พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแสดงแบบและลิขสิทธิ์: การผลิตผลงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ผิดสัญญาหากไม่ได้ห้ามไว้ชัดเจน
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของผู้ร้องสอดที่เป็นบุตรเจ้ามรดก และผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ ส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความจึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (2) ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดอำนาจศาล: โจทก์ยื่นคำร้องเสียดสีศาล แม้ทนายไม่ได้ตรวจ ก็ต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์คำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาลย่อมตระหนักในข้อความตามคำร้องเป็นอย่างดี จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในคำร้อง การที่ทนายความของโจทก์ไม่ได้ตรวจคำร้องก่อนที่โจทก์จะนำมายื่นต่อศาลไม่เป็นเหตุที่ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องผิดพลาดและผิดหลง การที่โจทก์ขอถอนคำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาล หาทำให้ข้อความตามคำร้องที่เป็นการละเมิดอำนาจศาลหมดไปโดยการถอนคำร้องไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) ไม่ได้บัญญัติว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเตือนแล้วจึงจะถือว่ามีเจตนาละเมิดอำนาจศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดอำนาจศาล: ผู้เรียงคำร้องต้องรับผิดชอบเนื้อหา แม้ทนายไม่ได้ตรวจ และการถอนคำร้องไม่ลบล้างความผิด
โจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์คำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาลย่อมตระหนักในข้อความตามคำร้องเป็นอย่างดี จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในคำร้อง การที่ทนายความของโจทก์ไม่ได้ตรวจคำร้องก่อนที่โจทก์จะนำมายื่นต่อศาลไม่เป็นเหตุที่ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องผิดพลาดและผิดหลง
การที่โจทก์ขอถอนคำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาล หาทำให้ข้อความตามคำร้องที่เป็นการละเมิดอำนาจศาลหมดไปโดยการถอนคำร้องไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) ไม่ได้บัญญัติว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเตือนแล้วจึงจะถือว่ามีเจตนาละเมิดอำนาจศาล
การที่โจทก์ขอถอนคำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาล หาทำให้ข้อความตามคำร้องที่เป็นการละเมิดอำนาจศาลหมดไปโดยการถอนคำร้องไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) ไม่ได้บัญญัติว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเตือนแล้วจึงจะถือว่ามีเจตนาละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์และการร้องต่อศาลอุทธรณ์เมื่อไม่พอใจคำสั่ง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นทำแทน ฉะนั้นเมื่อคู่ความไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฐานะดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือรอจนกว่าศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์แล้วไปร้องต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พอใจในคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นก็ชอบที่จะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจศาลอุทธรณ์.(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่1184/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ และการร้องต่อศาลอุทธรณ์เมื่อไม่พอใจคำสั่ง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นทำแทน ฉะนั้นเมื่อคู่ความไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฐานะดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือรอจนกว่าศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์แล้วไปร้องต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พอใจในคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นก็ชอบที่จะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจศาลอุทธรณ์.(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่1184/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อผู้เช่าตาย เว้นแต่มีผู้ขอเช่ารายใหม่ตามกฎหมาย การต่อสู้ของจำเลยไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักฐาน
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นตามธรรมดาย่อมระงับเมื่อผู้เช่าตาย เว้นแต่กรณีจะเข้ามาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2489
คำแถลงต่อศาลของบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีฐานะในคดี ศาลจะรับฟังเป็นข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาหาได้ไม่
คำแถลงต่อศาลของบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีฐานะในคดี ศาลจะรับฟังเป็นข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ขัดกฎหมาย
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียก็ได้.
ปลัดอำเภอไปตรวจราชการ+ของปลัดอำเภอหายไป+ได้ที่จำเลย ปลัดอำเภอ+การสอบสวนจำเลยแล้วส่วอัยยการฟ้องศาลดังนี้+ได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และสอบ-สวนตาม ก.ม.แล้ว.
ปลัดอำเภอไปตรวจราชการ+ของปลัดอำเภอหายไป+ได้ที่จำเลย ปลัดอำเภอ+การสอบสวนจำเลยแล้วส่วอัยยการฟ้องศาลดังนี้+ได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และสอบ-สวนตาม ก.ม.แล้ว.