คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1357

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผลและการยึดทรัพย์: กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของจำเลย
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่.
ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กัน ตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผลและการยึดทรัพย์: จำเลยยังคงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกอยู่
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้: กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับผู้สละมรดก เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์แล้วในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาสละมรดกให้แก่ผู้ร้องโดยจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกทั้งผู้ร้องก็เป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทไว้แทนจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดก ประเด็นมีว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงตกเป็นโมฆะและการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแทนจำเลย เป็นการวินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส สินส่วนตัว และการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่ ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา14621463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสินเดิมและสินส่วนตัวระหว่างสมรส
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2522 โดยมีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่จำเลยกับล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466 เดิม บัญญัติไว้ไม่.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
เดิม ท. กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท. ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท.ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ว. ผู้เป็นบุตร แม้ ว. จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทน ว.ตลอดมาการที่ส.ค.1มีชื่อท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท. ตลอดทั้งว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียว จึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3 ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมายแม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3 ก. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินร่วม สิทธิครอบครองจากมรดก การออก น.ส.3ก. ที่ไม่ชอบ และผลของการซื้อขายที่ดิน
เดิม ท.กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท.ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท.ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ว.ผู้เป็นบุตรแม้ว.จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทนว.ตลอดมาการที่ส.ค.1มีชื่อท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท.ตลอดทั้งว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.) สำหรับที่ดินพิพาท ทั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียวจึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมาย แม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3ก. ก็ตามก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อมีการครอบครองร่วมกันและสิทธิทางมรดก การซื้อขายที่ดินโดยไม่ชอบ
เดิม ท. กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท. ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ว. ผู้เป็นบุตร แม้ ว. จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทน ว. ตลอดมา การที่ ส.ค. 1 มีชื่อ ท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท. ตลอดทั้ง ว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียว จึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3 ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมายแม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3 ก. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับซื้อที่นาตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ: การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุมหากระบุสิทธิซื้อก่อน
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ตามพื้นที่ที่โจทก์เช่าทำนาอยู่เดิม มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามเนื้อหาแห่งสัญญาเช่า หากแต่เป็นการอ้างว่ามีการเช่า เพื่อผลที่จะได้สิทธิในการซื้อที่นาที่เช่าก่อนคนอื่น ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 รายละเอียดของสัญญาเช่าดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายในฟ้อง และฟ้องโจทก์ได้บรรยายพอเข้าใจได้ว่าที่นาพิพาทอยู่ทางตอนใดของที่ดิน ส่วนจะมีอาณาเขตแน่นอนอย่างไร เป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาทั้งการที่จำเลยให้การว่า ก่อนจะโอนขายที่นาพิพาท ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วโจทก์ไม่แสดงความจำนงว่าจะซื้อ และโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่านาตามกฎหมาย เป็นคำให้การตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับซื้อที่นาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ: การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุม หากระบุรายละเอียดพอเข้าใจได้
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ตามพื้นที่ที่โจทก์เช่าทำนาอยู่เดิม มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามเนื้อหาแห่งสัญญาเช่า หากแต่เป็นการอ้างว่ามีการเช่า เพื่อผลที่จะได้สิทธิในการซื้อที่นาที่เช่าก่อนคนอื่น ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 รายละเอียดของสัญญาเช่าดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายในฟ้อง และฟ้องโจทก์ได้บรรยายพอเข้าใจได้ว่าที่นาพิพาทอยู่ทางตอนใดของที่ดิน ส่วนจะมีอาณาเขตแน่นอนอย่างไร เป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาทั้งการที่จำเลยให้การว่า ก่อนจะโอนขายที่นาพิพาท ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วโจทก์ไม่แสดงความจำนงว่าจะซื้อ และโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่านาตามกฎหมาย เป็นคำให้การตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
of 22