พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน แม้คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดิน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง
แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2)
ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2)
ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยได้หากไม่ปฏิบัติตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำของโจทก์ซึ่งขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา หากจำเลยไม่ปฏิบัติก็ให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที และให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นกรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งในเวลาที่ออกคำบังคับด้วยว่า หากจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและจ้างประกอบตู้ไฟฟ้า ข้อตกลงเรื่องการรับรองอุปกรณ์โดยการไฟฟ้านครหลวง และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ และโจทก์รับจ้างจำเลยประกอบตู้ไฟฟ้า โดยจำเลยได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าครบถ้วนและได้ชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว คงค้างชำระค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบเสนอราคาที่ระบุว่าโจทก์จะต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยอมรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียก่อน เห็นว่าหากโจทก์จำเลยมีเจตนาให้นำเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับด้วย ก็น่าจะระบุลงไว้ในสัญญาที่ทำขึ้นในภายหลังให้ชัดเจน เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ควรรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์จนกว่าการไฟฟ้านครหลวงจะได้รับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงเงื่อนไขดังกล่าวไว้ ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้ออกหนังสือรับประกันให้นั้น ปรากฏว่าในสัญญามีข้อความเขียนด้วยลายมือว่า"โดยมีระยะเวลารับประกัน 1 ปี ฯ" ถือว่าโจทก์ได้รับประกันให้จำเลยแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ให้โจทก์
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาล-อุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาล-อุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญา การชำระหนี้ และการผิดสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ และโจทก์รับจ้างจำเลยประกอบตู้ไฟฟ้า โดยจำเลยได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าครบถ้วนและได้ชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว คงค้างชำระค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบเสนอราคาที่ระบุว่าโจทก์จะต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยอมรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียก่อน เห็นว่าหากโจทก์จำเลยมีเจตนาให้นำเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับด้วยก็น่าจะระบุลงไว้ในสัญญาที่ทำขึ้นในภายหลังให้ชัดเจน เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ควรรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์จนกว่าการไฟฟ้านครหลวงจะได้รับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงเงื่อนไขดังกล่าวไว้ ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้ออกหนังสือรับประกันให้นั้น ปรากฏว่าในสัญญามีข้อความเขียนด้วยลายมือว่า "โดยมีระยะเวลารับประกัน 1 ปีฯ" ถือว่าโจทก์ได้รับประกันให้จำเลยแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ให้โจทก์ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินจำกัดตามจำนวนเงินกู้เดิม แม้เจ้าหนี้ขยายวงเงินกู้
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ต่อมาได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 20 กันยายน2529 ไปจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ซึ่งโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากบัญชีดังกล่าว หรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นสองครั้ง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ถือว่าสัญญาเลิกกันนับแต่วันที่ 20กันยายน 2529 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันดังกล่าว หามีสิทธิคิดถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ไม่ จำนวนยอดหนี้ในวันที่ 20 กันยายน 2529 อันเป็นวันสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันไม่มีระบุไว้ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่โจทก์ส่งศาล คงระบุไว้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 และวันที่ 30 กันยายน2529 ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2529ถึงวันที่ 20 กันยายน 2529 ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด แล้วนำไปรวมกับยอดหนี้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 เป็นยอดหนี้ในวันที่20 กันยายน 2529 ได้เอง ศาลฎีกาคำนวณรวมยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องร่วมกันชำระแก่โจทก์รวม 479,159.58 บาท แต่ศาลอุทธรณ์คำนวณรวมยอดหนี้ได้ 479,029.59 บาท เป็นการคำนวณผิดพลาดไปเล็กน้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมีข้อความทำนองเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นจำนวน 400,000บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดก็ตาม ก็เป็นการผูกพันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ และแม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความตอนท้ายว่า "ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง" และข้อความว่า"ถ้าแม้ว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวมาแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด... ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันที" ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้(จำเลยที่ 1) ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาทันทีและโดยสิ้นเชิงภายในต้นเงิน 400,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 ขอชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อหนี้ถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรกแล้ว โจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 โดยจะให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเพื่อคัดค้านคำพิพากษาเรื่องหนี้มรดก ต้องยื่นระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่หลังมีคำพิพากษา
กรณีตามคำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมิใช่กรณีที่จะร้องสอดในชั้นบังคับคดีเพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีมาแต่ต้น ผู้ร้องเป็นทายาทของ ป. เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3การร้องสอดของผู้ร้องมีลักษณะเข้ามาเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับมรดกของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งเป็นการเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องดังกล่าวขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หาใช่มายื่นภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการอุทธรณ์ที่ครอบคลุมข้อผิดพลาดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 2,338,295.06บาท แต่ตอนพิพากษา กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,338,295.06บาท แก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์โดยตรงว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเกี่ยวกับจำนวนหนี้ดังกล่าว แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินจำนวน2,478,103.24 บาท ไม่ใช่จำนวนเงิน 1,338,295.06 บาท ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในข้อผิดพลาดและข้อผิดหลงแล้วที่ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน1,338,295.06 บาท จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกจะต้องพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,338,295.06 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความต้องอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลัก แม้มีการกันที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาแผนที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ด้วยดังนั้นการรังวัดแบ่งที่พิพาท จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวโดยอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลักในการรังวัด สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยยอมแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามเส้นประสีม่วงทั้งหมด กับส่วนที่เป็นเครื่องหมาย////// ที่ปรากฏในแผนที่พิพาทแก่โจทก์ แต่มิได้กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความให้ชัดว่าจะต้องวัดจากตรงจุดใดของเครื่องหมายดังกล่าว ทั้งมิได้กำหนดว่าต้องวัดจากทางทิศใดไปทิศใดและมีความยาวเท่าใด ครั้นโจทก์จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดตามคำสั่งศาล จึงปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่พิพาทไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์จึงนำรังวัดจากจุดที่เจ้าพนักงานที่ดินกันไว้ไปทางทิศเหนือ มีความยาว 15.16 เมตรเป็นเหตุให้จำเลยไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามโจทก์ยอมรับว่าได้นำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดจากจุดดังกล่าวซึ่งไม่ตรงตามแผนที่พิพาทจริง และโจทก์จำเลยยอมรับกันว่าความจริงต้องวัดจากจุดซึ่งเป็นเสาหน้าบ้านต้นแรกซึ่งอยู่ริมทางสาธารณประโยชน์ไปทางทิศเหนือ 15.16 เมตร และโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดใหม่ให้ตรงตามแผนที่พิพาทข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นนี้เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการเน้นเพื่อให้ทราบแน่ว่าการรังวัดใหม่จะต้องเริ่มวัดจากจุดใดไปทางทิศใดและมีความยาวเท่าใด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามและตกลงกันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำความเข้าใจระหว่างโจทก์จำเลยให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงในสัญญาประนีประนอมยอมความหาใช่เป็นข้อตกลงใหม่หรือเพิ่มเติมแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้วไม่ และแม้เจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินทางด้านทิศใต้ไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์อย่างไรก็ไม่ผูกพันคู่ความคดีนี้และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาคดีไปตามยอมแล้วได้