คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3219/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว โดยมีหนี้ถึงที่สุดและข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำนวนเงินไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท จำนวนสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(9) และเมื่อฟังประกอบหลักฐานอื่นว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ในคดีอื่นซึ่งถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งถึงความอยู่และแท้จริงของหนี้ดังกล่าว จึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังประกอบดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้และการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเป็นหนี้โจทก์เกินกว่าห้าหมื่นบาทตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง ต่อมาจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้สองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่า จำเลยมีรายได้ตามที่อ้างและเป็นเจ้าหนี้บุคคลอื่นอยู่หลายราย ซึ่งจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และรูปคดีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 จึงต้องพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วแลกเงินและการล้มละลาย: จำเลยรับสภาพหนี้และมีทรัพย์สินไม่พอชำระ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้รับรองตั๋วแลกเงินรวม 77 ฉบับเป็นเงิน 17,606,567.76 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่บริษัท ป. จำกัด ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นแล้ว จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยไม่เคย ทำหนังสือคำขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้อที่โจทก์ได้รับรองตั๋วแลกเงิน และ โจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว ถือว่าจำเลยรับว่าจำเลย ได้ให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงิน 77 ฉบับ และโจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวจริง ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินโดยไม่ต้องนำตั๋วแลกเงิน77 ฉบับ ซึ่งโจทก์มิได้สำเนาให้จำเลยมาวินิจฉัย แม้หนังสือทวงถามและใบตอบรับโจทก์จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลย แต่หนังสือทวงถามดังกล่าวได้ส่งถึงจำเลยแล้ว และจำเลยมีโอกาสนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของเอกสารนี้ได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยไม่ชำระหนี้ และที่จำเลยนำสืบก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ ดังนี้ จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงถามทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แม้ชื่อเขตผิดพลาด แต่การส่งถึงบ้านเลขที่ถูกต้อง ถือว่าเป็นการส่งให้แก่ผู้รับแล้ว
หนังสือทวงถามของโจทก์ 2 ฉบับได้ถูกส่งไปยังจำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยจ่าหน้าซองตรงกับภูมิลำเนาของจำเลยเกือบทั้งหมด ยกเว้นชื่อ เขตที่ผิดจากเขตดุสิตเป็นเขตพญาไท และมีคนในบ้านเลขที่ดังกล่าวลงชื่อรับไว้แทนจำเลยทั้งสองครั้ง จึงเชื่อ ว่าหนังสือทวงถามของโจทก์ทั้งสองฉบับได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงหนี้ที่จ่าหน้าซองผิดเขต แต่ผู้รับอยู่ในภูมิลำเนา และการสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
แม้หนังสือทวงถามที่ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยจะจ่าหน้าซองจดหมายผิดจากเขตดุสิตเป็นเขตพญาไท แต่มีคนในบ้านดังกล่าวรับไว้แทนจำเลยทั้งสองครั้ง เชื่อว่าหนังสือทวงถามได้ถูกส่งไปยังภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยและจำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้วเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) การที่จำเลยไม่สืบพยานหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดจำเลยจึงเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว การส่งคำบอกกล่าวโดยชอบ และการพิสูจน์ทรัพย์สิน
หนี้เงินกู้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์กำหนดระยะเวลาชำระคืนและมีข้อสัญญาว่าทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดคืนก่อนกำหนด การที่ทนายโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญากู้และทวงถามให้ชำระหนี้ รวม 2 ครั้งโดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และมีผู้รับไว้แทนจึงเป็นการส่งโดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันเลิกกันหนี้ของโจทก์จึงถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงตก เป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ รวมจำนวนถึง 637,431.30 บาท จำเลยที่ 1 เบิกความว่ามีอาชีพทำตะเกียบ ส่งประเทศไต้หวันตลอดจนมีทรัพย์สินหลายรายการและกำไรที่จะได้รับจากอาชีพที่ทำอยู่เกินกว่าที่เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ 2เบิกความว่ามีแผงลอย 2 แผงสำหรับขายของที่ตลาดถ้า โอนไปจะได้เงินประมาณ 150,000 บาท แต่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของจำเลยลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้เชื่อ ว่าเป็นความจริง คดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: หลักเกณฑ์หนี้สิน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, และการพิสูจน์สภาพหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญาผู้ให้กู้ต้อง ฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้ แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยเพียงแต่ อาศัยและช่วย ทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดย ไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใด อีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: หนี้กู้ยืม, สัญญาเบิกเกินบัญชี, และการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญา ผู้ให้กู้ต้องฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แม้มีเหตุตามกฎหมายก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งปรากฏว่าบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิมดังนี้ แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความ, การซื้อขายหุ้น, และการฟ้องล้มละลาย: การกระทำของทนายความและหนี้จากการซื้อขายหุ้น
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามว่า เมื่อทนายความได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีใดแล้วจะทำหน้าที่เป็นทนายความในคดีนั้นอีกไม่ได้ฉะนั้นเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีแทน และโจทก์ได้แต่งตั้งก. ให้ทำหน้าที่เป็นทนายความของตนอีกฐานะหนึ่งด้วย ก. จึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าความแทนโจทก์ในคดีนั้นได้ไม่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรค 2
พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายหุ้นโจทก์ได้ทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง และไม่ถือเป็นเรื่องการพนันหรือขันต่อ
โจทก์ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลย เมื่อมีการคิดบัญชีและหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 397,457.71 บาท โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยบทสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 6