คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิรัตน์ ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11765/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดียาเสพติด: การปฏิบัติตามขั้นตอนส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจรักษาตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เดิมจำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาว่า ได้กระทำความผิดเฉพาะข้อหาร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน (จำนวน 3 เม็ด) โดยในคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 9 พนักงานสอบสวนได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นว่า คดีอยู่ในระหว่างรอผลการตรวจปัสสาวะของจำเลยทั้งสองเพื่อหาสารเสพติด ขณะนั้นจำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น ครั้นต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2551 จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาเพิ่มเติมว่า เสพเมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาเพิ่มเติมนี้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2551 การที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องในวันที่ 9 ธันวาคม 2551 ขอให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด จึงอยู่ภายในระยะเวลาของมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ถือว่า พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ครบถ้วนตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องขอส่งตัวจำเลยทั้งสองไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนก็ดำเนินการขออนุญาตฝากขังจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นตามเดิมแล้วสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นการปฏิบัติโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11683/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: เหตุยกฟ้องคดีกระทำชำเรา หากมีเหตุเชื่อได้ว่าจำเลยสำคัญผิดในอายุของผู้เสียหายจริง
จำเลยเบิกความว่า จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 อายุประมาณ 18 ปี ถึง 19 ปี เพราะรูปร่างสูงใหญ่ ซึ่งในข้อนี้ผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ผู้เสียหายที่ 1 มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าอายุ หากดูภายนอกเพียงผิวเผินอาจเข้าใจได้ว่ามีอายุเกิน 18 ปีแล้ว เจ้าของร้านอาหารริมชีรับผู้เสียหายที่ 1 เข้าทำงานเนื่องจากเข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเกิน 18 ปี ส่วนผู้เสียหายที่ 3 ก็เบิกความทำนองเดียวกันว่า หากเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ผู้เสียหายที่ 1 จะรูปร่างสูงใหญ่กว่าเพื่อน บุคคลทั่วไปมองผู้เสียหายที่ 1 แล้วอาจเข้าใจได้ว่ามีอายุ 17 ถึง 18 ปี จึงเจือสมกับคำเบิกความของจำเลยดังกล่าว นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เคยทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้านอาหารริมชีมาก่อนโดยทำงานตั้งแต่เวลา 9 ถึง 19 นาฬิกา อีกทั้งหลังเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 บอกผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ว่านอกจากจำเลยแล้วยังมีชายอื่นกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อีก 11 คน จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่ารูปร่างและลักษณะของผู้เสียหายที่ 1 ทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเกินกว่า 18 ปี จำเลยอาจสำคัญผิดว่าผู้เสียหายที่ 1 อายุเกิน 18 ปี ดังที่อ้างก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนี้ย่อมเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องและทำให้เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11492/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาเดิมของจำเลยที่ย้ายที่อยู่แล้ว ถือเป็นการส่งโดยชอบหรือไม่
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายนั้น หากเป็นการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายไปจากภูมิลำเนานั้นก่อนแล้วย่อมเป็นการส่งโดยชอบ และเมื่อครบกำหนด 15 วันแล้ว ย่อมมีผลใช้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กรณีของจำเลยแม้ได้ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ให้จำเลยทราบ โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2554 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ในการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 25 เมษายน 2554 ให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ส่งไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ใหม่ ดังนี้ ก่อนศาลชั้นต้นจะเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ออกไป และหมายนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีปิดหมายนั้น ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาตามคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวกลับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายตามภูมิลำเนาของจำเลยในคำฟ้องของโจทก์ ทั้งกรณีมิใช่หน้าที่ของจำเลยที่ต้องแถลงที่อยู่ให้ศาลทราบ ข้อเท็จจริงตามรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นกรณีที่จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาตามคำฟ้องของโจทก์ไปแล้วก่อนมีการปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 แม้จะปิดหมายครบ 15 วัน แล้วก็ไม่มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยทราบโดยชอบ การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 และศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลับหลังจำเลยหลังจากออกหมายจับจำเลยเกินกว่าหนึ่งเดือนแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11486/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินชดเชยจากผลกระทบเขื่อนเป็นมรดกได้ การปลอมเอกสารทำให้ทายาทเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้
แม้ขณะที่ ก. ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2540 ก. ยังไม่มีสิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยเพราะคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติให้ผู้ที่ถูกน้ำท่วมอันเป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรได้รับสิทธิเช่นว่านั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรีจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ ก. มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายและมิใช่เป็นมรดกของ ก. ผู้ตายก็ตาม แต่ ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะมรดก เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชย ดังนั้น สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยของ ก. จึงควรตกทอดได้แก่ทายาทของ ก. เสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปลอมคำขอสละมรดกสิทธิการได้รับจัดที่ดินและการชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และใช้เอกสารปลอมดังกล่าว จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ก. ไม่ได้รับเงินชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ก. จึงได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ซึ่งได้แก่การคืนทรัพย์สินอันโจทก์ร่วมทั้งสามต้องเสียไปจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกอันเป็นการกระทำละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์ รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11231/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 5 เม็ด น้ำหนัก 0.45 กรัม และเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยไปศาลภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับพิจารณาเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแทนการถูกดำเนินคดีตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10908/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมและคำร้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา: ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยฆ่า ส. ผู้ตายโดยบันดาลโทสะ ส. จึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ว. มารดาของ ส. ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 รวมทั้งไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 กับไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วม ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ว. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคำร้องขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10758/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งแก้ฟ้องและเหตุอันควรในการแก้ไขฟ้องอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย โดยมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 226 ฉะนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้แม้จะมิได้โต้แย้งไว้ก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และไม่รับวินิจฉัยนั้นไม่ชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์อ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ผิดพลาดในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยในการพิมพ์ ขอแก้คำฟ้องจาก ร่วมกันลักเอารถจักรยานยนต์ เป็น ร่วมกันลักเอารถยนต์ ดังนี้ เหตุที่โจทก์อ้างมานั้นถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เนื่องจากเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องดังกล่าวเป็นการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำความผิดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 164 และมิใช่เป็นการแก้ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือสมบูรณ์ดังที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10648/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องมหาวิทยาลัย ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยไปให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งมหาวิทยาลัย ส. ในเรื่องที่โจทก์ถูกกล่าวหา จึงเป็นกรณีที่จำเลยในฐานะข้าราชการของมหาวิทยาลัย ส. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพยานผู้กล่าวหา ไม่ใช่การกระทำในฐานะส่วนตัว หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยโจทก์ต้องฟ้องมหาวิทยาลัย ส. ที่จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัด จะฟ้องจำเลยโดยตรงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10469/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วมในคดีอาญา: การเรียกร้องค่าเสียหายต้องดำเนินการในคดีแพ่งต่างหาก
เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย และไม่มีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนั้นโจทก์ร่วมไม่อาจยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ในคดีนี้ ชอบที่จะไปว่ากล่าวในคดีส่วนแพ่งต่างหาก ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10234/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ตรวจวินิจฉัยว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.อ. ดังเช่นการกระทำความผิดทางอาญาอื่นๆ ซึ่งในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนยังคงดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อผู้เสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป แต่ถ้ายังไม่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณีเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด 1 ถุง (หน่วยการใช้) น้ำหนักสุทธิ 0.08 กรัม และเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยไปศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดแทนการถูกดำเนินคดีตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ทั้งกรณีมิใช่ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาที่จะส่งจำเลยไปศาลเพื่อการตรวจพิสูจน์การเสพ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาใช้บังคับแก่จำเลยได้ แต่เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ข้างต้น
of 31