พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงวันที่ในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับและมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้มีการโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโฆษณาคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวัน การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาตอนนี้เพิ่งพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในมาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2533 จึงยังไม่เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การโฆษณาซ้ำโดยความผิดพลาดของโรงพิมพ์ไม่ถือเป็นวันเริ่มต้น
การโฆษณาประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์ซึ่งมิใช่เป็นการโฆษณาตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการและด้วยความบกพร่องของโรงพิมพ์เองนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการโฆษณาประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับความสำคัญการชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสนอคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์และธนาคารส่งเงินของจำเลยมาให้ตามหมายอายัดของศาลแล้ว ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายซึ่งผู้คัดค้านเป็นโจทก์ ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่ง จะขอรับเงินดังกล่าวส่วนที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ผู้ร้องได้แต่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการและกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27 และ 28 เท่านั้น และผู้คัดค้านจะขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้ไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายก็ไม่ได้ เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวม และรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้เกิดเมื่อรับเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ตกลงให้สินเชื่อก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
มูลหนี้แต่ละรายเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้รับเงินไปแล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินและทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หาได้เกิดตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ตกลงจะให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ไม่ แม้จะยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ในราชกิจจานุเบกษา และเจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้เกิดขึ้นเมื่อรับเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
มูลหนี้แต่ละรายเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้รับเงินไปแล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินและทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หาได้เกิดตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ตกลงจะให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ไม่
แม้จะยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ในราชกิจจานุเบกษา และเจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
แม้จะยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ในราชกิจจานุเบกษา และเจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขอรับชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาของลูกหนี้แม้ไม่โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการงดสอบพยาน
แม้ลูกหนี้จะมิได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของผู้ขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
(วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งอนุญาตรับชำระหนี้ แม้มิได้โต้แย้ง & ดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ลูกหนี้จะมิได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของผู้ขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อบุคคลภายนอก: หลักสันนิษฐาน & การพิสูจน์ความสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน วันใดถึงหลังสุด
กำหนดเวลาสองเดือนที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 นั้น นับตั้งแต่วันที่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือวันที่ได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน แล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุด เพราะกฎหมายให้โฆษณาทั้งสองอย่าง จะนับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ในประกาศมิได้.