คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลาย แม้จะไม่มีหนี้ส่วนตัว
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ซึ่งได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 และเนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. หรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เด็ดขาดแต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้าน ล้มละลาย คดีถึงที่สุด ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้จึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าวซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างนั้นชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่คดีแพ่งถึงที่สุดก็ตาม คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่ขาดอายุความเพราะกรณีมิใช่หนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านจะอ้างอายุความดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย แม้มีหลักประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องบังคับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนก็ได้
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดมาฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเกิดจากจำเลยผิดสัญญาประกันผู้ต้องหาต่อโจทก์และ ในการประกันผู้ต้องหานั้น จำเลยได้นำที่ดินตาม น.ส.3 ของบุคคลภายนอกวางเป็นหลักประกันไว้ ขณะที่จำเลยยื่น คำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันผู้ต้องหาโดยมิได้จดทะเบียน จำนอง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลย ในที่ดินที่เป็นหลักประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ดังนั้นโจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 10 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันจำเลยไม่ชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดในหนี้สิน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในคดีล้มละลาย และความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ถูกเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7853/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากการประกอบธุรกิจกู้ยืมเงิน และการพิพากษาคดีล้มละลาย
การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่ และจะต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการโดยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสองตกลงจะ ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 19,020,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้และออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัด โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งสอง 2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(7)และ(9) ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9และครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง และจำเลยที่ 1เบิกความเสร็จเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 จำเลยที่ 1ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537วันที่ 19 ธันวาคม 2537 วันที่ 6 และ 20 กุมภาพันธ์ 2538เวลา 9 นาฬิกา รวม 4 วัน ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าสืบพยานจำเลยที่ 1 เสร็จเมื่อใดให้จำเลยที่ 2 สืบต่อ เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนมาจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าเตรียมพยานมาโดยผิดหลงขอเลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อในนัดหน้า โดยจำเลยที่ 1 ขอสืบ ส. อีกปากเดียว ศาลชั้นต้นอนุญาตครั้นถึงวันนัด จำเลยที่ 1 แถลงหมดพยานศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบต่อจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนอ้างว่าไม่ได้เตรียมพยานมาศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 รวม 2 นัดตามที่นัดไว้เดิม เมื่อถึงวันนัดต่อมา จำเลยที่ 2ขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2 ติดอบรมที่กรุงเทพมหานครเป็นเวลา 3 เดือน และแถลงว่าติดใจสืบตัวจำเลยที่ 2กับ ส. เพียง 2 ปากนอกนั้นจะขอส่งคำให้การพยานจากศาลแขวงนครราชสีมาแทน สำหรับ ส.อาจจะไม่สืบ ต้องรอคำเบิกความจำเลยที่ 2ก่อน และแถลงเพิ่มเติมว่านัดหน้าจะนำตัวจำเลยที่ 2หรือส.มาเบิกความ จะไม่ขอเลื่อนคดีอีกศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อตามที่นัดไว้เดิม ถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือส.มาเบิกความแต่กลับขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2 ติดการอบรมที่กรุงเทพมหานครดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2หลายครั้งแล้ว และครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนก็แถลงว่าจะนำตัวจำเลยที่ 2 หรือส. มาเบิกความและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก แต่เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือส. มาเบิกความตามที่แถลงไว้ พฤติการณ์ของ จำเลยที่ 2 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เลื่อนคดีและ งดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีพยาน มาสืบจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง ในการกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมด้วย โดยจำเลยที่ 2 เคยไปรับเงินกู้จากโจทก์พร้อมกับจำเลยที่ 1 หลายครั้งนอกจากนี้เมื่อสามีโจทก์ไปพบจำเลยที่ 2 และได้พูดเรื่อง หนี้สินกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ก็รับปากจะใช้หนี้สินทั้งหมดให้แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 กลับไม่ยอมลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้แล้วว่าจำเลยที่ 2รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินตลอดมา แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับรู้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตลอดมา ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(3)ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว: การพิจารณาภูมิลำเนาและหนังสือทวงถาม
แม้จำเลยที่2จะย้ายทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันที่ทำกับโจทก์แต่จำเลยที่2ก็ยังเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าวอยู่และบ้านหลังนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่1ตลอดมาจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานของจำเลยที่2ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยที่2ด้วยและถือว่าจำเลยที่2มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา45((มาตรา38ใหม่) จำเลยที่2ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30วันจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่2เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการค้ำประกัน, ภูมิลำเนา, เหตุล้มละลาย: การพิจารณาคำฟ้องขอให้ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะผู้ส่งออกเพื่อจัดซื้อและเตรียมส่งสินค้าออกไปต่างประเทศโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วยมิใช่ฟ้องบังคับจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยตรงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่2ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30วันแม้ไม่มีผู้รับหนังสือก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่2หลบเลี่ยงไม่ยอมรับถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วพฤติการณ์ของจำเลยที่2ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคงเดิม แม้ธปท. เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวไม่จำเป็นวินิจฉัย
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำ-พิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6