พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม ทางเดินร่วม การสร้างโรงรถบนที่ดินโต้แย้ง และกรรมสิทธิ์รวมในสิ่งปลูกสร้าง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้น บัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้วโจทก์จึงได้ภารจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติม ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ. เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์ บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3064 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าวโดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อนตั้งขึ้นโดยสัญญา ระหว่างโจทก์กับ ป. บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากป.ไปปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภารจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ป. บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นโจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการก่อตั้งทางภาระจำยอมด้วยสัญญา การใช้สิทธิและขอบเขตการฟ้องร้อง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้นบัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว โจทก์จึงได้ภาระจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 180
แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์ อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ.เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์
บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3164 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์ โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าว โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอม
แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อตั้งขึ้นโดยสัญญาระหว่างโจทก์กับ ป.บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จาก ป.ได้ปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภาระจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป
โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ ป.บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์ มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์นั้น โจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์ อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ.เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์
บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3164 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์ โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าว โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอม
แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อตั้งขึ้นโดยสัญญาระหว่างโจทก์กับ ป.บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จาก ป.ได้ปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภาระจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป
โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ ป.บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์ มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์นั้น โจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินหลังหย่า และการลงชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลง และขาดจากการเป็นสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 โดยมีผลสมบูรณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว ตามมาตรา1515 และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องหรือไม่ และการโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง รวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้แบ่งทรัพย์สินขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้ แม้คดีก่อนฟ้องแบ่งแยกที่ดิน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่าโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกันส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยให้การว่าหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้วส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือแต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่าตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้นจำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่งฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาคดีก่อน ไม่เป็นข้อหาเดิม
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการรับมรดก การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่ง และป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า ป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการสืบสิทธิมรดก
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่งและป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง เมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่ครึ่งหนึ่ง และ ป.บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมก็หาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่า ป.หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินแบ่งแยก - การพิสูจน์ทางออกสู่สาธารณะ - การกำหนดความกว้างทางจำเป็น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่าถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร์ ท่าว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น มีความหมายว่าที่ดินเดิมก่อนมีการแบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่เพราะเหตุที่มีการแบ่งแยก เป็นหลายแปลงทำให้ที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ได้เลยหากที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันนั้น แม้ไม่มี ทางออกสู่ทางสาธารณะเดิมก่อนมีการแบ่งแยก แต่ก็ยังมีทางออก สู่ทางสาธารณะในทางอื่นด้วยแล้วเช่นนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าทีดินแปลงที่แบ่งแยกนั้นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะนำบทบัญญัติในมาตรา 1350 ดังกล่าวมาใช้บังคับได้ คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับว่าที่ดินโจทก์หลังจากแบ่งแยกแล้วทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งด้วยว่า โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศใต้ โดยผ่านที่ดินของ ท.และเป็นทางที่ ม.เจ้าของที่ดินเดิมตลอดจนบิดามารดาโจทก์ใช้เป็นเส้นทาง เข้าออกมาโดยตลอดทั้งเป็นทางที่สะดวกและเหมาะสมกว่าทางอื่นซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยให้การแล้ว ย่อมแสดงว่าที่ดินโจทก์หลังการแบ่งแยกแล้ว หาได้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังที่โจทก์ฟ้องไม่ ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยกำหนดความกว้างให้ 3.25 เมตร โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุใดศาลชั้นต้นจึงกำหนดเช่นนั้น และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามบังคับไว้ว่า ทางจำเป็นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิผ่านกับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีกรณีจึงต้องให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่ชอบ