คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 91 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุแต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่1ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่2และที่3ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่1ประชุมวางแผนลงมือฆ่าปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่1ไปซ่อนแล้วจำเลยที่1ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตีและจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพทั้งจำเลยที่1ที่2ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตายแสดงถึงความสำนึกผิดและจำเลยที่1ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ส่วนจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนีกับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่3ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การและจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ. ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วยนอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น.ร.กับ อ. ยืนยันว่าจำเลยที่2ที่3เป็นผู้ขอให้ น. นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่2ที่3พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่1วานให้จำเลยที่2ที่3ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่ 1 ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ประชุมวางแผน ลงมือฆ่า ปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่ 1 ไปซ่อน แล้วจำเลยที่ 1 ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตี และจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตาย แสดงถึงความสำนึกผิด และจำเลยที่ 1 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ ส่วนจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนี กับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่ 3 ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การ และจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ.ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วย นอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ร. กับ อ.ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ขอให้ น.นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 วานให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีระหว่างการคุมขัง: ห้ามรวมโทษกับคดีอื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องเจตนารมณ์กฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ในระหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาลเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจฟ้องคดีนี้รวมกับคดีอื่น และไม่อาจรวมพิจารณาคดีนี้กับคดีอื่นเข้าด้วยกันได้ ต้องนับโทษของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอื่น ๆ ทุกคดี หากนับโทษคดีนี้รวมกับคดีอื่น ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 50 ปี ถ้ากระทำความผิดอีกในระหว่างที่ต้องโทษอยู่ย่อมไม่ต้องรับโทษเลย ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย สำหรับคดีอื่น ๆ คดีใด จำเลยจะขอปรับโทษใหม่ได้หรือไม่จำเลยชอบที่จะไปร้องขอในคดีนั้น ๆ เอง จะร้องขอเข้ามาในคดีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาซ้ำซ้อนและการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 รวม 5 กระทง จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพเมื่อสืบพยานไปบ้างแล้วลดโทษให้ 1 ใน 3 คงลงโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 8เดือน ฐานพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก4 เดือน ฐานใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนและเสียภาษี ปรับ 1,200 บาทฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งประโยชน์อันเกิดจากการที่ตนทำผิดอย่างอื่น จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำคุก 33 ปี 4 เดือนรวมแล้วคงจำคุก67 ปี 8 เดือน กับปรับ 1,200 บาท แต่โทษจำคุกคงให้จำคุกเพียง50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91(3) นั้น ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วกรณีไม่ใช่นับโทษและลดโทษโดยการนำโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1ที่ศาลลงโทษไว้สองกระทงรวมกันแล้วเปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50ปี ลดโทษลง 1 ใน 3 คงเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน แล้วรวมโทษจำคุกกระทงอื่นเข้าด้วยอีกคงเป็นโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 34 ปี4 เดือนนั้นไม่ตรงตาม ป.อ. มาตรา 91(3).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832-1833/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายอาญา (มาตรา 91) ที่เป็นคุณต่อจำเลย และการกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายที่แก้ไข
ระหว่างที่จำเลยกำลังรับโทษในคดีซึ่งถึงที่สุดแล้วได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่6) พ.ศ. 2526ออกใช้บังคับแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งหว่ามาตรา 91 เดิมอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1)
กระทงหนักที่สุดของจำเลยทั้งสองคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 และ 289 ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิตกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่และจำเลยทั้งสองถูกลงโทษมีกำหนดคนละ 100 ปี แม้จะเปลี่ยนโทษมาจากโทษจำคุกตลอดชีวิต 2 กระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมก็ไม่ถือว่าศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตต่อไปแล้ว จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับการกำหนดโทษเสียใหม่ตามมาตรา 91(3)ที่แก้ไขแล้ว โดยศาลต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองให้ใหม่เป็นจำคุกไม่เกินคนละ 50ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกรวมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และอำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 แก้ไขมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องรวมโทษทุกกระทง ซึ่งตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติไว้ว่า สำหรับความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ขึ้นไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี และโดยที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 คือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ซึ่งมีอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประหารชีวิต กรณีจึงต้องด้วยมาตรา91(3) เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ไม่เกิน 50 ปี ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้
of 4