คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 175

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยคดีอาญา และสิทธิจำเลยในการซักค้านพยาน
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวน, การรับฟังพยาน, และการโต้แย้งพยานหลักฐานในคดีอาญา
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบคำวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน: พยานเอกสารในสำนวนการสอบสวนมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคลที่ขัดแย้งกันในชั้นศาล
คำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองนายพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลมีพิรุธขัดกับเหตุผลไม่น่าเชื่อถือ ต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้จากบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาจับกุมและบันทึกคำให้การของพยานโจทก์ในชั้นสอบสวนซึ่งกอปร ด้วยเหตุผลปราศจากพิรุธสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เจ้าพนักงานตำรวจพยานโจทก์ทำบันทึกแจ้งข้อหาจับกุมและให้การ ต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันกับวันเกิดเหตุ ย่อมไม่ทัน มีเวลาไตร่ตรองหรือได้รับการติดต่อให้บิดเบือนความจริง เพื่อช่วยเหลือผู้ใด และไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าพยาน ดังกล่าวจะให้การกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลย เชื่อได้ว่า ข้อเท็จจริงตามบันทึกแจ้งข้อหาจับกุมและคำให้การชั้นสอบสวน เป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความชั้นศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงซึ่งพยานหลักฐานทั้งปวงที่ศาลจะใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักนี้ย่อมได้แก่พยานวัตถุพยานบุคคล รวมทั้งพยานเอกสาร ที่โจทก์อ้างและ สืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิด ที่จำเลยอ้างและสืบเพื่อพิสูจน์ ว่าจำเลยบริสุทธิ์ รวมทั้งสำนวนการสอบสวนที่ศาลเรียกมา เพื่อประกอบการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ศาลมีอำนาจพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้
การที่ ส.พยานโจทก์เบิกความต่อศาลแตกต่างจากที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนนั้นในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในสำนวนว่าควรจะฟังได้เพียงใดหรือไม่มิใช่ว่าพยานเบิกความอย่างไรแล้ว จะต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานเสมอไป และไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเป็นข้อประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นก็สุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป
แม้ ส.มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการกระทำผิดดังที่ศาลได้พิพากษาลงโทษไปแล้วแต่ตามสำนวนการสอบสวนคดีนี้ปรากฏว่า ส. ให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยาน มิใช่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลย และศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนดังกล่าวเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้อยู่แล้วดังนั้น ที่ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน ของ ส. เป็นข้อประกอบการพิจารณาของศาล จึงไม่ขัดต่อกระบวนวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบการวินิจฉัยคดีอาญา
การที่ ส.พยานโจทก์เบิกความต่อศาลแตกต่างจากที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนนั้น ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดีศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในสำนวนว่าควรจะฟังได้เพียงใดหรือไม่ มิใช่ว่าพยานเบิกความอย่างไรแล้วจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานเสมอไป และไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเป็นข้อประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นก็สุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป
แม้ ส. มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการกระทำผิดดังที่ศาลได้พิพากษาลงโทษไปแล้ว แต่ตามสำนวนการสอบสวนคดีนี้ ปรากฏว่า ส.ให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยาน มิใช่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลย และศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนดังกล่าวเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. เป็นข้อประกอบการพิจารณาของศาล จึงไม่ขัดต่อกระบวนวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ตรวจสอบสำนวนสอบสวนอย่างถูกต้อง ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุการกระทำผิดได้
ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนการสอบสวนโดยมิได้เรียกสำนวนสอบสวนมาจากโจทก์ แล้วรวมสำนวนไว้เพื่อประกอบการพิจารณาและโจทก์ก็มิได้ส่งสำนวนการสอบสวนต่อศาลหรือขออ้างส่งสำนวนในฐานะเป็นพยานเอกสารศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงไม่อาจรู้ได้ว่าสาเหตุแห่งการกระทำผิดเป็นความจริงถูกต้องดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือไม่
ตามใบนำส่งผู้บาดเจ็บให้แพทย์ตรวจชันสูตรของพนักงานสอบสวนระบุว่าถูกคนร้ายใช้มีดแทง บาดแผลผู้เสียหายทั้งสองคนรวม 3 แผลลึกเพียงครึ่งเซนติเมตรทั้ง 3 แผล และรักษา 7 วันหาย จึงไม่ใช่บาดแผลร้ายแรงที่อาจทำให้ถึงตายได้ จึงไม่ควรลงโทษจำคุกจำเลยเต็มตามอัตราโทษจำคุกที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาโดยอาศัยสำนวนสอบสวนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายส่งผลต่อการวินิจฉัยสาเหตุแห่งการกระทำผิด
ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนการสอบสวนโดยมิได้เรียกสำนวนสอบสวนมาจากโจทก์ แล้วรวมสำนวนไว้เพื่อประกอบการพิจารณาและโจทก์ก็มิได้ส่งสำนวนการสอบสวนต่อศาลหรือขออ้างส่งสำนวนในฐานะเป็นพยานเอกสารศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงไม่อาจรู้ได้ว่าสาเหตุแห่งการกระทำผิดเป็นความจริงถูกต้องดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือไม่
ตามใบนำส่งผู้บาดเจ็บให้แพทย์ตรวจชันสูตรของพนักงานสอบสวนระบุว่าถูกคนร้ายใช้มีดแทง บาดแผลผู้เสียหายทั้งสองคนรวม 3 แผล ลึกเพียงครึ่งเซ็นติเมตรทั้ง 3 แผล และรักษา 7 วันหาย จึงไม่ใช่บาดแผลร้ายแรงที่อาจทำให้ถึงตายได้ จึงไม่ควรลงโทษจำคุกจำเลยเต็มตามอัตราโทษจำคุกที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกเอกสารพยานหลักฐาน และหน้าที่ของผู้ครอบครองเอกสารในการส่งมอบตามคำสั่งศาล แม้มีข้ออ้างเรื่องความลับ
สำนวนการสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในความครอบครองของพนักงานอัยการ เมื่อศาลมีคำสั่งเรียกมาเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีแพ่ง พนักงานอัยการจะไม่ยอมส่ง โดยอ้างว่าผู้ต้องหาหลบหนียังอยู่ในระหว่างหมายจับ ถ้าจับได้มา จะไม่มีสำนวนดำเนินคดีนั้น ไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่จะปฏิเสธคำสั่งของศาลได้ทั้งทางแก้ก็มีอยู่แล้วโดยการคัดสำเนาส่งศาลแทน
พนักงานอัยการเคยนำส่งสำนวนการสอบสวนมาศาลครั้งหนึ่งแล้วในวันพิจารณาและขอรับคืนไปเมื่อเสร็จการพิจารณาเฉพาะวัน ครั้นภายหลังศาลมีคำสั่งเรียกให้ส่งมาเพื่อใช้พิจารณาประกอบการพิพากษา พนักงานอัยการจะปฏิเสธไม่ยอมส่งโดยอ้างว่าเป็นความลับในราชการ ย่อมฟังไม่ขึ้น
การอนุญาตให้คู่ความอ้างเอกสารใดเป็นพยาน และจะมีคำสั่งเรียกมาหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ตามกฎหมายผู้ครอบครองเอกสารจะโต้แย้งว่า ศาลไม่ควรอนุญาตหรือ ไม่ควรเรียกมาหาได้ไม่
คำสั่งของศาลที่เรียกเอกสารจากผู้ครอบครอง กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ศาลจะมีคำสั่งในรูปหนังสือราชการก็อาจทำได้
การหมายเรียกบุคคลที่ปฏิเสธไม่ยอมส่งเอกสารมาศาลเพื่อให้ชี้แจงเหตุผลนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งยืนยันให้ส่งเอกสารก็แสดงอยู่ในตัวว่าการปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกเอกสารพยาน และหน้าที่ของผู้ครอบครองเอกสารตามกฎหมาย
สำนวนการสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในความครอบครองของพนักงานอัยการ เมื่อศาลมีคำสั่งเรียกมาเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีแพ่ง พนักงานอัยการจะไม่ยอมส่งโดยอ้างว่าผู้ต้องหาหลบหนียังอยู่ในระหว่างหมายจับ ถ้าจับได้มาจะไม่มีสำนวนดำเนินคดีนั้นไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่จะปฏิเสธคำสั่งของศาลได้ทั้งทางแก้ก็มีอยู่แล้วโดยการคัดสำเนาส่งศาลแทน
พนักงานอัยการเคยนำส่งสำนวนการสอบสวนมาศาลครั้งหนึ่งแล้วในวันพิจารณาและขอรับคืนไปเมื่อเสร็จการพิจารณาเฉพาะวัน ครั้นภายหลังศาลมีคำสั่งเรียกให้ส่งมาเพื่อใช้พิจารณาประกอบการพิพากษา พนักงานอัยการจะปฏิเสธไม่ยอมส่งโดยอ้างว่าเป็นความลับในราชการ ย่อมฟังไม่ขึ้น
การอนุญาตให้คู่ความอ้างเอกสารใดเป็นพยาน และจะมีคำสั่งเรียกมาหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ตามกฎหมายผู้ครอบครองเอกสารจะโต้แย้งว่าศาลไม่ควรอนุญาตหรือไม่ควรเรียกมาหาได้ไม่
คำสั่งของศาลที่เรียกเอกสารจากผู้ครอบครองกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ศาลจะมีคำสั่งในรูปหนังสือราชการก็อาจทำได้
การหมายเรียกบุคคลที่ปฏิเสธไม่ยอมส่งเอกสารมาศาลเพื่อให้ชี้แจงเหตุผลนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งยืนยันให้ส่งเอกสารก็แสดงอยู่ในตัวว่าการปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกเอกสารพยานหลักฐาน และหน้าที่ของผู้ครอบครองเอกสารในการส่งตามคำสั่งศาล
สำนวนการสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในความครอบครองของพนักงานอัยการ. เมื่อศาลมีคำสั่งเรียกมาเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีแพ่ง. พนักงานอัยการจะไม่ยอมส่ง.โดยอ้างว่าผู้ต้องหาหลบหนียังอยู่ในระหว่างหมายจับ ถ้าจับได้มา.จะไม่มีสำนวนดำเนินคดีนั้น.ไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่จะปฏิเสธคำสั่งของศาลได้.ทั้งทางแก้ก็มีอยู่แล้วโดยการคัดสำเนาส่งศาลแทน.
พนักงานอัยการเคยนำส่งสำนวนการสอบสวนมาศาลครั้งหนึ่งแล้วในวันพิจารณาและขอรับคืนไปเมื่อเสร็จการพิจารณาเฉพาะวัน. ครั้นภายหลังศาลมีคำสั่งเรียกให้ส่งมาเพื่อใช้พิจารณาประกอบการพิพากษา. พนักงานอัยการจะปฏิเสธไม่ยอมส่งโดยอ้างว่าเป็นความลับในราชการ. ย่อมฟังไม่ขึ้น.
การอนุญาตให้คู่ความอ้างเอกสารใดเป็นพยาน และจะมีคำสั่งเรียกมาหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ตามกฎหมาย.ผู้ครอบครองเอกสารจะโต้แย้งว่า.ศาลไม่ควรอนุญาตหรือ.ไม่ควรเรียกมาหาได้ไม่.
คำสั่งของศาลที่เรียกเอกสารจากผู้ครอบครอง.กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้. ศาลจะมีคำสั่งในรูปหนังสือราชการก็อาจทำได้.
การหมายเรียกบุคคลที่ปฏิเสธไม่ยอมส่งเอกสารมาศาลเพื่อให้ชี้แจงเหตุผลนั้น.เมื่อศาลมีคำสั่งยืนยันให้ส่งเอกสารก็แสดงอยู่ในตัวว่าการปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้.
of 3