คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1357

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองโดยเจ้าของร่วมและการไม่ถือว่าถูกแย่งการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกันและได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7-8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์และการถือสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกัน และได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7 - 8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3 ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา ศาลตัดสินแบ่งมรดกตามส่วนได้
จำเลยกับ บ. ร่วมทำมาหาทรัพย์พิพาทมาได้ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยกับ บ. จึงมีส่วนในทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง เมื่อ บ. ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทส่วนที่เป็นของ บ. จึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็น มารดาและทายาทผู้เดียวของ บ. ผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนสมรสและหย่าภายหลัง
ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสกันในปี พ.ศ. 2518 และจดทะเบียนหย่ากันในปี พ.ศ. 2520 ขณะแต่งงานกันต่างฝ่ายต่างไม่มีทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินด้วยกันก่อนจดทะเบียนสมรสจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวม แม้ภายหลับผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสและหย่าขาดจากกันโดยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวเป็นอย่างอื่น ทรัพย์สินนั้นจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยอยู่ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยสัญญา และสิทธิของเจ้าของรวมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เมื่อโจทก์จำเลยตกลงแบ่งปันมรดกโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือว่ายินยอมรับมรดกร่วมกันโดยมิได้บรรยายส่วนไว้ จำเลยจะนำสืบว่าความจริงโจทก์จำเลยตกลงรับมรดกที่ดินเป็นส่วนสัดตามที่มารดาชี้เขตไว้หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94 ต้องฟังว่าโจทก์ และจำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 จำเลยทำนาเสียทั้งหมด ไม่ยอมให้โจทก์ทำตามส่วนของโจทก์ โจทก์เรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมสิทธิครอบครองและส่วนแบ่งที่ดิน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสัดส่วนการถือครอง แม้ไม่มีระบุในโฉนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 บัญญัติว่า "ท่านใหัสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน" นั้น ย่อมนำสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่า ฝ่ายใด้มีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใด หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนของจำเลยมา 10 ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากบิดาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2482 แล้วครอบครองตลอดมา ตามคำให้การนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นขึ้นอ้างแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินมาเกิน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินมรดกและการครอบครองปรปักษ์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสัดส่วนการถือครองและอายุความครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 บัญญัติว่า'ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน' นั้น ย่อมนำสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่า ฝ่ายใดมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใด หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนของจำเลยมา 10 ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากบิดาเมื่อวันที่25 มกราคม 2482 แล้วครอบครองตลอดมา ตามคำให้การนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นขึ้นอ้างแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินมาเกิน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน การสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่ง และผลของการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้อง
ที่ดินมีโฉนดมิได้ระบุว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์คนละเท่าใด กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ซึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน ต่อมาได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของเจ้าของรวมคนหนึ่งโดยระบุส่วนของเจ้าของรวมคนนั้นเกินไปก็หาทำให้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์ส่วนที่เกินไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: การแบ่งแยกสัดส่วนเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และการสันนิษฐานกรรมสิทธิ์เท่ากัน
ที่ดินมีโฉนดมิได้ระบุว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์คนละเท่าใดกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357ซึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันต่อมาได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน ของ เจ้าของรวม คนหนึ่งโดยระบุส่วนของเจ้าของรวมคนนั้น เกินไปก็หาทำให้ ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์ส่วนที่เกินไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่สร้างจากการรื้อถอนและปลูกสร้างใหม่โดยใช้เงินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา
มารดาผู้ร้องยกบ้านให้ผู้ร้องในขณะที่ผู้ร้องอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องรื้อบ้านนั้นและขนย้ายเอามาปลูกขึ้นใหม่เป็นบ้านพิพาท ทั้งนี้ได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าซื้อไม้ฝาและสีทาเพิ่มเติม กับค่าตะปูและค่ารื้อถอนขนย้าย รวมทั้งค่าแรงปลูกสร้างด้วย โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเงินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยา และเมื่อปลูกสร้างเสร็จผู้ร้องกับจำเลยก็อยู่ร่วมกันในบ้านพิพาทตลอดมาดังนี้ ถือว่าผู้ร้องและจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในบ้านนั้น โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำยึดบ้านพิพาทส่วนของจำเลยได้ผู้ร้องมีสิทธิเพียงร้องขอกันส่วนของผู้ร้องเท่านั้นหามีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทไม่
of 22