พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิการครอบครอง
ทั้งโจทก์และจำเลยต่างได้ครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปรากฏในแผนที่พิพาทส่วนฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่เท่าใดและฝ่ายใดครอบครองมาก่อนกันอันจะทำให้ฟังได้ว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทนั้นปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีบ้านอยู่ในที่พิพาทอีกทั้งพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจรับฟังได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียวและฟังไม่ได้ว่ามีการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนในส่วนไหนเท่าใดจึงควรฟังว่าโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมาด้วยกันและต่างมีส่วนในที่พิพาทเท่าๆกันแม้ในวันที่16กรกฎาคม2533จำเลยได้นำรถตักดินเข้าไปตักดินในที่พิพาทกั้นคันดินเพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งอันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่โจทก์ก็ได้คัดค้านทันที่ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25มีนาคม2534เพื่อเรียกคืนการครอบครองภายใน1ปีสิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ยังไม่ขาดไปและได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่ไม่ได้โต้แย้งกันซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่พิพาทจึงเห็นควรให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งในที่พิพาททางด้านทิศตะวันออกโดยแบ่งเนื้อที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วนเท่าๆกันและให้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาททางด้านตะวันออกห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน และสิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ทั้งโจทก์และจำเลยต่างได้ครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปรากฏในแผนที่พิพาท ส่วนฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่เท่าใด และฝ่ายใดครอบครองมาก่อนกันอันจะทำให้ฟังได้ว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทนั้นปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีบ้านอยู่ในที่พิพาท อีกทั้งพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจรับฟังได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว และฟังไม่ได้ว่ามีการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนในส่วนไหนเท่าใด จึงควรฟังว่าโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมาด้วยกันและต่างมีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน แม้ในวันที่16 กรกฎาคม 2533 จำเลยได้นำรถตักดินเข้าไปตักดินในที่พิพาทกั้นคันดินเพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง อันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้คัดค้านทันทีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2534เพื่อเรียกคืนการครอบครองภายใน 1 ปี สิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ยังไม่ขาดไป และได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่ไม่ได้โต้แย้งกันซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่พิพาท จึงเห็นควรให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งในที่พิพาททางด้านทิศตะวันออก โดยแบ่งเนื้อที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน และให้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาททางด้านตะวันออก ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน โดยไม่ได้รับความยินยอม
แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความว่าขายที่ดินทั้งแปลงและอ้างว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ก. ก็ตาม แต่ปรากฏตามโฉนดที่ดินว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยโดยไม่ปรากฏว่าใครมีส่วนเท่าใด จึงถือว่าก. และโจทก์ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ก. ไม่มีสิทธิที่จะขายที่ดินทั้งแปลงให้ ป. บิดาจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน เมื่อ ป. ทราบมาแต่ต้นว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและบ้านพิพาท ประกอบกับโจทก์นำหนังสือสัญญาอาศัยมาให้ ส. ภริยาของ ป. ลงลายมือชื่อเมื่อปี 2531 แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์นั้น ฝ่ายจำเลยเป็นผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อันเป็นการครอบครองแทนโจทก์อยู่ เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ต่อไป แม้ฝ่ายจำเลยจะได้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์มานานเท่าใดก็ตามย่อมถือไม่ได้ว่าได้ครอบครองปรปักษ์อันจะได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการฟ้องคดีตามมาตรา 1375วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โดยอ้างกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาททั้งแปลง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนเพียงครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน และเบี้ยปรับจากสัญญา
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภริยากันและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยร่วม คงสมบูรณ์มีผลผูกพันเฉพาะที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาททั้งแปลงตามสัญญาได้ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยได้ การที่จำเลยไม่ยอมโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของตนให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญามีว่าถ้าจำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแล้ว และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ต้องเสียหายอย่างไร ทั้งมิได้นำสืบไว้ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
สัญญามีว่าถ้าจำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแล้ว และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ต้องเสียหายอย่างไร ทั้งมิได้นำสืบไว้ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน คู่ความมีสิทธิพิสูจน์ส่วนแบ่งที่แตกต่างได้
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ที่ว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบให้รับฟังเป็นอย่างอื่นและสามารถนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างพยานเอกสารสัญญาจำนองและสัญญาซื้อขายที่ดินที่แสดงการเป็นเจ้าของรวมนั้นได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมส่วนเท่ากัน: คู่ความมีสิทธิพิสูจน์ส่วนแบ่งต่างกันได้ พยานบุคคลหักล้างเอกสารได้
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ที่ว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันนั้นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบให้รับฟังเป็นอย่างอื่นและสามารถนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างพยานเอกสารได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมของคนต่างด้าวและสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการโอนที่ดิน
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5438/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบกัน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และการสละประเด็นข้อพิพาทในชั้นศาล
โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ตาม แต่ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ โจทก์กับจำเลยอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน 4 คน โจทก์เป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ส่วนจำเลยเป็นผู้ทำมาค้าขายแล้วออกเงินซื้อที่ดินและบ้านพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยกันตลอดมา พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์กับจำเลยเลิกร้างกันได้ตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท และโจทก์ได้รับส่วนแบ่งเป็นเงิน 400,000 บาทไปจากจำเลยแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไม่ได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อดังกล่าวขึ้นฎีกา ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้