คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภานุวัฒน์ ศุภะพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการชิงทรัพย์: ความผิดฐานตัวการร่วม vs. ผู้สนับสนุน และการใช้รถยนต์ในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถยนต์ไปส่งและรอรับจำเลยที่ 1 อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการชิงทรัพย์ มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดที่รวมการกระทำหลายอย่าง แม้ฟ้องเฉพาะความผิดฐานพยายามฆ่า และแก้ไขค่าเสียหายทางแพ่งตามผลคดีอาญา
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 กับพวกในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจด้วย ถือได้ว่าการกระทำความผิดตามฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการจัดสรรของรัฐ การครอบครองปรปักษ์ และการชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินป่าผืนใหญ่จอมทองที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 14 อนุมัติให้หน่วยงานราชการนำมาจัดให้แก่ประชาชนได้อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ เมื่อเป็นการจัดที่ดินโดยรัฐ การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทจึงต้องพิจารณาจาก ป.ที่ดิน และระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2498 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 20 (6), 27 และ 33 เป็นสำคัญ ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ข้อ 3 ได้กำหนดลักษณะของที่ดินที่จะนำมาจัดให้แก่ประชาชนไว้ และที่ดินที่จะนำมาจัดสรรตามระเบียบฉบับนี้ก็คือที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่บุคคลอาจจะได้มาตามกฎหมายที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 นั้นเอง ส่วนผู้ที่จะเข้าอยู่อาศัยหรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพในที่ดินที่รัฐจัดให้นั้น ต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีคุณสมบัติและอยู่ในลักษณะข้อกำหนดโดยครบถ้วนตามข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ตามระเบียบข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 21 ตามระเบียบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ป.ที่ดิน ในหมวดว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนมีเจตนารมณ์ที่จะให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีอยู่แล้วแต่มีจำนวนน้อยไม่พอเลี้ยงชีพได้มีที่ดินไว้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาตินำที่ดินซึ่งเป็นของรัฐไปจัดสรรให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว โจทก์ซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทให้เป็นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพและได้รับใบจองเลขที่ 1557 จากทางราชการแล้วจึงมีสิทธิตามใบจองในอันที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตาม ป.ที่ดิน โดยชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อทางราชการยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่ารัฐได้มอบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของรัฐ ดังนั้น จำเลยจึงหาอาจอ้างเรื่องการแย่งการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่ อีกทั้งจะยกเรื่องระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้มีสิทธิตามใบจองไม่ได้เช่นกัน ส่วนที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ต่อมามีกลุ่มคนบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทและขู่ฆ่า โจทก์และชาวบ้านรายอื่น ๆ อีกหลายร้อยรายที่ถูกบุกรุกที่ดินได้รวมตัวกันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ และคดีถึงที่สุดโดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาท ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นทำให้โจทก์ไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 ปี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อ 17 โจทก์จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิตามใบจองเลขที่ 1557 อยู่ จำเลยไม่อาจยกการครอบครองตาม ป.พ.พ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งได้สิทธิมาโดยชอบตาม ป.ที่ดิน ได้ เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 โดยเห็นว่าการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 เป็นการออกโดยอาศัยแบบแจ้งการครอบครองที่ดินที่ทำปลอมขึ้น จำเลยก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 อีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีเช็ค: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องโดยไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวจำเลยได้ หากโจทก์เข้าใจผิดในตัวบุคคลตั้งแต่แรก
การที่โจทก์ยื่นฟ้องโดยระบุชื่อบุคคลที่เป็นจำเลยว่า ก. หรือ จ. ซึ่ง จ. เป็นชื่อจำเลย กับระบุอายุ ที่อยู่เลขบัตรประจำตัวประชาชนของ ก. แต่เพียงผู้เดียวมาในฟ้อง ทั้งยังขอให้มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องแก่ ก. แต่เพียงผู้เดียวด้วยเป็นเพราะโจทก์เข้าใจว่า ก. และจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นจำเลยเป็น จ. หลังจากโจทก์ทราบว่า ก. และจำเลยเป็นคนละคนกัน จึงไม่เป็นการขอแก้ฟ้องโดยเปลี่ยนตัวบุคคลที่เป็นจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องในส่วนนี้จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการยินยอมโดยสุจริตของบุคคลภายนอก ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการซื้อที่ดินพิพาท โดยโจทก์ไม่เคยไปดูที่ดินพิพาท และหลังจากซื้อที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท กับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทไว้ แสดงให้เห็นว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและรับจดทะเบียนจำนอง แสดงว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ถูกต้อง ทั้งโจทก์ยังเป็นมารดาจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ แม้หนังสือมอบอำนาจจะเป็นเอกสารปลอม แต่การที่โจทก์มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เก็บรักษาไว้ และจำเลยที่ 1 ยังมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ไว้ประกอบหนังสือมอบอำนาจ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสที่จะนำโฉนดที่ดินไปทำนิติกรรมใด ๆ นอกเหนือวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์ต้องรับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นบ้านโดยไม่ได้รับความยินยอม แต่จำเลยยินยอมและลงลายมือชื่อในบันทึกตรวจค้น ย่อมเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้การค้นบ้านที่เกิดเหตุเป็นการค้นโดยไม่มีหมายค้น และร้อยตำรวจโท ถ. ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ได้ไปปรากฏตัวที่บ้านที่เกิดเหตุเพื่อแจ้งชื่อหรือตำแหน่งแก่ พ. เจ้าของบ้านก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าก่อนที่จะดำเนินการค้นร้อยตำรวจเอก ศ. ได้ขอความยินยอมจาก พ. เจ้าของบ้าน รวมทั้งจำเลยและ ช. ผู้อาศัยอยู่ในบ้านก่อน แล้วจำเลยเป็นผู้นำการค้นด้วยตนเอง แสดงว่าการค้นดังกล่าวกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุรวมทั้งจำเลยและ ช. ผู้อยู่อาศัยในบ้านที่เกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าร้อยตำรวจเอก ศ. ได้ขู่เข็ญหรือหลอกลวงให้ พ. จำเลยและ ช. ให้ความยินยอมในการค้นแต่ประการใด แม้การค้นดังกล่าวจะกระทำลงโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบและฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่อย่างใดไม่
นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกการตรวจค้นซึ่งได้ระบุข้อความว่า ...เนื่องจากมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนอยู่หรืออยู่ในนั้น และมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ทรัพย์นั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน อันเป็นข้อยกเว้นที่ให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นอีกกรณีหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ด้วย ดังนี้ เครื่องกระสุนปืนของกลางที่ร้อยตำรวจเอก ศ. ยึดได้จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่ชอบและใช้ยันจำเลยเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเกินอัตรา อำนาจฟ้อง และเหตุบรรเทาโทษ
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันออกเช็คธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร ก. สาขาบางรัก ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น ย่อมแสดงว่า ธนาคาร ก. สาขาบางรัก มิได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์คงเป็นแต่เพียงตัวแทนของโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงิน ท้องที่จังหวัดภูเก็ตอันเป็นสถานที่ตั้งของธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ซึ่งเป็นธนาคารตามเช็คที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ความผิดคดีนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น ซึ่งมีอำนาจรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า ผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ 5,000,000 บาท และตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ 150,000 บาท แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามจะมีการตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อได้ความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ในวันทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ 5,450,000 บาท เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ โจทก์จึงนำเช็คไปพบจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ให้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท และ 450,000 บาท ตามลำดับ อันเป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยประกอบกับโจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกด้วยว่า เป็นการสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยพร้อมทั้งแนบสัญญากู้ยืมเงินมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 เป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้น ส่วนเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 สั่งจ่ายเงิน 450,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สำหรับความผิดในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แต่ในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 นั้นเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้นมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 เพื่อชำระเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคล เมื่อเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ถึงกำหนดชำระแล้วปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์สินกองมรดก โดนดำเนินคดีอาญาฐานยักยอก
เมื่อศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. แล้ว จำเลยไม่อาจจัดการมรดกให้เป็นไปทางหนึ่งทางใดตามอำเภอใจได้ แต่จักต้องทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ที่ ป.พ.พ. กำหนดไว้ โดยประการสำคัญ จำเลยมีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกทั้งหลายของ ว. แล้วนำมาจัดการมรดกโดยทั่วไปและจัดสรรแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิทุกคนให้เป็นไปตามกฎหมายและตามพินัยกรรมของ ว. ซึ่งในการนี้ จำเลยต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วยความสุจริต โปร่งใสและตรงไปตรงมาอย่างเปิดเผยเพื่อไม่ได้เป็นที่คลางแคลงใจ อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งกระทบกระทั่งต่อความสัมพันธ์อันดีในระหว่างทายาทผู้มีสิทธิทุกคน มิฉะนั้น จำเลยอาจต้องรับผิดในทางแพ่งต่อทายาทตามมาตรา 1720 ทั้งหากกระทำการโดยทุจริตเพื่อประโยชน์แก่ตนเองเป็นที่ตั้ง จำเลยก็อาจต้องรับผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 และ 354
ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งมีอำนาจและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ทั้งการจัดการมรดกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการโดยตนเอง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นให้ผู้จัดการมรดกมอบให้ตัวแทนทำการได้ตามอำนาจที่ให้ไว้ชัดแจ้งหรือโดยปริยายในพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามมาตรา 1723 นอกจากนี้ ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท โดยอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกที่มีต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ผู้จัดการมรดกจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก โดยทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใด ๆ ได้ เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติบางมาตราในลักษณะตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลม และทายาทอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจตามที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เมื่อการจัดการมรดกของ ว. เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกที่จะต้องกระทำด้วยตนเอง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ว. จึงไม่มีอำนาจบังคับจำเลยให้ดำเนินการขายที่ดินพิพาทในรูปแบบของคณะกรรมการขายที่ดินตามมติที่ประชุมทายาทและในทางกลับกัน จำเลยย่อมมีอำนาจเต็มที่ที่จะจัดการมรดกของ ว ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตหรือต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์หรือที่ประชุมทายาทก่อน
ว. เจ้ามรดก มิได้กำหนดให้ผู้จัดการมรดกกระทำโดยวิธีการใด เพียงแต่ระบุให้ทายาทรวม 6 คน ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์สินคนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้น การแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงต้องดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ที่ มาตรา 1750 กำหนดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ การแบ่งปันทรัพย์มรดกสามารถกระทำได้ 3 วิธี โดยวิธีแรก ให้ทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด วิธีที่สอง ให้ดำเนินการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท และวิธีที่สาม ให้ทายาทตกลงกันด้วยการทำรูปแบบของสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 และ 852 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทายาทหรือตัวแทนของทายาทเป็นสำคัญ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเลือกวิธีการแบ่งมรดกด้วยการขายที่ดินพิพาทเพื่อเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาทแม้จำเลยจะเป็นทายาทของ ว. ที่มีส่วนในทรัพย์มรดกมากกว่าโจทก์และทายาทคนอื่น แต่เมื่อการประมูลขายที่ดินพิพาทของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่ชอบมาพากลหลายประการ รูปคดีจึงบ่งชี้ว่าจำเลยไม่เพียงจัดการมรดกโดยมิชอบในทางแพ่งเท่านั้น แต่ยังมีเจตนากระทำความผิดทางอาญาด้วยการวางแผนแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยทุจริต ซึ่งความในข้อนี้เห็นได้ชัดจากการที่จำเลยมอบหมายให้ อ. บุตรชายของจำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นของจำเลย โดยจำเลยไม่ได้นำมูลค่าของที่ดินพิพาท ที่ประมูลซื้อในราคา 8,150,000 บาท มาแบ่งปันแก่ทายาทแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นที่ดินแปลงย่อย 4 แปลง แล้วขายที่ดินแปลงคงและแปลงย่อยรวม 5 แปลง ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ให้แก่ ศ. ในราคาสูงถึง 19,000,000 บาท แล้วนำเงินเข้าบัญชีของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยได้ถอนเงินจำนวน 9,000,000 บาท นำเข้าฝากในบัญชีกองมรดกของ ว. ก็ตาม แต่เงินอีก 10,000,000 บาท ไม่ใช่เงินส่วนตัวของจำเลยเพราะจำเลยขายที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. คดีจึงรับฟังได้มั่นคงว่า จำเลยในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ตามคำสั่งศาลได้ครอบครองและเบียดบังเอาทรัพย์มรดกของ ว. เป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบมาตรา 354
โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่า จำเลยในฐานที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลได้กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยเบียดบังเอาทรัพย์สินของกองมรดกของ ว. ไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ซึ่งการเบียดบังเอาที่ดินมรดกไปหรือเบียดบังเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินมรดกไปก็ย่อมถือเป็นความผิดที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิ้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยนำแคชเชียร์เช็คค่าซื้อที่ดินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยจำนวนเงิน 10,000,000 บาท และ 9,000,000 บาท ตามลำดับ โดยเจตนาทุจริต ซึ่งคำฟ้องในลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าขายที่ดินมรดกไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชอบ และเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยก็ให้การปฏิเสธว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นการแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงข้อต่อสู้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การรังวัดที่ดินเป็นการโต้แย้งสิทธิ แม้จะหยุดดำเนินการไปก่อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า โดยโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2510 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดในที่ดินพิพาท เป็นการบุกรุกและรบกวนการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ส่วนการที่จำเลยของดการรังวัดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเนื่องจากไม่สามารถนำชี้แนวเขตที่ดินพิพาทได้ชัดเจนนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยได้กระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จึงหามีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
ผู้ร้องสอดทั้งสองอ้างมาในคำร้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งสอง ขอให้ยกฟ้อง กับขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้คำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องยาวนานทำให้มีสิทธิในที่ดิน แม้มีการออกโฉนดไม่ชอบ
การครอบครองที่จะให้ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ ทั้งจะต้องเป็นการครอบครองในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของผู้อื่น กล่าวคือ เจ้าของเดิมจะต้องยังคงมีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินนั้น ๆ ถ้าไม่มีสิทธิหรือสิทธิที่มีอยู่สิ้นไปแล้ว การที่คนใหม่เข้ามาใช้สิทธิครอบครองในทรัพย์สินแทน ก็หาใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ไม่
ถ. และ ส. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องบรรยายคำร้องขอโดยยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นนี้ ผู้ร้องก็ไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
of 16