พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยนิติกรรมที่ไม่จดทะเบียน ทำให้การได้มาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้ร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยในที่ดินพิพาทโดยผู้ร้องตกลงกันเองกับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทและครอบครองกันเป็นส่วนสัดเป็นเรื่องกล่าวอ้างว่ามีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิทธิโดยผู้ร้องได้ที่ดินส่วนแบ่งมาโดยนิติกรรมซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่านิติกรรมแบ่งแยกที่ดินพิพาทได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่การได้ที่ดินส่วนของผู้ร้องจึงไม่ บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน5 คน ทุกคน อยู่ในห้องเช่าพิพาทโดยน้องชายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมแบ่งให้อาศัยทำมาค้าขาย ต่อมาน้องชายจำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์จำเลย แต่จำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ โจทก์จำเลยได้สิทธิการเช่ามาในฐานะเจ้าของร่วมกัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินจากการค้าโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สันนิษฐานส่วนเท่ากันหากมิอาจพิสูจน์สัดส่วนลงทุน
จำเลยกับบิดาค้าขายร่วมกันมาก่อน โจทก์มาได้จำเลยเป็นสามีไม่จดทะเบียน และลงทุนค้าขายร่วมด้วย ไม่ปรากฏว่าทั้ง 3 คนร่วมกันค้าจำนวนเงินคนละเท่าใด สันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตาม มาตรา1357 แบ่งเงินทุนหมุนเวียนและทรัพย์สินของร้านค้าคนละ 1 ใน 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนค้าที่ดินมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งผลประโยชน์ แม้จะไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน ป. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยกำลังอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ดังนี้ เมื่อ ป. ผิดสัญญา สิทธิเรียกร้องในการจะฟ้องบังคับให้ ป. โอนขายที่ดินดังกล่าว โจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิร่วมกันในฐานะที่เข้าหุ้นกันทำการค้าที่ดิน
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่าย เอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้ มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป. เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป. นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วย เป็นอันว่าจะบังคับให้ ป. ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่าย เอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้ มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป. เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป. นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วย เป็นอันว่าจะบังคับให้ ป. ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนค้าที่ดินมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งผลกำไร แม้จะไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยตรง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน ป.ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยกำลังอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ดังนี้เมื่อ ป.ผิดสัญญาสิทธิเรียกร้องในการจะฟ้องบังคับให้ ป.โอนขายที่ดินดังกล่าว โจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิร่วมกันในฐานะที่เข้าหุ้นกันทำการค้าที่ดิน
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป.ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่ายเอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป.เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป.นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วยเป็นอันว่าจะบังคับให้ ป.ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป.ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่ายเอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป.เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป.นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วยเป็นอันว่าจะบังคับให้ ป.ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการอยู่กินฉันสามีภรรยาและการแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันทำมาหากินในการประกอบการค้า ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้มาด้วยกัน ฉะนั้น โจทก์จำเลยจึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์เหล่านั้น การแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่า ๆ กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สิทธิกรเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สิทธิกรเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิทายาทสืบเชื้อสายและครอบครองร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของอ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ที่พิพาทตกได้แก่ย.บุตรของ อ.ยวายชนม์มรดกส่วนของย.ตกได้แก่ค.ยายของโจทก์ค.วายชนม์ ตกได้แก่ช.และตกได้แก่โจทก์เมื่อช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ.สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ซึ่งมีการรับมรดกของอ.เป็นทอดๆ กันมาตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ย.จะวายชนม์ก่อนอ.ก็ตามเมื่อย.บุตรอ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดกอ.แทนที่ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของค. โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ. เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่นๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
แม้ย.จะวายชนม์ก่อนอ.ก็ตามเมื่อย.บุตรอ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดกอ.แทนที่ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของค. โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ. เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่นๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสืบสาย: สิทธิทายาทโดยชอบธรรม การครอบครองร่วม และอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ ที่พิพาทตกได้แก่ ย.บุตรของ อ. ย.วายชนม์ มรดกส่วนของ ย.ตกได้แก่ ค.ยายของโจทก์ ค.วายชนม์ ตกได้แก่ ช. และตกได้แก่โจทก์ เมื่อ ช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ ซึ่งมีการรับมรดกของ อ.เป็นทอด ๆ กันมาตามบัญชีเครือญาตท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: หลักการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งสินเดิม
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่าๆ กัน