พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10284/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำชำเรา การนิยามความหมายของการ “พราก” และการรบกวนอำนาจปกครอง
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเด็กเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปหาที่บ้านจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปที่ห้องนอนของจำเลย และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้ อำนาจปกครองผู้เสียหายที่ 1 จึงยังคงอยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้เสียหายที่ 2 ย่อมทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอมด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10279/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้เกิดจากความผิดพลาดของทนาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 อ้างว่าทนายจำเลยหลงผิดว่าได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลก่อนวันที่ 30 กันยายน 2552 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ และเข้าใจผิดว่าวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2552 คำร้องดังกล่าวนั้นมิใช่เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย จึงเป็นดุลพินิจที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยและอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10214/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่/เดิมเพื่อประโยชน์แก่จำเลย
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 15 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า การมีเมทแอมเฟตามีนหรืออนุพันธุ์แอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ดังนั้น เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่าที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง ส่วนในมาตรา 66 ที่แก้ไขใหม่เฉพาะกรณีที่สารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรา 66 วรรคหนึ่งเดิมแล้ว ในกรณีที่ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ถึงห้าปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10004/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีอาวุธปืนและยาเสพติด: การพิจารณาคดีที่ไม่ชอบและการปฏิเสธการพิจารณา
ศาลจังหวัดเลยพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ทุกข้อหามีกำหนด 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยสถานหนักและไม่รอการลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ซึ่งมิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น และฐานทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคดีที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9181/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้พิพากษาไม่ได้อ่านเอง แต่ทนายโจทก์ทราบเนื้อหาและไม่ได้โต้แย้ง
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสอง มีจุดมุ่งหมายให้คู่ความได้ทราบคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา ดังนั้นเมื่อในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์ฟังแล้ว โดยผู้รับมอบฉันทะทนายโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ โดยมิได้โต้แย้งทันทีว่าการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ซึ่งต่อมาโจทก์ก็ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าคดีมีมูล แสดงว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8707/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้ล้มละลายตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลต้องส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้...(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้" การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนจากเงินขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ล้มละลายมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ย่อมมีผลเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อำนาจในการต่อสู้คดีนี้ของจำเลยที่ 1 จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 หามีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีด้วยตนเองไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8522/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ดินขายฝากต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การไม่มีหลักฐานหนังสือไม่อาจรับฟังได้
ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง บัญญัติว่า "การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่..." บทบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์โดยชัดแจ้ง เพื่อป้องกันข้อพิพาทโต้เถียงของคู่สัญญาว่า มีการตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่แก่กันหรือไม่ จึงได้บัญญัติว่า หากมีการขยายกำหนดเวลาไถ่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ โจทก์มีแต่พยานบุคคลมาสืบประกอบสำเนาบันทึกแจ้งเหตุขัดข้องต่อผู้ใหญ่บ้านและสำเนารายงานประจำวันว่า จำเลยขยายกำหนดเวลาไถ่ให้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ให้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากและจำเลยย่อมมีสิทธิขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกจากที่ดินตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331-8332/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีเช็คหลายฉบับ ศาลไม่เกินคำขอแม้ไม่ได้ขอให้นับโทษต่อกัน
ป.วิ.อ.มาตรา 158 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการขอให้นับโทษจำคุกในแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในแต่ละกระทง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องระบุวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้งเจ็ดฉบับต่างวันกัน และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอให้ศาลพิพากษานับโทษจำคุกแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในคำฟ้องแต่ละสำนวน ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในแต่ละสำนวนทุกกรรมเป็นกระทงความผิดและรวมโทษในแต่ละสำนวนได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการใช้พื้นที่ก่อนมีกฎกระทรวง: โจทก์มีสิทธิฟ้องขอค่าทดแทนได้ แม้มีกฎกระทรวงออกภายหลัง
โจทก์และจำเลยทำบันทึกความเข้าใจให้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทันที เพื่อใช้ประโยชน์ใต้พื้นดินที่จะก่อสร้างในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีการเวนคืน โดยตกลงกันให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินนำคดีไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าเสียหายและเงินค่าทดแทนเนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาใช้บังคับ ดังนั้น บันทึกข้อตกลง จึงเป็น "ข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น" ตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ.2540 แม้ต่อมาในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นผลไป โจทก์ไม่จำต้องกลับไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎกระทรวงออกมาภายหลัง