พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6427/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันโจทก์ แม้จะอ้างว่าศาลพิจารณาข้อเท็จจริงผิดพลาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าคำพิพากษาในคดีแพ่งเป็นโมฆะเพราะศาลฟังพยานหลักฐานผิดไปจากความเป็นจริง ปรากฏว่าคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบ้านพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ส. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ผลแห่งคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ผู้ร้องจำต้องรับผลแห่งคำพิพากษานั้น จะมาโต้เถียงอีกว่าคำพิพากษาพิจารณาไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงและศาลพิจารณาข้อเท็จจริงในคำพิพากษาไม่ตรงกับความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่คำพิพากษาให้เป็นฝ่ายแพ้คดีหาได้ไม่ทั้งมิใช่กรณีที่มีกฎหมายสนับสนุนให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลอันจะยื่นคำร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเป็นคดีนี้ได้ตามมาตรา 55 และการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอในคดีที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเอง จะยื่นคำร้องขอเป็นคดีใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6427/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ผู้แพ้คดีไม่อาจขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาด้วยเหตุฟังพยานหลักฐานผิด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าคำพิพากษาในคดีแพ่งเป็นโมฆะเพราะศาลฟังพยานหลักฐานผิดไปจากความเป็นจริงปรากฏว่าคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบ้านพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของส. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผลแห่งคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ผู้ร้องจำต้องรับผลแห่งคำพิพากษานั้นจะมาโต้เถียงอีกว่าคำพิพากษาพิจารณาไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงและศาลพิจารณาข้อเท็จจริงในคำพิพากษาไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งๆที่คำพิพากษาให้เป็นฝ่ายแพ้คดีหาได้ไม่ทั้งมิใช่กรณีที่มีกฎหมายสนับสนุนให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลอันจะยื่นคำร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเป็นคดีนี้ได้ตามมาตรา55และการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา27นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอในคดีที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเองจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยสัญญาค้ำประกัน และค่าฤชาธรรมเนียมบังคับจำนอง: แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสัญญา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน89,051.47บาทนับแต่วันที่7มิถุนายน2529จนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใดในเมื่อจำเลยที่1ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ17.5ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้วแต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่2สองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ฉะนั้นค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา715(3)โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์400บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การได้มาโดยครอบครอง & บุคคลภายนอกฟ้องแย้งสิทธิ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังผูกพันอยู่ แต่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองเช่นเดียวกันและสำนักงานที่ดินได้ออกใบแทนโฉนดให้แล้วก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้ คำสั่งศาลดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจเพิกถอนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าไม่ต้องจดทะเบียนให้ผู้ใด ให้คู่กรณีไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ไม่เป็นการแก้หรือกลับ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจากพ. ผู้ร้องในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่า พ.ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินเมื่อมีคำสั่งศาลขัดแย้ง: การโต้แย้งสิทธิของบุคคลภายนอกและการจดทะเบียน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ยังผูกพันอยู่แต่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งให้พ.ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองเช่นเดียวกันและสำนักงานที่ดินได้ออกใบแทนโฉนดให้แล้วก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้คำสั่งศาลดังกล่าวถึงที่สุดแล้วไม่อาจเพิกถอนได้ไม่อาจเพิกถอนได้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าไม่ต้องจดทะเบียนให้ผู้ใดให้คู่กรณีไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไปไม่เป็นการแก้หรือกลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองการที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจากพ.ผู้ร้องในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าพ.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเทียบเท่าคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญไม่อาจแก้ไขได้
สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน