คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1357

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่สมบูรณ์ แต่มีผลผูกพันกับเจ้าของร่วม
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน1,000,000บาทไปฝากประจำไว้แก่ธนาคารก. โดยมีเงื่อนไขว่าการสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ต่อมาญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามเอกสารหมายจ.10ดังนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา747การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้คดีนี้แม้ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคารก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารก.ไปแล้วธนาคารก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและลักษณะของสัญญาเอกสารหมายจ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมายจ.10จะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมายจ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาในเมื่อญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สมุดเงินฝากไม่ใช่ตราสารหนี้ การจำนำต้องเป็นทรัพย์สินที่ส่งมอบได้
ญ. กับโจทก์ร่วมกันฝากเงินไว้แก่ธนาคารกรุงเทพกรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นของธนาคารกรุงเทพไปแล้วธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่ธนาคารกรุงไทย จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและแม้ในสัญญาระหว่างญ. กับจำเลยจะมีข้อความว่า"จำนำสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากนี้ไว้กับธนาคารกรุงไทย (เจ้าหนี้)เพื่อเป็นประกันหนี้ของหจก.ส. (ลูกหนี้)ต่อธนาคารนี้เป็นจำนวนเงิน1,000,000บาทบัญชีเงินฝากประจำ3เดือนจำนวนเงินในบัญชี1,0000,000บาท"ก็ตามลักษณะดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีเงินฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารแม้สัญญาดังกล่าวจะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกรรมสิทธิ์ตกเป็นของธนาคาร
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก. โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและกรรมสิทธิ์ร่วม การพิสูจน์ส่วนได้เสียตามพินัยกรรมและข้อเท็จจริงจากการครอบครอง
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาทเดิมจะมีชื่อจ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่าใดก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้วเจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามพินัยกรรมและการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งในโฉนด
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาท เดิมจะมีชื่อ จ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่าใดก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้ว เจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันเป็นเพียงสันนิษฐานได้ หากพิสูจน์ส่วนได้เสียแตกต่างออกไปได้
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาท เดิมจะมีชื่อ จ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้ว เจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้จัดการมรดก และสิทธิในที่ดินร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่1จำเลยที่1และจ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันมิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันมาเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่2นับรวมได้เป็นเวลา20ปีเศษแสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฎทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใดจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา1357แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน จำเลยที่1รู้ว่าโจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริตแม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่2ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ไม่เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจำเลยที่2ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมสัดส่วนเท่ากัน-การโอนสิทธิโดยไม่สุจริต-ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเหนือผู้โอน
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันเป็นเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2นับรวมได้เป็นเวลา 20 ปีเศษ แสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฏทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใด จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1357 แห่ง ป.พ.พ.ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินหลังจดทะเบียนสมรส: การแบ่งสินสมรสและสิทธิเจ้าของร่วม
แม้จำเลยที่1จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์แต่โจทก์กับจำเลยที่1ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลยจำเลยที่1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียวส่วนจำเลยที่2อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่1มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วยและที่จำเลยที่1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้านโจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกันโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาทแต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357จำเลยที่2มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมที่ดินและบ้าน: สิทธิส่วนแบ่งสินสมรสและสัดส่วนการถือครอง
แม้จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลย จำเลยที่ 1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาท จึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย และที่จำเลยที่ 1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้าน โจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกัน โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท แต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จำเลยที่ 2 มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน
of 22