คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1357

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่าแย่งกัน โจทก์จำเลยมีสิทธิเท่ากันต้องแบ่งให้คนละครึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างแย่งกันครอบครองที่ดินมือเปล่ามา แต่ไม่ได้ความชัดว่าใครครอบครองส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองด้วยกัน และให้แบ่งคนละครึ่ง (อ้างฎีกา 587/2480)
????????????..
โจทก์ฟ้องว่า เดิมข้าหลวงพิเศษจัดแบ่งที่พิพาทรวม 6 แปลง ให้ผู้มีชื่อ 6 คน แต่ยังไม่ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้ ผู้มีชื่อดังกล่าวไม่เคยครอบครองทำประโยชน์เลย เมื่อ พ.ศ. 2482 โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาท 2 แปลง ต่อมาโจทก์ขอซื้อที่ที่พิพาทนอกนั้นจากผู้มีชื่อ เมือ พ.ศ. 2485 และครอบครองเป็นเจ้าของมา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ อ. บิดาภรรยาจำเลย จำเลยได้ครอบครองร่วมกับ อ. จน อ. ตายจำเลยได้ครอบครองแต่ผู้เดียวจนบัดนี้ 10 ปีเศษแล้ว
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ฟังว่าโจทก์จเลยต่างมีส่วนครอบครองที่พิพาท แต่ไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดครอบครองเพียงใด หรือทั้งหมด เพราะคู่ความไม่ขอให้ทำแผนที่พิพาทพิพากษาให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จำเลย จะฟ้องร้องกันใหม่
ศาลอุทธรณ์ ฟังว่าโจทก์ครอบครองโดยตั้งใจ จะซื้อจากเจ้าของเดิม ซึ่งไม่มีสิทธิ จึงไม่มีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิม และเชื่อพยานจำเลย เห็นว่าจำเลยมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า โจทก์เข้าครอบครองเพื่อเจตนาเป็นเจ้าของ ที่รายนี้เป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อโจทก์จำเลยต่างมีพยานนำสืบว่าต่างแย่งกันครอบครองมา แต่ไม่ได้ความชัดว่า ใครครอบครองที่ส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทมาด้วยกันดังศาลชั้นต้นโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่พิพาทเท่า ๆ กัน
พิพากษากลับ ให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ถ้าไม่ตกลงให้ประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินคนละครึ่ง
(นนทประชา - ธรรมบัณฑิต - ศิลปสิทธิ)
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ - นายนิ่ม กลัสประวิทย์
ศาลอุทธรณ์ - พระดุลยรัตน์พจนาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่าแย่งกัน โจทก์จำเลยมีสิทธิเท่าเทียมกันต้องแบ่งคนละครึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างแย่งกันครอบครองที่ดินมือเปล่ามาแต่ไม่ได้ความชัดว่าใครครอบครองส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองด้วยกันและให้แบ่งคนละครึ่ง (อ้างฎีกา 587/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วม ศาลต้องให้โอกาสสืบพยานก่อนพิพากษา
เมื่อโจทก์อ้างว่า ตนมีส่วนในที่ดินมากกว่าจำเลยซึ่งมีชื่อในโฉนดด้วยกันนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานส่วนเท่ากัน ในความเป็นเจ้าของได้ หากหลักฐานในสำนวนยังไม่พอฟังดังข้ออ้างของโจทก์ ศาลไม่ควรสั่งงดสืบพยานเสียทั้ง ๆ ที่โจทก์กำลังทำการสืบอยู่ มิฉะนั้น ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไป และพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: โจทก์มีสิทธิพิสูจน์ส่วนได้ส่วนเสียที่มากกว่าจำเลย แม้ชื่อในโฉนดจะเท่ากัน ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานก่อน
เมื่อโจทก์อ้างว่า ตนมีส่วนในที่ดินมากกว่าจำเลยซึ่งมีชื่อในโฉนดด้วยกันนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบ หักล้างข้อสันนิษฐานส่วนเท่ากัน ในความเป็นเจ้าของได้
หากหลักฐานในสำนวนยังไม่พอฟังดังข้ออ้างของโจทก์ ศาลไม่ควรสั่งงดสืบพยานเสียทั้งๆ ที่โจทก์กำลังทำการ สืบอยู่ มิฉะนั้นศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไปและ พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิร่วมในทรัพย์สินระหว่างอยู่กินฉันท์สามีภรรยา การลงชื่อในใบเหยียบย่ำมิใช่การสละสิทธิ
โจทก์,จำเลยเป็นสามีภรรยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกัน โจทก์ได้ที่ดินมาจากผู้อื่น และลงชื่อจำเลยซึ่งเป็นภรรยาลงในใบเหยียบย่ำ ตามพฤตติการณ์ โจทก์,จำเลยต่างมีกรรมสิทธิในทรัพย์นั้นร่วมกัน การที่โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อในใบเหยียบย่ำแต่ผู้เดียว ไม่เป็นข้อแสดงว่าโจทก์สละสิทธิให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาขณะอยู่กินฉันท์สามีภรรยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การลงชื่อในใบเหยียบย่ำไม่ถือเป็นการสละสิทธิ์
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ได้ที่ดินมาจากผู้อื่น และลงชื่อจำเลยซึ่งเป็นภรรยาลงในใบเหยียบย่ำ ตามพฤติการณ์โจทก์จำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นร่วมกัน การที่โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อในใบเหยียบย่ำแต่ผู้เดียว ไม่เป็นข้อแสดงว่าโจทก์สละสิทธิ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน โดยพิจารณาการครอบครองเป็นส่วนสัดและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับจำเลย ขอให้ศาลแบ่งครึ่งระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยว่าได้ปกครองเป็นส่วนสัดขอให้แบ่งตามส่วนที่ปกครองมา ศาลฎีกาเห็นว่าในที่พิพาทมีทั้งที่ ที่ปลูกบ้านและที่สวนสำหรับที่บ้านโจทก์จำเลยปกครองเป็นส่วนสัดกันมาต้องแบ่งตามที่ปกครองโดยถือลำคูเป็นเขต ส่วนที่สวนหลังบ้านต่างยังปกครองร่วมกันอยู่ ฉะนั้นส่วนในการเป็นเจ้าของ ของโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่คนละครึ่งในที่ดินพิพาททั้งแปลงนั้น จึงให้แบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกัน โดยให้ถือแนวกลางอู่หรือคู จากคลองยืนขึ้นมาทางเหนือแล้วหักมุมตามแนวกลางคูหรือร่องสวนไปทางทิศตะวันออกจนถึงจุด จุดหนึ่ง ซึ่งเมื่อลากเส้นขนานกับเขตที่ดินด้านทิศตะวันตกจากจุดนั้นไปทางทิศเหนือ จนจดเขตทางด้านทิศเหนือแล้ว ที่ดินทั้งสองจะมีเนื้อที่แปลงละ 3 งาน 46 วา 2 ศอก หรือครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความที่เคยหย่าแล้วกลับมาอยู่กินกัน แม้ไม่จดทะเบียนสมรส ศาลยังคงมีอำนาจแบ่งทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอหย่าและแบ่งสินสมรสจากจำเลย คดีได้ความว่า โจทก์จำเลยได้หย่าขาด และแบ่งทรัพย์กันแล้ว แต่กลับคืนดีกันอีก โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์ที่ฟ้องคือทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกันในตอนหลังนี้ ไม่เป็นสินสมรส.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ในฐานเป็นสินสมรส เมื่อศาลไม่ฟังว่าเป็นสินสมรส แต่ศาลเห็นว่าเป็นทรัพย์ที่บุคคลสองคนร่วมกันหาได้มา บุคคลทั้งสองจะมีฐานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นเจ้าของร่วมกันอยู่นั่นเอง ศาลย่อมแบ่งให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความที่เคยหย่าแล้วกลับมาอยู่กินกัน ศาลใช้หลักเจ้าของร่วม แม้ฟ้องผิดฐานะ
โจทก์ฟ้องขอหย่าและแบ่งสินสมรสจากจำเลย คดีได้ความว่า โจทก์จำเลยได้หย่าขาด และแบ่งทรัพย์กันแล้ว แต่กลับคืนดีกันอีก โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์ที่ฟ้องคือทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกันในตอนหลังนี้ ไม่เป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ในฐานเป็นสินสมรส เมื่อศาลไม่ฟังว่าเป็นสินสมรส แต่ศาลเห็นว่าเป็นทรัพย์ที่บุคคลสองคนร่วมกันหาได้มา บุคคลทั้งสองจะมีฐานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นเจ้าของร่วมกันอยู่นั่นเอง ศาลย่อมแบ่งให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิร่วมในที่ดิน การสันนิษฐานตามมาตรา 1357 และเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1362
บิดายกที่ดินรายพิพาทให้แก่นางนิตย์โจทก์และจำเลย ต่อมามีการรังวัดขอรับโฉนด การที่นางนิตย์โจทก์ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของร่วมเฉย ๆ โดยไม่แบ่งส่วนไว้ ต้องสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากัน (ม 1357)
โจทก์อ้างว่านาเป็นของโจทก์มากกว่าครึ่ง คือเท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่เวลานี้ จำเลยต่อสู้ว่าได้มอบนาให้โจทก์ไว้ทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้ การที่โจทก์ทำนารายพิพาทไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ โจทก์จำเป็นต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1362 ป.พ.พ. ข้อเจตนาเป็นเจ้าของนี้โจทก์นำสืบไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่นาทั้งหมดตามที่ครอบครองอยู่.
of 22