พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10864/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กและการพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการกระทำ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยใช้นิ้วมือแหย่เข้าไปบริเวณรูทวารหนักและใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เพื่อสนองความใคร่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยใช้นิ้วแหย่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 ก็ตาม แต่การกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง บัญญัติให้หมายความถึงการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ฉะนั้นการกระทำของจำเลยไม่ว่าจะกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้เสียหายที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว อีกทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่สำหรับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ออกจากบ้านบอลที่เล่นอยู่ไปที่บริเวณลูกกรงเหล็กที่กั้นสำหรับกันคนตก แล้วจึงใช้นิ้วแหย่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยเพียงเพื่อหาสถานที่ปลอดคนที่จะล่วงละเมิดทางเพศผู้เสียหายที่ 1 ได้โดยสะดวกและไม่มีใครรู้เห็นมากกว่าที่จะมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้ปกครอง และการกระทำของจำเลยก็ยังอยู่ในบริเวณสวนสนุกนั้นเอง ทั้งใช้เวลาไม่นาน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348-10350/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และการหักชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งใช้บังคับกับคดีนี้บัญญัติไว้ความว่า "ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ให้บริษัทผู้รับประกันภัยมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้" ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 8 จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปสามรายการ รวมเป็นเงิน 45,000 บาท ไปแล้ว โจทก์ที่ 8 ย่อมไล่เบี้ยเอาแก่ ฉ. ผู้ขับรถโดยสารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และย่อมไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ต้องร่วมกันรับผิดกับ ฉ. ได้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้เอาประกันภัยรถโดยสารไว้ต่อจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย โจทก์ที่ 8 ย่อมไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 4 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8904/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และอายุความคดีมรดก: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 1710 หรือไม่ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด ทั้งต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 1710 ขึ้นต่อสู้ โดยไม่ได้ยกอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อโจทก์ฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ตกเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว แต่เป็นทรัพย์มรดกของ ส. ที่จะต้องแบ่งให้แก่ทายาท เท่ากับโจทก์ฟ้องคดีมรดก เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายวันที่ 30 สิงหาคม 2544 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้าสู่ทะเบียนของบริษัทร้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ป.พ.พ. มาตรา 1246 (6) (เดิม) บัญญัติว่า "ถ้าบริษัทหรือผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ใด ๆ ของบริษัทรู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนนั้นไซร้ เมื่อบริษัทหรือผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาล และศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอแก่ใจว่าขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียนนั้นบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ก็ดี หรือมิฉะนั้นเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้บริษัทนั้นได้กลับคืนขึ้นทะเบียนก็ดี ท่านว่าศาลจะสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้..." เมื่อปรากฏเหตุว่ามีการนำที่ดินที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินว่าให้ใช้เพื่อสร้างโรงเรียนอนุบาลและบ่อบำบัดน้ำเสียของหมู่บ้าน แต่บริษัท ธ. ผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวไม่ดำเนินการ ทั้งนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินในการที่จะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินและปรากฏว่าในหมู่บ้านดังกล่าวยังมิได้มีการดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้ร้องในฐานะหน่วยงานของรัฐจึงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ธ. ปฏิบัติหน้าที่ตามใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ร้องจึงมีสถานะเสมือนหนึ่งเป็นเจ้าหนี้มีอำนาจยื่นคำร้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายยาที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างอิงกฎหมายเก่า และความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาอันตราย
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4, 32, 107 พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 4 ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ได้ถูกยกเลิกไปตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองโดยอ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว และมิได้อ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ แต่คำว่า ขาย ตามมาตรา 4 ซึ่งแก้ไขใหม่ยังคงหมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายและถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า หลังจากศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ปรากฏว่านับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 13 ปี จำเลยมิได้ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมและทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมรวมทั้งดอกผลของทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์และทายาททั้งหมด โจทก์เคยบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกหลายครั้ง แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามคำขอท้ายฟ้องให้โจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินและตึกแถวอันเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์ จำเลย และทายาทของ ส. ทุกคนได้ประชุมตกลงทำสัญญาแบ่งปันมรดกกันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 หลังทำสัญญาดังกล่าว โจทก์และทายาทคนอื่นไม่สนใจเข้าไปครอบครองดูแลทรัพย์มรดกในส่วนของตน จำเลยจึงเข้าครอบครองเพื่อตนเองต่อเนื่องตลอดมาถึงปัจจุบัน สิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยโดยสมบูรณ์ โจทก์เสียสิทธิในการรับทรัพย์มรดกทั้งหมดของ ส. โดยอายุความแล้ว แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ยังมิได้ดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้รับมรดก ถือว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งกรรมสิทธิ์และลักทรัพย์ กรณีจำเลยได้รับมอบหมายให้ถือครองกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของ
ฮ. เป็นบุคคลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ฮ. และโจทก์ร่วมเป็นสามีภริยาตามกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ฮ. ซื้อห้องชุด แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน โดยจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจและชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า อันเป็นการกระทำแทน ฮ. ชั่วครั้งชั่วคราวตามที่ได้รับมอบหมาย กรรมสิทธิ์ที่แท้จริงยังอยู่ที่ ฮ. และโจทก์ร่วม การที่จำเลยแจ้งเท็จว่าหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดฉบับเดิมสูญหายเพื่อขอออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดใหม่ เปลี่ยนกุญแจและเข้าครอบครองห้องชุดและทรัพย์ต่าง ๆ ในห้องชุดแล้วนำไปขายแก่บุคคลอื่นโดย ฮ. และโจทก์ร่วมไม่รู้เห็นยินยอม เป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดของ ฮ. และโจทก์ร่วมโดยใช้อุบายแย่งการครอบครอง ต่อมาเมื่อจำเลยนำห้องชุดของโจทก์ร่วมไปขาย เงินที่ได้จากการขายห้องชุดเป็นผลสืบเนื่องจากการแย่งกรรมสิทธิ์และการครอบครองของจำเลย เพราะ ฮ. หรือโจทก์ร่วมไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษในความผิดฐานยักยอก แต่ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิใช่แตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษในความผิดฐานยักยอก แต่ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิใช่แตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ความผิดเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล แม้การวินิจฉัยทำที่ กทม. ศาลสตูลมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องเรียนของโจทก์เสร็จสิ้นที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงรองเมือง เขตรองเมือง กรุงเทพมหานคร ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสตูลสืบสวนสอบสวนตามอำนาจหน้าที่และส่งเรื่องพร้อมความเห็นอันเป็นข้อเสนอแนะไปยังจำเลยทั้งห้าก็ตาม แต่คำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ดังกล่าวจัดส่งไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสตูลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบ ทั้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ยังมีผลต่อการสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีฉลุงในท้องที่จังหวัดสตูล ตามที่โจทก์ร้องเรียนอีกด้วย ถือว่า ความผิดได้เกิดขึ้นในจังหวัดสตูลอันเป็นเขตอำนาจของศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21502/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายทางจิตใจและชื่อเสียงจากการบุกรุก ไม่ถือเป็นความเสียหายในทางทรัพย์สินที่ชดใช้ได้
ความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาที่จำเลยลักไปแทนโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับทรัพย์ที่จำเลยลักไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้อีก
จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วม ความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับจึงต้องเป็นความเสียหายอันเกิดจากตัวทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุก เช่น ที่ดินพิพาทได้รับความเสียหาย หรือความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น ค่าเสียสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากโจทก์ร่วมต้องทำรั้วกำแพงใหม่ ต้องเฝ้าระวังไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาในที่ดินเพื่อก่อเหตุอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมกับครอบครัว และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จึงมิใช่ความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกของจำเลย
จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วม ความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับจึงต้องเป็นความเสียหายอันเกิดจากตัวทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุก เช่น ที่ดินพิพาทได้รับความเสียหาย หรือความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น ค่าเสียสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากโจทก์ร่วมต้องทำรั้วกำแพงใหม่ ต้องเฝ้าระวังไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาในที่ดินเพื่อก่อเหตุอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมกับครอบครัว และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จึงมิใช่ความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21251/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อค้าประเวณี ไม่ต้องเจตนาค้าประเวณี
จำเลยพาเด็กหญิง ธ. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เพื่อไปค้าประเวณีที่โรงแรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเป็นธุระจัดหาและพาเด็กหญิง ธ. ให้ไปค้าประเวณี อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี มาตรา 9 แล้ว ไม่จำเป็นที่เด็กหญิง ธ. ต้องมีเจตนาค้าประเวณีด้วย เพราะบทบัญญัติดังกล่าว มิได้บัญญัติเจตนาของผู้ค้าประเวณีให้เป็นองค์ประกอบความผิดด้วย