คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1628

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ไม่สิ้นสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628 ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะภริยาตามกฎหมาย, การจัดการมรดก, และการแบ่งสินสมรสสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2477
กฎหมายลักษณะผัวเมียและ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อสามีละทิ้งภริยาเพียงอย่างเดียวเป็นเหตุให้ขาดจากการสมรส ฉะนั้นเมื่อ พ. กับโจทก์เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมา พ. ละทิ้งร้างโจทก์ไปหลายปีแล้วกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันอีกหลังจากประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ก็ต้องถือว่า พ. และโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ พ. ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.2514
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก โดยที่ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง และถือว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทายาทไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดก จำเลยจะยกอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาซึ่งสมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีสินเดิม ชายได้สินสมรสทั้งหมด หญิงไม่มีส่วนได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: สิทธิในมรดก
ชายหญิงแต่งงานอยู่กินกันฉันท์สามีภริยาโดยเปิดเผย มิได้จดทะเบียนสมรสจนเกิดบุตรด้วยกันนั้น ย่อมถือว่าบุตรนี้เป็นบุตรนอกกฎหมายแต่เมื่อปรากฎโดยพฤติการณ์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของชายนั้น และเมื่อเด็กเกิดชายนั้นก็ได้ไปแจ้งทะเบียนว่าเป็นบุตรของตนดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเด็กนั้นเป็นบุตรนอกกฎหมายบิดารับรองแล้ว เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1627 และตามนัยฎีกาที่ 826/2492

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกันอยู่ไม่ตัดสิทธิมรดก: สามีภรรยาแยกกันอยู่ไม่ถือว่าขาดจากความเป็นสามีภรรยา
สามีภรรยาแยกกันอยู่ช้านานหรือที่เรียกว่าร้างกันนั้นไม่ทำให้ขาดจากสามีภรรยากัน และไม่สิ้นสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกันอยู่ไม่ได้ตัดสิทธิมรดก: แม้จะร้างกันนาน ก็ยังถือเป็นสามีภรรยากัน
สามีภรรยาแยกกันหยู่ช้านานหรือเรียกว่าร้างกันนั้น ไม่ทำไห้ขาดจากสามีภรรยากัน และไม่สิ้นสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สามีภริยาแยกกันอยู่แต่ไม่หย่า: สิทธิมรดกของภริยาร้างตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สามีภริยา (ก่อนประมวล) ต่างแยกกันอยู่ มิได้อยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยาเป็นเวลานานหลายปีจนตราบเท่าสามีตาย แต่ไม่ได้ทำนิติกรรมหย่าขาดจากกัน หรือแบ่งปันทรัพย์กันระหว่างกันนั้นยังถือว่าสามีภรียามิได้ขาดจากกันตามกฎหมายสามีตายเมื่อ พ.ศ. 2481 ภริยาร้าง นั้นมีสิทธิ์ได้รับมฤดกของสามีตาม ม.1628 อ้างฎีกาที่ 494/2472 จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่แพ้ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยฏีกาจำเลยไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่ายหนึ่ง.