พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีต้องพิจารณาเหตุจำเป็นและผลกระทบต่อความยุติธรรม หากไม่พิจารณาเหตุผลของคู่ความ อาจเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากมีเหตุจำเป็นของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 นั้น จะต้องมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่าที่โจทก์ขอเลื่อนคดีนั้นมีเหตุทั้งสองประการดังกล่าวหรือไม่ หากได้ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็อนุญาตให้เลื่อนคดี มิฉะนั้นต้องยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความ
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุขอเลื่อนคดีตามกฎหมาย หากไม่อนุญาตอาจเสียความยุติธรรม
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากมีเหตุจำเป็นของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 นั้น จะต้องมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่าที่โจทก์ขอเลื่อนคดีนั้นมีเหตุทั้งสองประการดังกล่าวหรือไม่ หากได้ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็อนุญาตให้เลื่อนคดี มิฉะนั้นต้องยกคำร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความคนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยมีสำเนาตั๋วเครื่องบินเป็นหลักฐาน ศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีดังกล่าวว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรมหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่พอใจและขอเลื่อนคดีเพื่อทำแผนที่พิพาทใหม่มาหลายนัด หลังจากเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทใหม่โจทก์ก็ยังไม่พอใจ และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาลทั้งไม่มีพยานอื่นมาศาล เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ ซึ่งหากข้ออ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นความจริง ก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรม แม้ระหว่างพิจารณาหลังจากจัดทำแผนที่พิพาทแล้ว โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงขอให้เพิ่มเติมรายละเอียดในแผนที่พิพาท เช่น ขอให้ใส่รูปจำลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิมลงในแผนที่พิพาท รวมทั้งขอดำเนินการเกี่ยวกับต้นฉบับเอกสารคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาไปมากก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาตลอด ตามรูปคดีก็จะถือว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้าหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความคนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยมีสำเนาตั๋วเครื่องบินเป็นหลักฐาน ศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีดังกล่าวว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรมหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่พอใจและขอเลื่อนคดีเพื่อทำแผนที่พิพาทใหม่มาหลายนัด หลังจากเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทใหม่โจทก์ก็ยังไม่พอใจ และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาลทั้งไม่มีพยานอื่นมาศาล เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ ซึ่งหากข้ออ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นความจริง ก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรม แม้ระหว่างพิจารณาหลังจากจัดทำแผนที่พิพาทแล้ว โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงขอให้เพิ่มเติมรายละเอียดในแผนที่พิพาท เช่น ขอให้ใส่รูปจำลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิมลงในแผนที่พิพาท รวมทั้งขอดำเนินการเกี่ยวกับต้นฉบับเอกสารคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาไปมากก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาตลอด ตามรูปคดีก็จะถือว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้าหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ หากศาลอนุญาตให้ขีดฆ่าภายหลัง
ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114" บทบัญญัตินี้ไม่ได้บังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าในขณะที่ทำตราสารแต่อย่างใด และมิได้บัญญัติว่า ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์หรือขีดฆ่าใช้บังคับไม่ได้ แต่กลับบัญญัติให้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าในภายหลังได้ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจได้ปิดอากรแสตมป์แล้วและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขีดฆ่าในระหว่างการพิจารณาจึงเป็นเอกสารที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4304/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม แม้จะจ้างผู้รับเหมาช่วง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตอกเสาเข็มในโครงการบ้านพักอาศัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 คือผู้ว่าจ้าง ส่วนจำเลยที่ 2 คือผู้รับจ้าง และแม้ความจริงจะปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เพียงรับจ้างก่อสร้างอาคาร มิได้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วย อันทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ว่าจะจ้างใครเข้าไปตอกเสาเข็มในที่ดินพิพาท ก็ยังคงสถานะความเป็นผู้ว่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความผูกพันในฐานะผู้ว่าจ้างทำของ ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 428 ฉะนั้น การพ้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 เนื่องเพราะมิได้เป็นผู้รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ในการตอกเสาเข็มจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นเรื่องของการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3982/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และการแบ่งความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ จำเลย และจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทพร้อมบ้านพักซึ่งปลูกบนที่ดินโดยซื้อมาจากจำเลยร่วมทั้งสาม จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยซื้อที่พิพาทพร้อมบ้านพักจากจำเลยร่วมทั้งสามขณะที่พิพาทเป็นเพียงที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และเข้าครอบครองที่พิพาทแล้ว แต่จำเลยร่วมทั้งสามไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลย กลับจำนองและขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์รับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่จำเลย คดีมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทและบ้านพักเป็นของโจทก์หรือจำเลย และมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยร่วมทั้งสามโดยสุจริตหรือไม่ ไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมทั้งสามคบคิดกันโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ที่จะเรียกจำเลยร่วมทั้งสามเข้ามาเป็นจำเลยร่วม เพราะไม่ใช่เรื่องที่จำเลยหรือจำเลยร่วมอาจใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกให้จำเลยร่วมทั้งสามเข้ามาในคดีรวมทั้งมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเหล่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดำเนินคดีสำหรับจำเลยและจำเลยร่วมจนเสร็จสิ้นกระแสความ จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ปัญหาว่าจำเลยร่วมทั้งสามต้องรับผิดต่อจำเลยเพียงใดจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่สมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าค่าฤชาธรรมเนียมชั้นใดให้เป็นพับ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยร่วมทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ ทั้งที่โจทก์และจำเลยร่วมทั้งสามไม่ได้พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แม้จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลในนามของจำเลย ทั้งไม่ได้วินิจฉัยถึงค่าฤชาธรรมเนียมของจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามในศาลชั้นต้นว่าจะให้ใครเป็นผู้รับผิดซึ่งเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าค่าฤชาธรรมเนียมชั้นใดให้เป็นพับ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยร่วมทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ ทั้งที่โจทก์และจำเลยร่วมทั้งสามไม่ได้พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แม้จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลในนามของจำเลย ทั้งไม่ได้วินิจฉัยถึงค่าฤชาธรรมเนียมของจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามในศาลชั้นต้นว่าจะให้ใครเป็นผู้รับผิดซึ่งเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัย: รถเข็นกระเป๋าไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องรับผิดชอบ
สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ กลุ่ม ล. ผู้รับจ้างซึ่งมีจำเลยเป็นตัวแทน ข้อ 9.1 ระบุให้จำเลยรับผิดเฉพาะกรณีเป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง หรือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบได้รับความเสียหาย แต่ตามสัญญารับจ้างให้บริการรถเข็นกระเป๋าระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ บริษัท อ. ผู้รับจ้างซึ่งทำประกันภัยไว้กับโจทก์ เห็นได้ชัดว่าเป็นสัญญาจ้างทำของ ดังนั้น รถเข็นกระเป๋าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัท ท. หรือทรัพย์สินที่บริษัท ท. มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ กรณีย่อมไม่เข้าเงื่อนไขตามสัญญาที่จะให้จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการชำระหนี้แทน และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระค่าประกันชดเชยตามสัญญาค้ำประกันให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นต้นเงินจำนวน 754,333.57 บาท และดอกเบี้ยอีกจำนวน 63,898.62 บาท รวม 818,232.19 บาท เงินจำนวนนี้จึงรวมเป็นต้นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่เจ้าหนี้ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระเงินจำนวน 818,232.19 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่ง หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 18 เมษายน 2549 แก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ครบกำหนดชำระแล้วจำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดมาตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2549 โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 818,232.19 บาท จากจำเลยทั้งสี่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่าย - สันนิษฐานความรับผิด - จำเลยต้องพิสูจน์การสูญหาย - ไม่ฟังเหตุผล
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสามฉบับ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 เบิกความในฐานะพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงว่าเช็คพิพาทหาย และไปแจ้งความลงบันทึกในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้เท่านั้น ไม่ได้ดำเนินการใดต่อไปหรือแม้กระทั่งการเรียกคืนเช็คจากโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์พึงกระทำเลย และในรายละเอียดของรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายก็ไม่ได้กล่าวว่าเช็คพิพาทสูญหายไปอย่างไร แค่กล่าวอ้างอย่างลอย ๆ ว่าไม่แน่ใจว่าเช็คหล่นหายหรือถูกขโมย ย่อมยากที่จะรับฟังเป็นจริงตามภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด ทำให้คดีถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: คดีจัดการมรดกใช้มาตรา 1733 วรรคสอง ไม่ใช่ 1754/1755
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 ต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ พ. เจ้ามรดกลำดับเดียวกัน ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน ทั้งมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันจนกว่าจะแบ่งมรดกแล้วเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวจากจำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกระทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่บังคับตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1755