พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อคดีหนึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจเฝ้าดักจับจำเลยทั้งสองได้ขณะจำเลยทั้งสองขับรถถึงด่านเก็บเงินที่เกิดเหตุ และนำไปตรวจค้นพบเฮโรอีน 14 ถุง ต่อมาจึงนำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักและพบเฮโรอีนอีกส่วนหนึ่ง แต่มีการสอบสวนโดยแยกสำนวนจากกันเนื่องจากเป็นความผิดคนละกรรมและที่เกิดเหตุอยู่คนละท้องที่ กรณีความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองสำนวนจึงเกี่ยวพันที่อาจถูกฟ้องคดีเดียวกันและอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อคดีหนึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คดีนี้ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ การตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มี ความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภท ทั้งสองคดีไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1372/2546 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7932/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายกระทงเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตและข้อจำกัดโทษจำคุกรวม
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) หมายถึงกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต โดยคำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต"นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 1 ได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิตแต่เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 หนึ่งในสามแล้ว คงเหลือจำคุก 33 ปี4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษในความผิดอีกฐานหนึ่งมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ได้ เพราะรวมโทษทุกกระทำความผิดแล้วก็ไม่เกิน 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและการรวมโทษกระทงอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลย 2 กระทง กระทงแรกจำคุกตลอดชีวิต กระทงที่สองจำคุก 1 ปี เมื่อความผิดกระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว จึงไม่จำต้องนำโทษกระทงอื่นมาลงอีก แต่ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) บัญญัติตอนท้ายไว้ความว่า เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งหมายความว่า หากกระทงหนึ่งกระทงใดมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ศาลลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น ความผิดกระทงแรกศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อลดโทษให้จำเลยแล้ว คงลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดกระทงที่สองมารวมอีกได้ ซึ่งเมื่อรวมกับโทษกระทงที่สองหลังจากลดโทษให้จำเลยจำคุก 8 เดือน รวมเป็นโทษจำคุก 33 ปี 12 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753-758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธ, การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และกรรโชกทรัพย์
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490มาตรา5(1)(ก)ได้บัญญัติยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการเมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นของกรมตำรวจและจำเลยที่1เบิกมาใช้ในราชการโดยชอบจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแม้จะได้ความว่าจำเลยที่1เบิกอาวุธปืนของกลางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน2532และมิได้ส่งคืนเพื่อตรวจสอบในกำหนด1เดือนก็ตามก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในของกรมตำรวจหาทำให้การกระทำที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดขึ้นไม่ จำเลยที่1รับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก5กองกำกับการ2กองปราบปรามกรมตำรวจที่กรุงเทพมหานครจำเลยที่1ได้ยื่นใบลาขอหยุดพักผ่อนประจำปีตั้งแต่วันที่22ถึงวันที่29กันยายน2532และได้เดินทางไปที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสต่อมาถูกจับและยึดอาวุธปืนของกลางได้ในวันที่3ตุลาคม2532ที่ห้องพักโรงแรมพลาซ่า อำเภอสุไหงโก-ลก และจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรทั้งการพาอาวุธปืนของกลางดังกล่าวไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะนั้นจำเลยที่1มิได้อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการเนื่องจากจำเลยที่1มิได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในท้องที่ดังกล่าวจำเลยที่1จึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย จำเลยที่1กับพวกอีกหนึ่งคนมาที่บ้านผู้เสียหายแนะนำตัวว่าชื่อร้อยตำรวจโทอ. มาจากกองปราบปรามมาทำงานโดยขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและถามผู้เสียหายว่าจะให้เท่าใดผู้เสียหายเป็นนักการพนันเข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมาขอเงินกลับจะถูกจับกุมเพราะในบ้านของผู้เสียหายมีการลักลอบเล่นการพนันเป็นประจำจึงบอกว่าจะให้10,000บาทจำเลยที่1ขอ15,000บาทผู้เสียหายจึงให้เงินจำนวนดังกล่าวจากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่1มิได้แกล้งกล่าวหาผู้เสียหายในข้อหาใดทั้งจำเลยที่1มิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแต่ประการใดจำเลยที่1เพียงแต่พูดขอเงินค่าใช้จ่ายเป็นส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้จำเลยที่1มิได้กระทำการอันใดอันเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงินจำเลยที่1ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากส. และอ. ผู้เสียหายแต่ละรายหากไม่ยอมให้เงินจะจับกุมจนผู้เสียหายทั้งสองรายกลัวจึงยอมให้เงินแก่จำเลยที่1แม้ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้ามือสลากกินรวบซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของผู้เสียหายทั้งสองรายนี้ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายหลายรายในเวลาไล่เลี่ยกันแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดข่มขืนใจและจูงใจให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายเพื่อเรียกร้องเอาเงินเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองรายหากไม่ยอมให้จะจับกุมจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ. ผู้เสียหายโดยกล่าวในทำนองว่าถ้าไม่ให้เงินจะทำการจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีพ.ตกลงให้เงินแก่จำเลยที่1เพราะพ.เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการคุมผู้หญิงที่ประกอบอาชีพค้าประเวณีในเขตอำเภอสุไหงโก-ลกและพ. ตกลงให้เงินเพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในพวกสมาชิกหญิงที่มีอาชีพรับจ้างค้าประเวณีดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ.ผู้เสียหายหากไม่ยอมให้จะจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายโดยพฤติการณ์ตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วจำเลยที่1มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดข่มขืนใจให้พ.ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมหญิงค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายทั้งที่ไม่ปรากฏว่าขณะข่มขู่ดังกล่าวมีการค้าประเวณีกันจริงกรณีจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาขึ้นเพื่อจะเรียกเอาเงินเท่านั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 ความผิดกระทงที่หนักที่สุดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่1นั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน10ปีขึ้นไปกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)ซึ่งเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินกำหนด50ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน: ต้องแสดงความเกี่ยวพันที่อาจฟ้องรวมกันได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคดีหนึ่งนั้นมิได้แสดงว่าคดีทั้งสองเกี่ยวกับพันกันอย่างไรและโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันได้หรือไม่หรือหากโจทก์ฟ้องแยกกันมาศาลอาจมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาทั้งยังปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้อื่นส่วนคดีที่จำเลยขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับคดีดังกล่าวนั้นจำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยเหตุเกิดต่างกันด้วยจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจรวมการพิจารณาพิพากษาได้หากจะให้รวมการนับโทษตามคำร้องของจำเลยก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก50ปีถ้ากระทำความผิดอื่นอีกก็ไม่ต้องรับโทษซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญา: คดีไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจรวมโทษได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคดีหนึ่งนั้นมิได้แสดงว่าคดีทั้งสองเกี่ยวพันกันอย่างไร และโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันได้หรือไม่ หรือหากโจทก์ฟ้องแยกกันมาศาลอาจมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษา ทั้งยังปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่จำเลยขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับคดีดังกล่าวนั้น จำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ โดยเหตุเกิดต่างวันกันด้วย จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจรวมการพิจารณาพิพากษาได้ หากจะให้รวมการนับโทษตามคำร้องของจำเลยก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 50 ปีถ้ากระทำความผิดอื่นอีกก็ไม่ต้องรับโทษ ซีงมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายคดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ใช้ได้เฉพาะคดีเกี่ยวพันหรือไม่รวมการพิจารณาเท่านั้น
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีนี้และคดีอื่นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกันนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกันเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา: ต้องเป็นคดีเกี่ยวพันหรือรวมพิจารณาเท่านั้น
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตามป.อ. มาตรา 91 (3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีนี้และคดีอื่นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกันนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกันเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรวมโทษจำคุกหลายกระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และการลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91(3) หมายความว่ากรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า"เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วเมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้สำหรับความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 2 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แต่เมื่อมีการลดโทษให้จำเลยที่ 2 แล้วคงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เพียง 40 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2เป็นจำคุกทั้งสิ้น 41 ปี 7 เดือน 6 วัน ได้.