คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 162 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนมูลฟ้องได้ หากมีคำพิพากษายกฟ้องในประเด็นเดียวกันแล้ว
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องหรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอจะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่ โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 อย่างไร พิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้งแปดไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของการกระทำของจำเลยว่าไม่ได้กระทำผิดและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การตีความข้อความใส่ร้ายว่าทำให้เสียชื่อเสียงและเข้าข่ายความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกับพวกตาม ป.อ. มาตรา 326 , 328 , 332 และ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 , 48 โดยบรรยายข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่จำเลยที่ 1 ให้ข่าวในคำฟ้องว่า "? ซึ่งเป็นการทำซ้ำ
หลักฐานที่ชุดสอบสวนเดิมมอบให้ พล.ต.ต.ส. เท่ากับว่า พล.ต.ต.ส. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต?" คำว่า โดยทุจริตนั้นมีความหมายว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น แม้จะไม่มี รายละเอียดว่าทุจริตอย่างไรก็เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โด้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จ: ศาลมีดุลพินิจไม่ไต่สวนมูลฟ้องได้หากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนจากคำบอกเล่าที่ไม่ได้รับการยืนยัน
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยทราบสิ่งที่เบิกความในคดีเดิมจากคำบอกเล่าของ จ. ข้อความที่ จ.เล่าให้จำเลยฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยันดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดดังฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องมีคุณสมบัติชอบด้วยกฎหมาย การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..... .....ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การฟ้องไม่มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน. และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว. ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้.
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล. ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย. เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว. แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1).
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า. 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว. ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส'. นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้น.ถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด. เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง. ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ. ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้ง.จึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย. และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส.
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย. ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและแพ่ง: การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้องฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาลศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสียเช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัดเจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสการที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องคดีอาญาแทนบริษัทเมื่อกรรมการฉ้อโกง และหลักการฟ้องซ้ำในคดีอาญา
ในกรณีที่กรรมการบริษัทจำกัดฉ้อโกงบริษัท และบริษัทนั้นไม่ยอมดำเนินคดีกับกรรมการที่ฉ้อโกง ผู้ถือหุ้นย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีทางอาญาขอให้ลงโทษกรรมการผู้นั้นได้
เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่หาว่าจำเลยได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับเงินจำนวนใดแล้ว จะฟ้องจำเลยนี้ในจำนวนเงินเดียวกันนั้นอีก แม้จะอ้างความผิดคนละฐานกับคดีเดิมก็ตาม จะกระทำมิได้ เป็นฟ้องซ้ำเพราะสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปแล้ว
อุทธรณ์บางข้อที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไป ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การพยานสอบสวนไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้
คำให้การของพะยานชั้นเจ้าพนักงานสอบสวนนั้นโดยลำพังแล้ว จะฟังเป็นพะยานหลักฐานในชั้นศาลพิจารณาหรือในชั้นศาลไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้.
อ้างฎีกาที่ 775/2465
ที่ 688/2469