คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1012

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ไม่เกินดุลพินิจ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดินโดยอ้างว่ามอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและให้ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือกันไว้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนและนอกฟ้องนอกประเด็นเพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการสืบพยานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ กันไว้จริงเพื่อเป็นเหตุผลชี้ให้เห็นว่าโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและลงชื่อจำเลย ไว้ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การมอบอำนาจโดยปราศหลักฐานเป็นหนังสือ ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงจากการสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดินโดยอ้างว่ามอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและให้ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือกันไว้ ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนและนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการสืบพยานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้จริงเพื่อเป็นเหตุผลชี้ให้เห็นว่าโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและลงชื่อจำเลยไว้ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-กรรมสิทธิ์รวม: การเปลี่ยนแปลงคำขอในชั้นฎีกาต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับ ป. แต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาทั้งโจทก์และ ป. ต่างมีทรัพย์สินมาลงหุ้นส่วนกัน โจทก์กับ ป.จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. จึงเลิกกันและขณะที่ ป. ถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินของหุ้นส่วนหลายรายการ รวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทด้วย จำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินใดแม้แต่แรงงานมาลงหุ้นกับ ป. ในลักษณะของสัญญาหุ้นส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ ทรัพย์สินตามฟ้องล้วนเป็นทรัพย์สินที่ ป. มีมาก่อนอยู่กินกับโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป. ศาลชั้นต้นจึงกำหนดเป็นประเด็นพิพาทว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. หรือไม่เพียงใด เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ ป. บ้านและที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป.โจทก์จะยกปัญหาที่ว่า จำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยเจตนาให้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ป. ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนสามัญและตัวแทนในการขนส่งสินค้าที่เกิดความเสียหาย
สายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ใช้ชื่อประกอบกิจการเป็นภาษาอังกฤษมีรูปลักษณะตัวอักษรว่า เมอสก์ไลน์ (MAERSKLINE) มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้ามีดาว7แฉก สีขาวอยู่ภายในเหมือนกันใบตราส่งที่ใช้ก็เหมือนกัน บริษัท ต.จ้างบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ขนสินค้าจากสิงคโปร์มากรุงเทพฯ โดยทางเรือ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯเป็นผู้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำร่อง เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่า ทั้งแจ้งวันเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯร่วมกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) จำกัด ขนส่งสินค้าโดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อสินค้าเสียหายจากการขนส่ง จำเลยทั้งสองในฐานะหุ้นส่วนของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนจึงต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่า, กิจการร้านค้า, และการใช้ชื่อร้านค้าเป็นมรดก: สิทธิเฉพาะตัวที่ไม่ตกทอด
ส. เป็นผู้เช่าตึกแถวพิพาทโดยมิได้มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นสัญญาเฉพาะตัวของ ส.เมื่อส. ตาย สัญญาเช่าย่อมระงับไปไม่ตกทอดไปยังทายาท สิทธิในการเช่าตึกแถวพิพาทจึงมิใช่มรดกของ ส. การประกอบกิจการร้านขายยานั้นเป็นเพียงการงานอาชีพ อันเป็นกิจการเฉพาะตัวของผู้ที่ประกอบกิจการโดยแท้และย่อมไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท เมื่อผู้เริ่มประกอบกิจการตาย แล้วมีผู้ประกอบกิจการต่อมาจนถึงจำเลยและสามี ก็เป็นกิจการเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ มิใช่การจัดการมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิในกิจการร้านขายยาที่จำเลยประกอบอยู่ ไม่อาจที่จะเรียกเอาส่วนแบ่งหรือรายได้จากกิจการร้านขายยาดังกล่าว ชื่อร้านขายยาพิพาทมิได้มีการจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้ากรณีเป็นเรื่องสิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกซึ่งก็มีสิทธิใช้นามนั้นมิให้ใช้นามดังกล่าวหรือเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้นามนั้นได้ ในเมื่อจำเลยมิได้ใช้ไปในทางที่เสื่อมเสียต่อนามนั้นและมิได้ห้ามหรือขัดขวางมิให้โจทก์ใช้นามนั้นแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมหลังการเสียชีวิต
ขณะโจทก์ที่ 3 ยื่นฟ้องคดีสำนวนหลังปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตายไปแล้ว 2 คน คงเหลือผู้จัดการมรดก 3 คน คือจำเลยที่ 1 ก.และ ส.สำหรับก.และส. มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามและไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามคงมีจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งสามชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวได้ อายุความตามมาตรา 1754 นั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1755 โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. จำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. เป็นแต่เพียงผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวแทน การที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ลงในสารบัญจดทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของ ท. แทนทายาทด้วยกันทุกคน จำเลยที่ 1หามีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. ไม่ แม้จะถือว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อทายาทบางคน ก็คงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาที่ลงชื่อไว้ โจทก์ทั้งสามมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ต้องถูกผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ท.กับช. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะสมรสกัน ช. มีสินเดิมอยู่ด้วย ซ. จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรส 1 ใน 3 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ขณะ ท.ได้จำเลยที่2เป็นภริยาคนที่2ท.มีซ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกันหลายคนแล้ว ทั้งขณะนั้นท.มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นเมื่อจำเลยที่2เป็นภริยาท.ก็ช่วยเหลือทำงานในฐานะแม่บ้าน ไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมในการประกอบการค้ากับ ท. ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดมิได้เกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกับท. จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้ฎีกาโต้แย้งในข้อนี้ จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีหนี้ต่อกันเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ท.กับซ.อันถือได้ว่าเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 1462 แม้ตามปกติสามีจะมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้ก็ตาม แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาก็ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อน เว้นแต่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ตามมาตรา 1473(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการให้สินบริคณห์ที่เป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งตามกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ซ. ภริยาด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1476 การที่ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมทั้งที่ดินแปลงพิพาทมีราคาสูงอันเกินกว่าจะให้ในทางสมาคม ท.จึงไม่มีอำนาจโอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และสิทธิของ ซ.ในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน มิใช่การเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ซ. มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้มีคู่สมรสอื่น ย่อมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างทาง: ไม่ถือเป็นหุ้นส่วน, เจ้าหนี้ไม่ต้องรับผิด
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ความว่าจำเลยที่ 3 เข้ามารับภาวะในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนวัสดุ และน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีประโยชน์ตอบแทน เพียงแต่เพื่อให้การก่อสร้างทางสำเร็จลุล่วงไปตามโครงการ จำเลยที่ 1 จะได้มีเงินชำระหนี้จำเลยที่ 3 เท่านั้น เงินและสิทธิประโยชน์ที่เหลือจากการชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 ทั้งหมดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มิได้มีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 คงเป็นเพียงเจ้าหนี้เท่านั้น จึงไม่ต้องชดใช้ค่าน้ำมันตามฟ้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าหุ้นส่วนค้าและความรับผิดในหนี้สินของสหกรณ์ร้านค้าที่ไม่จดทะเบียน
สหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน ศ. ตั้ง ขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทชุด นักเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครอง แต่ มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นครูใหญ่ได้ ตั้ง ให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 เป็นกรรมการซื้อ ขาย โดย ไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 ก่อน และจำเลยที่ 2ถึง ที่ 10 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทั้งไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันเกิดจากการตั้ง ร้านค้านั้น ดังนี้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 มิได้เข้าหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าของสหกรณ์ร้านค้าให้แก่โจทก์.
of 17