พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการใช้รถร่วมเดินรถ และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างในการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้วแม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดตั้งบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิของหุ้นส่วนในการรับชำระหนี้
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ต่างจากชื่อในทะเบียน, หุ้นส่วนสามัญ, สิทธิฟ้องร่วม, ความรับผิดจากประมาท
การมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นแต่ข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าเป็นเจ้าของเท่านั้น หาใช่แสดงว่าผู้มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เสมอไปไม่ เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์
โจทก์ร่วมได้นำรถยนต์ของตนเข้าวิ่งร่วมรับจ้างบรรทุกกับโจทก์ และมอบให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์ แต่โจทก์ร่วมยังเป็นผู้ออกค่าจ้างคนขับค่าน้ำมัน ค่าซ่อมเครื่องยนต์และยาง ซึ่งพฤติการณ์แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ร่วมอยู่ การโอนทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงพิธีการจะให้รถยนต์ได้เข้ามาร่วมกิจการกับโจทก์เพื่อหาประโยชน์เท่านั้น การร่วมกิจการเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในกรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม เมื่อมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวเสียหาย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน
โจทก์ร่วมได้นำรถยนต์ของตนเข้าวิ่งร่วมรับจ้างบรรทุกกับโจทก์ และมอบให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์ แต่โจทก์ร่วมยังเป็นผู้ออกค่าจ้างคนขับค่าน้ำมัน ค่าซ่อมเครื่องยนต์และยาง ซึ่งพฤติการณ์แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ร่วมอยู่ การโอนทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงพิธีการจะให้รถยนต์ได้เข้ามาร่วมกิจการกับโจทก์เพื่อหาประโยชน์เท่านั้น การร่วมกิจการเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในกรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม เมื่อมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวเสียหาย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ ผู้รับประโยชน์ย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน
จำเลยที่ 1 เป็นสามี จำเลยที่ 2 เป็นภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพื่อซื้อบ้านมาอยู่อาศัยด้วยกันและซื้อทรัพย์สินอื่นมาใช้ร่วมกัน เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกร้างกัน จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับเอาประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้เงินโจทก์และยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะตัวแทนอันมีผลให้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบ้านและทรัพย์สินอื่นด้วย ฉะนั้นแม้ในสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์จะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้คนเดียวก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการของจำเลยที่ 1 ในการกู้เงินโจทก์รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้กู้โดยตรง ก็มีหน้าที่รับผิดร่วมกันในฐานะตัวการ
จำเลยที่ 1 เป็นสามี จำเลยที่ 2 เป็นภรรยา แต่ไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกันจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพื่อซื้อบ้านมาอยู่อาศัยด้วยกันและซื้อทรัพย์สินอื่นมาใช้ร่วมกัน เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกร้างกัน จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับเอาประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้เงินโจทก์และยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะตัวแทนอันมีผลให้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบ้านและทรัพย์สินอื่นด้วย ฉะนั้นแม้ในสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์จะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้คนเดียวก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการของจำเลยที่ 1 ในการกู้เงินโจทก์รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอฟอกที่มีข้อตกลงแบ่งกำไร ไม่ถือเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับผิดชอบขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า 'ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้วคิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร' ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย(ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้นหาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอฟอกกับการแบ่งกำไร ไม่เป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับความเสี่ยงขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้ว คิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร" ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย (ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับที่ดินเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ทำให้มีอำนาจขายได้หลังเลิกห้าง
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน. เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย. โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน. ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่. แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2,3 ถือกรรมสิทธิ์.จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน. จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.