คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 728

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีผู้รับ หากส่งถึงภูมิลำเนาจำเลย
การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาดังกล่าวส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ย่อมถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับการแสดงเจตนาแม้จะไม่มีผู้รับก็ตาม ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองดังกล่าวชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, ค่าฤชาธรรมเนียม, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาสองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โดยได้รับแจ้งว่าจำเลยที่2ไปทำงานต่างจังหวัดและย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่โจทก์จึงบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ถือว่าคำประกาศหนังสือพิมพ์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยสัญญาค้ำประกัน และค่าฤชาธรรมเนียมบังคับจำนอง: แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสัญญา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน89,051.47บาทนับแต่วันที่7มิถุนายน2529จนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใดในเมื่อจำเลยที่1ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ17.5ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้วแต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่2สองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ฉะนั้นค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา715(3)โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์400บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใดแม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยแต่ก็มีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง เพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการบังคับจำนองแทนและในนามของโจทก์ ฉะนั้น พ. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยจำเลยรับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535และโจทก์ฟ้องวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536 ถือว่าโจทก์บอกกล่าวเป็นเวลาอันสมควรแล้ว เพราะหนี้ดังกล่าวเกิดจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องหักทอนบัญชีกันตามระยะเวลาจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนเท่าใด ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวเป็นเวลา 4 เดือนเศษ ดังนั้นการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองและข้อตกลงทบยอดเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ
การบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างไร การที่นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับแต่ส่งไม่ได้ เนื่องจากหาที่อยู่จำเลยไม่พบ จึงได้ประกาศแจ้งบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบ แม้การที่โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองของนาย ว.ได้กระทำในนามโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาง บ. ดำเนินคดีกับจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบัน การบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองและการโต้แย้งข้อผิดพลาดในการบันทึกคำเบิกความ
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาชำระเพื่อเป็นการไถ่ถอนจำนองภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น นับว่าเป็นเวลาอันสมควรแล้ว ส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นการเฉพาะตัว โจทก์ชอบที่จะมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวแทนได้
จำเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นไม่บันทึกคำเบิกความของโจทก์ตามที่ทนายจำเลยถามค้าน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลพิจารณาผิดระเบียบ ตามป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้นคู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใดก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามวรรคสองของมาตรา 27 ดังกล่าว จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขึ้นเงินจำนองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด, ดอกเบี้ยทบต้น, และการบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความ
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาชำระเพื่อเป็นการไถ่ถอนจำนองภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้นนับว่าเป็นเวลาอันสมควรแล้วส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นการเฉพาะตัวโจทก์ชอบที่จะมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวแทนได้ จำเลยกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นไม่บันทึกคำเบิกความของโจทก์ตามที่ทนายจำเลยถามด้านอันเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลพิจารณาผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ดังนั้นคู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใดก่อนที่คำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามวรรคสองของมาตรา27ดังกล่าวจำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านภายใน8วันนับแต่วันที่จำเลยทราบจำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและประเด็นดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่า หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249
of 18