พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17849/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน vs. กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีภาพยนตร์ลามกและการจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้ซึ่งภาพยนตร์ลามกเพื่อความประสงค์แห่งการค้าหรือโดยการค้าและฐานจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17824/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินและค่าเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงโครงการก่อสร้าง
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนนั้นและบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายนั้นด้วย" ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีโครงการก่อสร้างอาคารโดยจ้างบุคคลภายนอกให้ออกแบบก่อสร้างจนถึงขนาดได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานครให้อนุญาตก่อสร้าง แต่เมื่อยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างก็ไม่อาจรับนับว่าโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าขายหรือการงานอยู่ในที่ดิน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17440/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: การกระทำในทางการที่จ้าง และการยอมรับความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถบรรทุกเฉี่ยวชนรถโดยสารของโจทก์ได้รับความเสียหายแม้ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 20 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสวมใส่ชุดทำงาน ในวันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 3 ไปพบพนักงานสอบสวนกับจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 แต่กลับยอมรับต่อตัวแทนฝ่ายโจทก์และพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และยังร่วมเจรจาต่อรองค่าเสียหายโดยไม่ได้แจ้งหรือแสดงพฤติการณ์ใดให้เห็นว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 รับโดยปริยายแล้วว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการที่ยินยอมเสนอเงินชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเพียงลูกจ้างรายวันและขณะเกิดเหตุจะล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติของจำเลยที่ 1 แล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเมื่องานที่ทำเป็นกิจการของนายจ้าง จึงเป็นการปฏิบัติงานในทางการที่จ้างที่จำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้าง และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างก่อให้เกิดขึ้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17430/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหนี้จากการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน: สัญญาที่สมบูรณ์และผลบังคับใช้ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ซึ่งรวมทั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ด้วย โดยรัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขวิกฤตของบริษัทต่างๆ ดังกล่าว ด้วยการออก พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 จัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟู ชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าว ทั้งยังให้อำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งรวมทั้งอำนาจถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรโดยมีคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 16 (3) กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนี้ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยคณะกรรมการดังกล่าวจึงมีอำนาจขายทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ซึ่งรวมทั้งหนี้ของจำเลยทั้งสองได้
แม้โจทก์จะไม่ใช่ผู้ประมูลซื้อหนี้ดังกล่าวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรง และขณะนั้นโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่อำนาจการจัดการทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรงที่จะจัดการขาย โอนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการได้ตามมาตรา 8 (1) ดังนั้น การที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นผู้ประมูลหนี้ดังกล่าวได้จากการขายขององค์กรเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โอนสิทธิการซื้อดังกล่าวให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว โดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผู้กระทำการแทนผู้ขายคือสถาบันการเงินที่ถูกระงับ จึงเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่จะกระทำเช่นนั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ใช่ผู้ประมูลซื้อหนี้ดังกล่าวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรง และขณะนั้นโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่อำนาจการจัดการทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรงที่จะจัดการขาย โอนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการได้ตามมาตรา 8 (1) ดังนั้น การที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นผู้ประมูลหนี้ดังกล่าวได้จากการขายขององค์กรเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โอนสิทธิการซื้อดังกล่าวให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว โดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผู้กระทำการแทนผู้ขายคือสถาบันการเงินที่ถูกระงับ จึงเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่จะกระทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17093/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย: ผู้รับโอนสิทธิไม่มีอำนาจฟ้องแทนคู่สัญญาเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในฐานะจำเลยเป็นผู้ขาย อันเป็นการฟ้องให้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ทำไว้กับจำเลยให้แก่ ข. ต่อมา ข. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาแล้ว ข. จึงเป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย แม้โจทก์จะได้รับการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ข. ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะให้ ไม่มีบทบัญญัติว่าผู้รับต้องรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ให้ไปด้วย ซึ่งต่างจากกรณีทายาทรับมรดกที่จะเป็นผู้สืบสิทธิได้ สิทธิที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขายเป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากการหลอกลวงพนักงานรับจำนำทองคำ โดยใช้ทรัพย์สินของผู้เสียหายอ้างเป็นของลูกค้า
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายซึ่งประกอบอาชีพค้าขายทองคำและเป็นผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ขายทองคำของผู้เสียหายให้แก่ลูกค้า และยังมีหน้าที่รับจำนำทองคำของลูกค้าด้วย จำเลยใช้กลอุบายนำสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายที่จำเลยมีหน้าที่ขายให้แก่ลูกค้าไปบอกแก่พนักงานเก็บเงินในร้านของผู้เสียหายว่าเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำแก่ทางร้าน เมื่อพนักงานเก็บเงินส่งมอบเงินซึ่งเป็นของผู้เสียหายที่จะต้องนำไปมอบให้แก่ลูกค้าที่นำทรัพย์มาจำนำให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยก็รับเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตน การกระทำของจำเลยมิใช่เอาเงินของผู้เสียหายไปโดยพลการโดยทุจริต หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำ การที่จำเลยได้เงินของผู้เสียหายไปจึงเกิดจากการที่พนักงานเก็บเงินซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายหลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16572/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดที่ไม่ได้ระบุในฟ้อง ถือเป็นการผิดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์แล่นสวนทางกับรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับ เมื่อถึงบริเวณสี่แยกจำเลยที่ 1 ขับรถความเร็วสูงโดยประมาทไม่ดูให้ดีว่าในขณะนั้นมีรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 2 แล่นสวนทางมาในช่องฝั่งตรงกันข้าม และขณะนั้นจำเลยที่ 1 จะขับรถเลี้ยวไปทางขวามือเพื่อผ่านสี่แยกดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงโดยประมาทเช่นเดียวกันไม่ดูให้ดีว่าขณะนั้นมีรถของจำเลยที่ 1 กำลังเลี้ยวผ่านหน้าไป ทำให้จำเลยทั้งสองไม่สามารถหยุดรถหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะขับหลบหลีกไม่เฉี่ยวชนกันได้ รถของจำเลยที่ 1 และรถของจำเลยที่ 2 จึงพุ่งเข้าเฉี่ยวชนกันอย่างแรง ทำให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ตกจากรถได้รับอันตรายสาหัส ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาท และผลของการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 2 แล้ว แม้จะบรรยายต่อไปว่าจำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เองด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เมื่อการที่จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสเป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 300 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวด้วยนั้น เป็นการลงโทษในการกระทำความผิดที่ไม่ได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16467/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: การใช้รถประจำตำแหน่งและการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อ
ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 12 กำหนดขอบเขตไว้ชัดเจนว่า การใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รวมถึงการใช้รถยนต์เพื่อเดินทางไป - กลับระหว่างที่พักและสถานที่ปฏิบัติราชการด้วย ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ประจำตำแหน่งออกจากบ้านพักที่จังหวัดนนทบุรีเพื่อไปปฏิบัติราชการที่ศาลจังหวัดพัทยา จึงเป็นการปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ตามระเบียบดังกล่าวแล้ว
จำเลยดูแลรักษารถยนต์และนำเข้าตรวจสภาพเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ อันเป็นการใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนพึงกระทำ และก่อนเกิดเหตุจำเลยให้พนักงานขับรถนำรถยนต์ไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการแล้ว แต่ไม่พบความบกพร่อง รถยนต์สามารถใช้งานได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถยนต์มีสภาพไม่สมบูรณ์ และจำเลยขับรถโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม. ต่อ ชม. ซึ่งไม่เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บนเส้นทางดังกล่าวไม่เกิน 120 กม. ต่อ ชม. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่เหตุเกิดจากความชำรุดบกพร่องของตัวรถอันเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
จำเลยดูแลรักษารถยนต์และนำเข้าตรวจสภาพเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ อันเป็นการใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนพึงกระทำ และก่อนเกิดเหตุจำเลยให้พนักงานขับรถนำรถยนต์ไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการแล้ว แต่ไม่พบความบกพร่อง รถยนต์สามารถใช้งานได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถยนต์มีสภาพไม่สมบูรณ์ และจำเลยขับรถโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม. ต่อ ชม. ซึ่งไม่เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บนเส้นทางดังกล่าวไม่เกิน 120 กม. ต่อ ชม. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่เหตุเกิดจากความชำรุดบกพร่องของตัวรถอันเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า, หลบหนีไม่ช่วยเหลือ, ประมาท, กระทำอนาจาร: ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกฐานพยายามฆ่าและไม่รอการลงโทษ
วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลงทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16410/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิระงับ: การกระทำความผิดต่อเนื่องฐานทำลายทรัพย์สาธารณประโยชน์และความผิดฐานประกอบกิจการโรงงาน
คดีก่อนพนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2371/2550 ของศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการโรงงานโดยทำการดูดทรายบนที่ดินอันเป็นการแปรสภาพลำเลียงและทำลายหิน กรวด ดิน ทราย โดยใช้เครื่องจักรอันเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกประกอบกิจการดูดทรายทำให้ริมตลิ่งคลองบางบาลพังไปเป็นคุ้งน้ำยาวตามลำน้ำประมาณ 300 เมตร ลึกเข้าไปจากริมตลิ่งประมาณ 200 เมตร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำการดูดทรายบริเวณพื้นที่ติดต่อกับคลองบางบาล เป็นเหตุให้ชายตลิ่งริมคลองบางบาลถูกทำลายจนพังทลายลง การกระทำของจำเลยที่ 1 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2371/2550 ของศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคดีนี้จึงเป็นการกระทำในสถานที่เกิดเหตุเดียวกันคือ การดูดทรายในที่ดินบริเวณริมคลองบางบาล ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาเดียวกัน หาใช่เป็นการกระทำแยกจากกันหรือต่างกรรมต่างวาระกันไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)