พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วนและการพิพากษาคืนทุน/แบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท.ด้วยราคาเพียง 850,000 บาทแต่ห่างกันเพียง 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์กลับตั้งราคาสูงถึง 4,500,000 บาท โดยมีข้อสัญญาข้อ 2.1 ที่ระบุว่า จ่ายวันที่ 10 ธันวาคม2526 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ข้อ 2.2 ว่า เมื่อโครงการผ่านไปได้ 70เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 เดือน จ่าย 1,500,000 บาท ข้อ 3 ว่า เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะแบ่งผลกำไรให้อีกเป็นเงิน 2,000,000 บาท สำหรับข้อสามนี้ส่วนแบ่งอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลลัพธ์ของงานได้ผลดี และหรืออาจจะลดลงตามส่วนเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดี ลักษณะข้อความเรื่องการแบ่งปันกำไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ขอรับโฉนดคืนจากโจทก์โดยเสนอให้ที่ดินแก่โจทก์ 9 ล็อกเช่นนี้แสดงว่าโจทก์ สามีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงเข้ากันเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินเช่นนี้จึงต้องฟังว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนทำบ้านจัดสรรขายด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนทำกิจการค้าจึงต้องเลิกกันและแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมทุนพัฒนาที่ดิน: ข้อพิพาทเรื่องอายุความและการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ตามคำให้การจำเลยต่อสู้เพียงว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมิใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของบุคคลดังกล่าว หาได้ยกข้อต่อสู้เรื่องตราประทับสำคัญของบริษัทโจทก์ขึ้นต่อสู้ไม่ ทั้ง ๆ ที่จำเลยก็รับว่าได้เห็นสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องไม่มีตราประทับสำคัญของบริษัทโจทก์ตั้งแต่ได้รับสำเนาคำฟ้องแล้ว ที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในศาลอุทธรณ์จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงชอบแล้ว
ตามสัญญามีข้อตกลงว่า ศ.ยอมให้โจทก์จำเลยในฐานะผู้รับสัญญาร่วมกันมีสิทธิเหนือพื้นดิน มีสิทธิที่จะพัฒนาที่ดินของ ศ.จำนวน 50 ไร่ และมีสิทธิจำหน่ายที่ดินได้ เพื่อเป็นการตอบแทนโจทก์จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินให้ ศ.เป็นเงิน 30,000,000 บาท จำเลยได้ออกเงินร่วมลงทุนตามที่โจทก์ฟ้อง ทั้งตามสัญญาดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่า ถ้าการดำเนินงานในที่ดินมีผลกำไรหลังหักภาษีแล้วโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้รับสัญญาตกลงแบ่งกำไรให้ ศ.ผู้รับสัญญาจำนวนร้อยละ 10ของกำไร ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการค้าที่ดินร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น จึงเป็นการตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์
กรณีของโจทก์จำเลยเป็นเรื่องหุ้นส่วนเรียกเงินทดรองจ่ายจากหุ้นส่วนด้วยกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามสัญญามีข้อตกลงว่า ศ.ยอมให้โจทก์จำเลยในฐานะผู้รับสัญญาร่วมกันมีสิทธิเหนือพื้นดิน มีสิทธิที่จะพัฒนาที่ดินของ ศ.จำนวน 50 ไร่ และมีสิทธิจำหน่ายที่ดินได้ เพื่อเป็นการตอบแทนโจทก์จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินให้ ศ.เป็นเงิน 30,000,000 บาท จำเลยได้ออกเงินร่วมลงทุนตามที่โจทก์ฟ้อง ทั้งตามสัญญาดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่า ถ้าการดำเนินงานในที่ดินมีผลกำไรหลังหักภาษีแล้วโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้รับสัญญาตกลงแบ่งกำไรให้ ศ.ผู้รับสัญญาจำนวนร้อยละ 10ของกำไร ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการค้าที่ดินร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น จึงเป็นการตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์
กรณีของโจทก์จำเลยเป็นเรื่องหุ้นส่วนเรียกเงินทดรองจ่ายจากหุ้นส่วนด้วยกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทางทะเล: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสัญญาและการสูญหายระหว่างทำงาน
อ.ปฏิบัติงานเป็นไต๋เรือทำหน้าที่ควบคุมดูแลการจับปลาและอุปกรณ์ตลอดจนลูกเรือ โดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายปลาที่หาได้เมื่อขายและหักค่าใช้จ่ายให้โจทก์แล้ว โจทก์จะได้65 เปอร์เซ็นต์ อ. และลูกเรือได้ 35 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าอ. เพียงตกลงทำงานให้โจทก์เพื่อประโยชน์ในธุรกิจหาปลาเท่านั้น การกำหนดส่วนแบ่งจำนวนเงินเป็นเรื่องจูงใจให้ขยันทำงานถือว่าเป็นเงินที่แบ่งให้หรือจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานมีลักษณะเป็นค่าจ้าง อ. จึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ อ. ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในทะเลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในทะเลจึงถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะนำเรือกลับมาถึงฝั่ง เมื่อ อ. หายไปจากเรือที่ทำงานอยู่จึงถือได้ว่า อ. หายไปในระหว่างทำงาน เป็นการสูญหายตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีกรรมการ แต่ไม่ได้ยื่นในฐานะกรรมการ
เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล กลุ่มครูโรงเรียนอุดร เจ้าหนี้เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อีกทั้งไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่เมื่อระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดย ร. ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากมิได้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคลโดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดรไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนแม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวมแต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่าผู้ขอรับชำระหนี้คือ"กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดยนายเรืองยศรมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ"ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: กลุ่มบุคคลไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ก็ได้ เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดิน: ความรับผิดของบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่หุ้นส่วน
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัด: การร่วมกู้ธนาคารไม่ถือเป็นเจตนาเข้าหุ้นส่วนจัดสรร
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1 เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัด: การกู้ร่วมเพื่อธุรกิจจัดสรร ไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1012