พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์-หนี้ส่วนตัว: ยึดเรือนพิพาทไม่ได้หากผู้ร้องไม่ยินยอมและบอกล้างโมฆียะกรรม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-การบอกล้างนิติกรรมกู้ยืม-สิทธิยึดทรัพย์-การกันส่วนของสินสมรส
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะเพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่า ทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาโจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
เมื่อปรากฏว่า ทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาโจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยึดทรัพย์สินสมรสชำระหนี้ได้ แม้ไม่ฟ้องภริยาเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายใช้หนี้ตามคำพิพากษาได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องภริยาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำเลยให้ร่วมรับผิดในหนี้รายนั้นก่อน เพราะเป็นการยึดทรัพย์ของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สินและการบังคับคดี: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยการฉ้อฉลในชั้นบังคับคดีได้
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของจำเลยทั้งนั้นไม่ใช่ของผู้ร้อง ที่ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ก็เพื่ออุบายฉ้อโกงไม่ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนี้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าอย่างน้อยก็เป็นการสมยอมกัน เป็นการฉ้อฉล การที่ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็น
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้ว และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์ และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ย่อมฟังไม่ขึ้น
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้ว และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์ และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการฉ้อฉล: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องฉ้อฉลในชั้นขัดทรัพย์ได้ แม้ไม่ใช่ประเด็นหลัก
ผู้ร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของจำเลยทั้งนั้นไม่ใช่ของผู้ร้อง ที่ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ก็เพื่ออุบายฉ้อโกงไม่ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนี้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าอย่างน้อยก็เป็นการสมยอมกัน เป็นการฉ้อฉล การที่ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลยดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลยดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์ถูกยึดชำระหนี้ได้ แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังได้ หากเป็นการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงการยึด
ทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาอันเป็นสินบริคณห์นั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกเสียก่อน
การที่จำเลยซึ่งเป็นสามีให้การยอมให้โจทก์นำยึดทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ต่อมาไม่ถึง 3 เดือน จำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นภรรยามาทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภรรยาของจำเลย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่จัดหาและมีขึ้นด้วยทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมยอมกัน จะต้องกันมิให้ทรัพย์พิพาทถูกยึดมาใช้หนี้โจทก์ ฉะนั้น จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์อย่างใด
การที่จำเลยซึ่งเป็นสามีให้การยอมให้โจทก์นำยึดทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ต่อมาไม่ถึง 3 เดือน จำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นภรรยามาทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภรรยาของจำเลย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่จัดหาและมีขึ้นด้วยทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมยอมกัน จะต้องกันมิให้ทรัพย์พิพาทถูกยึดมาใช้หนี้โจทก์ ฉะนั้น จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลัง เพื่อเลี่ยงการยึดทรัพย์
ทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันอันเป็นสินบริคณห์นั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกเสียก่อน
การที่จำเลยซึ่งเป็นสามีให้การยอมให้โจทก์นำยึดทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ต่อมาไม่ถึง 3 เดือน จำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นภริยามาทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาของจำเลย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่จัดหาและมีขึ้นด้วยทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง เช่นนี้ย่อมเป็นการสมยอมกันจะป้องกันมิให้ทรัพย์พิพาทถูกยึดมาใช้หนี้โจทก์ ฉะนั้น จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์อย่างใด
การที่จำเลยซึ่งเป็นสามีให้การยอมให้โจทก์นำยึดทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ต่อมาไม่ถึง 3 เดือน จำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นภริยามาทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาของจำเลย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่จัดหาและมีขึ้นด้วยทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง เช่นนี้ย่อมเป็นการสมยอมกันจะป้องกันมิให้ทรัพย์พิพาทถูกยึดมาใช้หนี้โจทก์ ฉะนั้น จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์อย่างใด