คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิรัตน์ ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22089/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่สมบูรณ์ และเช็คพิพาทโอนได้โดยส่งมอบ ผู้ทรงมีสิทธิเรียกร้อง
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลล่างทั้งสองและเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านในชั้นฎีกา แต่ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.รัษฎากร มาตรา 103 นิยามคำว่า ขีดฆ่า หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยมีเจตนารมณ์เพื่อมิให้นำแสตมป์นั้นมาใช้อีกอันเป็นการหลีกเลี่ยงค่าอากร เมื่อปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่ามีการขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์แล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์ และไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้บนอากรแสตมป์นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายแล้ว จึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปด้วยการส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมา จึงเป็นผู้ถือย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเนื้อความในเช็คได้ จำเลยผู้ถูกฟ้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22039/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งย้ายชื่อบุคคลเข้าทะเบียนบ้านหลายกรรมต่างกัน แม้ลักษณะเดียวกัน แต่เข้าบ้านต่างฉบับ ถือเป็นกรรมต่างกัน
แม้จำเลยจะกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จย้ายชื่อบุคคลทั้งแปดเข้าไปมีชื่อในทะเบียนบ้านของผู้อื่น และแจ้งย้ายชื่อ พ. และ น. วันเดียวกัน แจ้งย้ายชื่อ ก. ต. ย. และ ม. กับ ส. วันเดียวกัน กับแจ้งย้ายชื่อ ธ. อีกวันก็ตาม แต่จำเลยก็แจ้งย้ายชื่อบุคคลต่างรายกันและเข้าไปในทะเบียนบ้านคนละฉบับกัน จำเลยจึงมีเจตนากระทำความผิดแยกต่างหากจากกันตามจำนวนครั้งที่จำเลยแจ้งย้ายบุคคลเข้าไปมีชื่อในทะเบียนบ้านของผู้อื่นแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20230/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับใบอนุญาตส่งออกข้าว: ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการปฏิบัติตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 จึงมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 ดังนั้น ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายข้าวมีมตินี้ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 จึงยังไม่อาจนำ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาใช้พิจารณาว่ามติของคณะกรรมการนโยบายข้าวดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ต้องพิจารณาว่ามติดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ แต่หากกรณีเป็นคำสั่งทั่วไปของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ศาลก็ชอบที่จะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 55
มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่เป็นเหตุขอให้เพิกถอนนี้ มีเนื้อหาว่า "ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย..." เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเสนอแนะภายในของคณะกรรมการที่จะต้องนำมติดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือกรมการค้าต่างประเทศเพื่อพิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายข้าวไม่มีอำนาจในการที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกข้าวไปต่างประเทศได้หากแต่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จำเลยที่ 2 หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ดังนั้น มติของคณะกรรมการนโยบายข้าวที่ให้กรมการค้าต่างประเทศขึ้นบัญชีดำ โดยไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวให้ และไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกหรือโรงสีด้วย ทั้งนี้ รวมถึงบริษัทส่งออกข้าวหรือโรงสีที่มีกรรมการคนหนึ่งคนใดเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของโจทก์ด้วย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าว ครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20130/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา และการแก้ไขโทษจำคุกในความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง, 67 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 6 ปี ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 7 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 6 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 6 ปี รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 8 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีน 17 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและแก้โทษด้วย อันเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19854/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำสืบการนับโทษคดีอาญา และอำนาจศาลวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
การที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ระบุในคำฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบและต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาหมายเลขดำดังกล่าวศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่ประการใด แม้คดีนั้นจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและก็ไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีดังกล่าวด้วย ปัญหาว่าจะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอื่นได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19144/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการขายสินค้าหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเครื่องปรับอากาศของกลาง 250 เครื่อง ที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันปลอมเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงการเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศอันเป็นเอกสารราชการและนำเอกสารราชการปลอมดังกล่าวไปใช้ติดกับเครื่องปรับอากาศของกลางเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดสองฐานก่อให้เกิดผลที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18531/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าที่ดินและการยึดหน่วงทรัพย์สินของตัวแทน: สิทธิของตัวแทนในการยึดหน่วงจนกว่าจะได้รับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโจทก์ซื้อที่ดินจากธนาคาร น. โดยได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินพิพาทแทนโจทก์ไปและใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะเรียกเอาเงินชดใช้จากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของโจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตนเพราะเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 819 จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้ชำระค่าที่ดินพิพาทจนครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18520/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานการมีอาวุธปืนในคดีอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นข้อเท็จจริง
ในวันตรวจพยานหลักฐาน ศาลบันทึกไว้เพียงว่า เอกสารดังกล่าวให้ทนายจำเลยดูแล้วโดยไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย จ. 10 ว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน คงแถลงรับข้อเท็จจริงว่าพันตำรวจโท ป. เป็นพนักงานสอบสวนจริงและทำการสอบสวนโดยชอบเท่านั้น ดังนั้นจำเลยจึงมิได้แถลงรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตามฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ จำคุก 25 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยมีอาวุธปืนในขณะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 แม้โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำชำเราเด็กโดยมีอาวุธปืนด้วยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนว่าจำเลยมีอาวุธปืนในการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18211/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
ความผิดฐานเบิกความเท็จและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 และมาตรา 180 นั้น มีองค์ประกอบความผิดสำคัญประการหนึ่งว่า คำเบิกความและพยานหลักฐานอันเป็นเท็จจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดีที่เบิกความหรือนำสืบด้วย ดังนั้นประเด็นสำคัญในคดีมีว่าอย่างไร คำเบิกความและพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสามเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร จึงเป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ให้ชัดแจ้งในฟ้อง แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเบิกความเท็จต่อศาลและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ร.57/2547 ของศาลชั้นต้น เรื่องร้องขัดทรัพย์ และบรรยายรายละเอียดที่จำเลยทั้งสามเบิกความอันเป็นเท็จและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ พร้อมกับความเป็นจริงว่าอย่างไร ทั้งคำเบิกความและการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ในคดีดังกล่าวประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จและการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์แนบเอกสารท้ายฟ้อง สำเนาภาพถ่ายคำเบิกความของจำเลยทั้งสาม สำเนาภาพถ่ายบัญชีทรัพย์ สำเนาภาพถ่ายสัญญาซื้อขาย สำเนาภาพถ่ายบัญชียึดทรัพย์ สำเนาภาพถ่ายคำร้องขัดทรัพย์ และสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเอกสารเหล่านั้นประกอบแล้วก็มิได้แสดงให้เห็นข้อสำคัญในคดีก่อนแต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17866/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ให้ผู้อื่นทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัส ผู้ใช้ต้องรับผิดอาญาตามบทกำหนดโทษที่สูงขึ้น
การที่จำเลยสั่งให้ ส. กับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ด้วยคำพูดของจำเลยที่ว่า "กูจะฆ่ามึง พวกมึงไปจัดการมันเลย" นั้น แม้ตามพฤติการณ์แห่งคดีจะเป็นการพูดด้วยอารมณ์โกรธ และเพียงแต่มีเจตนาใช้ให้ทำร้ายร่างกายเพื่อสั่งสอนเท่านั้น แต่เมื่อการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตามที่จำเลยใช้ให้กระทำความผิดเกิดผลให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสซึ่งผู้ถูกใช้จะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้น จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดย่อมต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (8), 84 ประกอบมาตรา 87 วรรคสอง
of 31