พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกรับสภาพหนี้มีผลระงับสัญญากู้เดิม การปลดจำนองต้องมีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคา ที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ vs. สัญญาเดิม และประเด็นการปลดจำนอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การยินยอมโดยปริยาย การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการกำหนดค่าทนายความ
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดย มิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป. มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 มิได้บัญญัติ ไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควรการบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์72,059.57 บาท แล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความที่ได้รับการมอบอำนาจ การให้สัตยาบัน และผลของการไม่ทำตามแบบ
การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย โดยมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามโจทก์ เมื่อต่อมาโจทก์ได้แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความฟ้องร้องบังคับจำนองต่อจำเลย โจทก์ได้เบิกความยืนยันการมอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองต่อจำเลย ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด ไม่ถือเป็นการขายนาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้ซื้อไม่จำต้องคืนที่ดินให้ผู้เช่า
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57วรรคแรก ที่บัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยนั้นแม้การอุทธรณ์ต่อศาลจะไม่ระบุว่าให้ทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ แต่การอุทธรณ์ก็บ่งบอกว่าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนั้นได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้อุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดเป็นคดีมีข้อพิพาทระหว่างผู้อุทธรณ์และ คชก.จังหวัดแล้วผู้อุทธรณ์จึงจำต้องอุทธรณ์ต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท หาใช่เป็นกรณีที่ผู้อุทธรณ์จะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยทำเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่
ตามคำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า คชก.จังหวัดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องอย่างไร ตลอดทั้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อกล่าวหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทุกประการเสมือนเป็นคำฟ้องคดีมีข้อพิพาท และศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำร้องและให้มีการนำส่งสำเนาคำร้องให้คชก.จังหวัด ส.ผู้คัดค้านที่ 2 และ ป.ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนามีโอกาสคัดค้านโต้แย้งแล้ว และต่อมา คชก.จังหวัด ส.และ ป.ทำคำคัดค้านเสมือนเป็นคำให้การเข้ามาในคดี จนศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาททั้งได้สืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้น ดังนี้ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามนั้นชอบแล้ว
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 วรรคแรก และวรรคท้าย เป็นเรื่องบังคับผู้ให้เช่านาที่ประสงค์จะขายนาจะขายฝากนา จะแลกเปลี่ยนนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองให้แก่บุคคลอื่นได้จะต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาหรือจะขายฝากนาหรือจะแลกเปลี่ยนนาหรือจะโอนนาชำระหนี้จำนอง พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขาย ราคาที่จะขายฝากราคานาที่จะแลกเปลี่ยน หรือจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ตลอดทั้งวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบ เพื่อให้โอกาสผู้เช่านาได้ซื้อนา รับซื้อฝากนา รับแลกเปลี่ยนนาหรือรับที่จะชำระหนี้จำนองแทนผู้เช่านาแล้วรับโอนที่นามาเป็นของผู้เช่านาอันเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เช่านาตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
การที่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทผู้ให้เช่านาถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับจำนองและนำยึดที่ดินพิพาทที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หาใช่เป็นการที่ ส.ประสงค์ที่จะขายนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองตามจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ส.หรือที่ดินของ ส. ถูกบังคับหรือถูกยึดทรัพย์สินไปขายทอดตลาดแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้จำนองแก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองตามอำนาจแห่งบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องหนี้ การจำนองและการบังคับจำนองซึ่งบัญญัติวิธีการไว้เป็นพิเศษต่างหาก การซื้อขายนาจากการขายทอดตลาดของศาลในกรณีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ผู้ให้เช่านาขายนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก
ผู้ร้องทั้งสามได้ร่วมกับ ฉ.ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดจริง การใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามในภายหลังเป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่สั่งตามรายงานการขายทอดตลาดที่ระบุว่า ฉ.เพียงคนเดียวเป็นผู้ซื้อได้ จึงไม่อาจจะใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามว่าเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทร่วมกับ ฉ.ตั้งแต่ต้นได้อยู่ดี การที่ผู้ร้องทั้งสามและ ฉ.ไปดำเนินการให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ฉ.ตามความเป็นจริง จึงหาได้เป็นการซื้อขายที่ดินพิพาทกันใหม่ระหว่าง ฉ.กับผู้ร้องทั้งสามไม่ ดังนั้นผู้ร้องทั้งสามในฐานะผู้ร่วมซื้อที่ดินพิพาทของ ส.เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าจากการขายทอดตลาดของศาล จึงไม่จำต้องขายที่ดินพิพาทคืนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54
ตามคำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า คชก.จังหวัดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องอย่างไร ตลอดทั้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อกล่าวหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทุกประการเสมือนเป็นคำฟ้องคดีมีข้อพิพาท และศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำร้องและให้มีการนำส่งสำเนาคำร้องให้คชก.จังหวัด ส.ผู้คัดค้านที่ 2 และ ป.ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนามีโอกาสคัดค้านโต้แย้งแล้ว และต่อมา คชก.จังหวัด ส.และ ป.ทำคำคัดค้านเสมือนเป็นคำให้การเข้ามาในคดี จนศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาททั้งได้สืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้น ดังนี้ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามนั้นชอบแล้ว
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 วรรคแรก และวรรคท้าย เป็นเรื่องบังคับผู้ให้เช่านาที่ประสงค์จะขายนาจะขายฝากนา จะแลกเปลี่ยนนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองให้แก่บุคคลอื่นได้จะต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาหรือจะขายฝากนาหรือจะแลกเปลี่ยนนาหรือจะโอนนาชำระหนี้จำนอง พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขาย ราคาที่จะขายฝากราคานาที่จะแลกเปลี่ยน หรือจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ตลอดทั้งวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบ เพื่อให้โอกาสผู้เช่านาได้ซื้อนา รับซื้อฝากนา รับแลกเปลี่ยนนาหรือรับที่จะชำระหนี้จำนองแทนผู้เช่านาแล้วรับโอนที่นามาเป็นของผู้เช่านาอันเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เช่านาตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
การที่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทผู้ให้เช่านาถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับจำนองและนำยึดที่ดินพิพาทที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หาใช่เป็นการที่ ส.ประสงค์ที่จะขายนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองตามจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ส.หรือที่ดินของ ส. ถูกบังคับหรือถูกยึดทรัพย์สินไปขายทอดตลาดแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้จำนองแก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองตามอำนาจแห่งบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องหนี้ การจำนองและการบังคับจำนองซึ่งบัญญัติวิธีการไว้เป็นพิเศษต่างหาก การซื้อขายนาจากการขายทอดตลาดของศาลในกรณีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ผู้ให้เช่านาขายนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก
ผู้ร้องทั้งสามได้ร่วมกับ ฉ.ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดจริง การใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามในภายหลังเป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่สั่งตามรายงานการขายทอดตลาดที่ระบุว่า ฉ.เพียงคนเดียวเป็นผู้ซื้อได้ จึงไม่อาจจะใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามว่าเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทร่วมกับ ฉ.ตั้งแต่ต้นได้อยู่ดี การที่ผู้ร้องทั้งสามและ ฉ.ไปดำเนินการให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ฉ.ตามความเป็นจริง จึงหาได้เป็นการซื้อขายที่ดินพิพาทกันใหม่ระหว่าง ฉ.กับผู้ร้องทั้งสามไม่ ดังนั้นผู้ร้องทั้งสามในฐานะผู้ร่วมซื้อที่ดินพิพาทของ ส.เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าจากการขายทอดตลาดของศาล จึงไม่จำต้องขายที่ดินพิพาทคืนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และการบอกกล่าวบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ขาดอายุความ และการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว
จำเลยที่1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการยุบตัวของข้าวเปลือกอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการดำเนินการได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 พิจารณาหาผู้รับผิดชอบชดใช้ข้าวเปลือกขาดบัญชีและมีมติในวันเดียวกันนั้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้ชดใช้ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประชุมและทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนข้าวที่หายไปต่อโจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 และเริ่มนับใหม่ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2536 ภายในอายุความ1ปีมาตรา448คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ มาตรา 728 การบังคับจำนองนั้นผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นไม่ได้ระบุว่าต้องส่งคำบอกกล่าวโดยทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับแต่อย่างใดพนักงานของโจทก์ไปส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับจึงได้ทำบันทึกไว้ท้ายคำบอกกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับผู้ส่งจึงได้วางหนังสือไว้ต่อหน้าผู้รับและต่อหน้าพยานการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว