คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 573

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยพยานบุคคลขัดต่อข้อตกลงในสัญญา และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาและการรับผิดในหนี้เช่าซื้อเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่าย
หนังสือสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉยไม่นำเงินที่ค้างชำระทั้งหมดมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อนี้เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น แม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อไว้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างชำระมาชำระ ทั้งยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญาเพราะสัญญาข้อ 7 ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยดังจำเลยอ้างไม่ เพราะหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญา ย่อมทำได้โดยง่ายด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อจำเลยยังคงครอบครองรถขุดที่เช่าซื้ออยู่ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนที่โจทก์จะยึดรถกลับคืนมา อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน
เมื่อเช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายตามมูลหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญา, การปฏิเสธการจ่ายเช็ค, และหน้าที่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉย ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ปรากฏว่าแม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระ ยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา สัญญาข้อนี้จึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยไม่ เพราะจำเลยผู้เช่าซื้อสามารถเลิกสัญญาได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนที่ดินแก่โจทก์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็คพิพาทในมูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประนีประนอมยอมความ: สิทธิหน้าที่จะยังคงมีผลบังคับใช้ แม้มีการทำสัญญาใหม่
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อเมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน แต่เมื่อห้างผู้เช่าซื้อ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด จนโจทก์มอบให้ทนายความ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้างผู้เช่าซื้อแล้ว กลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ ต่อไป แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้มีข้อความใด กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ไม่ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้น ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ ต่อมาอีกด้วย เห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมโอน กรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ห้างผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ การที่โจทก์ยอมให้ ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้างผู้เช่าซื้อเมื่อจำเลย ผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิม ยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญา เช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมดคงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอม ยอมความดังกล่าวจึงมิได้ทำให้สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ระงับไปและไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ประกอบมาตรา 852 คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้างผู้เช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้อง เอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใดจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ สมควรให้โอกาสแก่โจทก์ไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิสัญญาเช่าซื้อเดิม ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ ต่อมาห้าง ภ. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้าง ภ. แล้ว ต่อมากลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้นห้าง ภ. และจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบแล้ว โจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์นั้นให้แก่ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้ห้าง ภ. และจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้าง ภ. เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมด คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบกับ มาตรา 852 อันจะทำให้สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไป แต่คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ ส่วนสิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใด เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อรถยนต์ การบอกเลิกสัญญา การชดใช้ค่าขาดประโยชน์ และผลของการเลิกสัญญโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่งระบุว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วันมิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวทรัพย์สิน vs. คุณสมบัติทรัพย์สิน และผลต่อโมฆียะของสัญญาเช่าซื้อ
รถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถยนต์เก่า แต่มีสภาพพอใช้ได้ และจำเลยได้ตรวจดูสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้วและจำเลยได้รับมอบรถยนต์คันดังกล่าวซึ่งเป็นคันเดียวกันกับที่ได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ กรณีจึงมิใช่เป็นการสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะส่วนการที่จำเลยมาตรวจสอบภายหลังพบว่า หมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์มีการปลอมแปลง ไม่ตรงกับหมายเลขทะเบียนตามใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์คันที่เช่าซื้อเป็นเพียงความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญอันทำให้นิติกรรมการเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 157เมื่อจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยผู้เช่าซื้อจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ตกเป็นโมฆะจากหมายเลขตัวถัง/เครื่องยนต์ปลอมแปลง แต่เป็นโมฆียะ หากไม่ได้บอกล้าง
รถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถยนต์เก่าแต่มีสภาพพอใช้ได้ และจำเลยได้ตรวจดูสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้วและจำเลยได้รับมอบรถยนต์คันดังกล่าวซึ่งเป็นคันเดียวกันกับที่ได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ กรณีจึงมิใช่เป็นการสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะส่วนการที่จำเลยมาตรวจสอบภายหลังพบว่า หมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์มีการปลอมแปลง ไม่ตรงกับหมายเลขทะเบียนตามใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์คันที่เช่าซื้อเป็นเพียงความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญอันทำให้นิติกรรมการเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 157เมื่อจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยผู้เช่าซื้อจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
of 7