคำสั่งนายกฯ ต้องได้รับอนุญาต หากไม่มีหลักฐานการซื้อก่อนคำสั่งถือเป็นความผิด
แม้จำเลยจะเคยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดที่ประกาศไว้ใน คำสั่งของนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็เป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ และเป็นการซื้อภายหลังจากที่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการซื้อน้ำมันดีเซลตามปกติเช่นที่เคยซื้อ ตามความหมายในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ19(4) การที่จำเลยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดในคดีโดยไม่รับอนุญาต จึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
of 2