คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 223

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและค่าสินไหมทดแทนในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การยื่นฎีกาในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคสอง และมาตรา 223 บัญญัติให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ศาลชั้นต้น จึงมีอำนาจตรวจฎีกา และเมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปในคำฟ้องฎีกาเสียทีเดียวได้ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14756/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาตามกฎหมายยาเสพติด
การพิจารณาว่าจะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยนั้นเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 223 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งฎีกาของจำเลยให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยไปเลย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง คดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะยื่นฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้รับฎีกาไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาขัดกับเจตนาจำเลย ศาลต้องสอบถามก่อนอนุญาต การไม่สอบถามทำให้คดีถึงที่สุด
แม้ ป. ทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แต่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ก่อนที่ทนายความของจำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 26 เมษายน 2549 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาและขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ด้วย หลังจากนั้นทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 อีกสองฉบับ และยื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับความประสงค์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความตามที่ระบุไว้ในคำร้องของจำเลยที่ 2 ฉบับดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายความของจำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 โดยไม่สอบถามจำเลยที่ 2 ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ฎีกาและวันที่ครบกำหนดฎีกาวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 เป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด การตรวจค้นโดยไม่แจ้ง และการใช้กฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลัง
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสามในบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งสามารถล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้ดำเนินการขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ ก็หาเป็นข้อพิรุธของพยานโจทก์ในการตรวจค้นจับกุมไม่ เพราะเป็นกรณีกระทำความผิดซึ่งหน้าที่กำลังกระทำลงในที่รโหฐานจึงตรวจค้นได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ
แม้คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจำเลยทั้งสามกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีนี้ มีองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม มาใช้บังคับแก่คดีนี้ และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่คดีนี้เช่นเดียวกัน ส่วนในมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทระวางโทษของความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำหรับเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 กรัม แม้จะปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้มีจำนวน 46 เม็ด และมีน้ำหนักสุทธิเกินกว่า 1.5 กรัม ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดกันแน่ จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ได้ แต่ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอันต้องด้วยบทระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่อยู่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวในส่วนที่เป็นคุณมาบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงต้องแก้ไขโดยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง และเห็นสมควรแก้ไขกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาด้วย และเนื่องจากจำเลยทั้งสามเป็นตัวการกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยกัน ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซึ่งหน้าและการตรวจค้น: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับจำเลยได้แอบซุ่มดูอยู่ที่หน้าบ้านจำเลยห่างประมาณ 30 เมตร ชุดหนึ่ง และ 20 เมตรอีกชุดหนึ่ง เห็นสายลับมอบธนบัตรให้จำเลย แล้วจำเลยไปนำสิ่งของที่ซุกซ่อนมามอบให้สายลับซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด การที่เจ้าพนักงานตำรวจเห็นการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการเห็นจำเลยกำลังกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดซึ่งหน้า
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจตรวจค้นบ้านจำเลยเพราะมิได้เป็นความผิดซึ่งหน้า และการตรวจค้นของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ชอบเพราะเข้าตรวจค้นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ยังเป็นเวลากลางคืน ทั้ง ๆ ที่บันทึกการตรวจค้นจับกุมระบุเวลาตรวจค้น 6.20 นาฬิกา และไม่มีพยานหลักฐานใดของโจทก์ระบุว่าได้ทำการตรวจค้นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะโจทก์/โจทก์ร่วม การฎีกาขอลงโทษจำเลยโดยผู้ไม่เกี่ยวข้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีชุลมุนต่อสู้และการฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ตาม ป.อ.มาตรา 299 ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นในการขยายเวลาฎีกาและการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการรับฎีกา
คดีอาญา การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 223 ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคแรก มิใช่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการพิจารณาคำสั่งศาลชั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับฎีกา
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาที่อาจยื่นฎีกาได้แล้วนั้นเป็นเรื่องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 และไม่ว่าโจทก์จะยื่นฎีกามาด้วยหรือไม่ก็ตามก็ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาไปถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้องฎีกานั้นด้วย เพราะยังมิใช่ขั้นตอนจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีเช่นนี้จึงมิใช่คำสั่งในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จะรับหรือไม่รับฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 223 โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193วรรคแรก มิใช่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 วรรคแรกที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้นไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์หรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่ โจทก์มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษานั้นให้โจทก์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคแรก ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดไว้แล้ว หากโจทก์ประสงค์จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมฎีกาของโจทก์นอกเหนือจากที่ฎีกาไว้เดิม โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอภายในกำหนดระยะเวลาที่ให้ยื่นฎีกา จะมายื่นฎีกาใหม่หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับขอขยายระยะเวลาฎีกาภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายสิ้นไปแล้วโดยไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือมีเหตุสุดวิสัยอย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ใช่คำสั่งไม่รับฎีกา จึงชอบอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 223 ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 193
of 4