คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1357

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินบริคณห์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัวของภริยา สามีไม่สามารถขัดทรัพย์ได้ แต่มีสิทธิร้องขอแบ่งส่วนได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาโจทก์ย่อมนำยึดสินบริคณห์ ซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมอยู่ด้วย เพื่อขอให้ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลยจะมาร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดรายนี้ ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินบริคณห์ชำระหนี้: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ แต่เจ้าของร่วมขอแบ่งส่วนได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาโจทก์ย่อมนำยึดสินบริคณห์ซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเพื่อขอให้ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลยจะมาร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดรายนี้ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้น สินสอด และของขวัญในงานแต่งงานที่ไม่จดทะเบียนสมรส
ชายและหญิงทำพิธีแต่งงานและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยามาเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส ชายจะอ้างว่าหญิงผิดสัญญาเพราะเหตุไม่ยอมจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้
เงินของขวัญและสิ่งของของขวัญที่ชายหญิงได้รับในวันแต่งงานชายหญิงนั้นย่อมเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียกเอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญ เมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายยอมฟ้องเรียกเอาครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแต่งงานไม่สมบูรณ์เมื่อไม่จดทะเบียนสมรส, การเป็นเจ้าของร่วมของขวัญ, สิทธิเรียกร้องค่าหมั้นและสินสอด
ชายและหญิงทำพิธีแต่งงานและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยามาเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส ชายจะอ้างว่าหญิงผิดสัญญาเพราะเหตุไม่ยอมจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้
เงินของขวัญและสิ่งของของขวัญที่ชายหญิงได้รับในวันแต่งงาน ชายหญิงนั้นย่อมเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียกเอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญ เมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายย่อมฟ้องเรียกเอาครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิการยึดทรัพย์: การยึดส่วนของจำเลยในที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ร้องไม่มีสิทธิคัดค้านหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าที่พิพาท ผู้ร้องกับจำเลยและนางยะถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโจทก์ก็มีสิทธินำยึดส่วนของจำเลยได้ที่ผู้ร้องอ้างว่าหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นหนี้ที่สมยอมกันนั้นจะจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียด้วยจึงไม่มีสิทธิจะยกขึ้นคัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและการยึดทรัพย์: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดส่วนของลูกหนี้ร่วม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าที่พิพาท ผู้ร้องกับจำเลยและนางยะถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์ก็มีสิทธินำยึดส่วนของจำเลยได้ที่ผู้ร้องอ้างว่าหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นหนี้ที่สมยอมกันนั้นจะจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียด้วย จึงไม่มีสิทธิจะยกขึ้นคัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฎ เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฎฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนด ย่อมต้องแบ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1 (2) คือ "ถ้าบุตรบางคนมรณภาพ ฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพ ซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้น เหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อ ๆ ลงไป ฯลฯ"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 กรณีมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเสียชีวิต
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฏเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนดย่อมต้องแบ่งตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1(2) คือ 'ถ้าบุตรบางคนมรณภาพฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้นเหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อๆ ลงไป ฯลฯ'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมครอบครองที่ดินส่วนสัดไม่เกิน 10 ปี อ้างกรรมสิทธิ์ยันเจ้าของร่วมไม่ได้ ศาลแบ่งที่ดินให้ตามการครอบครอง
เจ้าของที่ดินร่วมในโฉนดคนหนึ่งครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแต่ไม่เกิน 10 ปี จะอ้างกรรมสิทธิ์ในส่วนนั้นยันเจ้าของร่วมอีกผู้หนึ่งไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2501)
เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อความยุติธรรม ศาลจะแบ่งที่ดินเป็นส่วนๆ ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่ละคนก็ได้โดยไม่สั่งให้เอาที่ดินออกขายแบ่งราคากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดไม่เกิน 10 ปี ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ยันเจ้าของร่วมอื่นได้ ศาลแบ่งที่ดินให้ตามการครอบครองเดิมได้
เจ้าของที่ดินร่วมในโฉนดคนหนึ่งครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแต่ไม่เกิน 10 ปี จะอ้างกรรมสิทธิ์ในส่วนนั้นยันเจ้าของร่วมอีกผู้หนึ่งไม่ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)
เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อความยุติธรรม ศาลจะแบ่งที่ดินเป็นส่วน ๆ ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ร่วมแต่ละคนก็ได้โดยไม่สั่งให้เอาที่ดินออกขายแบ่งราคากัน.
of 22