คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำบังคับศาลเพื่อรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำบังคับที่ผิดพลาดได้ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เห็นได้ว่า ประสงค์จะรอการลงโทษให้จำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำบังคับของศาลอุทธรณ์ว่าให้รอการลงโทษจำเลย ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพราะความผิดหลง หรือเขียนคำบังคับผิดพลาดไป ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 มิได้มีข้อห้ามไว้ว่าถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดข้อไหนแก้ได้หรือไม่ประการใด จึงน่าจะทำได้ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อความที่แก้ไขหรือขยายความมิได้กลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หากแต่แก้คำบังคับที่ผิดพลาดให้ถูกต้องจึงย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานและลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง กรณีชักชวนเพื่อนร่วมงานละเลยหน้าที่ จนทำให้องค์กรเสียหาย และสิทธิประโยชน์อื่นของลูกจ้าง
แม้ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ไม่มีข้อความห้ามพนักงานจัดนำเที่ยวหรือชักชวนพนักงานอื่นไปเที่ยวก็ตาม แต่หมวดว่าด้วยวินัยของพนักงานมีว่า พนักงานต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของจำเลยด้วย การที่โจทก์ชักชวนพนักงานที่มีเวรหยุดและวันทำงานตรงกับวันเกิดเหตุไปเที่ยวโจทก์ย่อมเล็งเห็นว่าจะไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะนำรถยนต์โดยสารออกแล่นได้ ทำให้จำเลยขาดรายได้ ถือว่าโจทก์ทำผิดวินัย จำเลยสั่งพักงานโจทก์ได้ เงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานเป็นสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อบังคับของจำเลย แม้โจทก์จะถูกพักงานก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยรับผิด หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทเศษแต่พิพากษาให้จ่ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษเป็นการผิดพลาดในการรวมจำนวนเงิน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การครอบครองแทน การซื้อขาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ครอบครองเดิม
ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 114 เป็นของ ป. สามีโจทก์และโจทก์ร่วมกันโดย ป. ซื้อมาจาก น. และเมื่อซื้อมาแล้วป. มอบให้ ส. สามี จำเลยครอบครองแทน แม้ต่อมา น. จะยื่นคำขอออก น.ส.3 ก็เป็นการกระทำภายหลังจากที่ น. ได้ขายที่ดินพิพาทให้ ป. และโจทก์ไปแล้ว จึงหาทำให้ น. กลับเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกไม่ เมื่อ น. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทต่อมาแม้ น. จะได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ ส. ก็หาทำให้ส.มีสิทธิดีไปกว่าน.ผู้โอนไม่กรณีที่ส. กระทำการดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองโดยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง ป. และโจทก์ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ป. และโจทก์ โดย ส. เป็นผู้ครอบครองแทน ส่วนที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 229 ที่จำเลยไปขอออก น.ส.3 ก. ในนามจำเลยนั้นก็มิได้หมายความว่า ส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง ป. หรือโจทก์การที่จำเลยครอบครองที่ดินตามน.ส.3 เลขที่ 114 ก็ดี ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 229 ก็ดี เป็นการสืบสิทธิของ ส. จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายที่ดินพิพาท น.ส.3 เลขที่ 114 ระหว่าง น. กับ ส. ซึ่งแม้จะเป็นนิติกรรมที่ใช้ยันโจทก์ไม่ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นการกระทบสิทธิของ น. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปดำเนินการเองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยไม่พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย
ศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จและส่งให้ศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1ฟังแล้ว และได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปอีกศาลหนึ่งเพื่ออ่านให้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำท้องที่ศาลนั้นฟัง แต่จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟัง ศาลนั้นจึงส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคืนศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาและสำนวนมายังศาลฎีกาศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมโดยทำเป็นคำพิพากษาใหม่ปรับปรุงคำพิพากษาเดิมและให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาต่อจำเลยที่เสียชีวิตก่อนการอ่านคำพิพากษาและการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จและส่งให้ศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังแล้ว และได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไปยังศาลอีกแห่งหนึ่งเพื่ออ่านให้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำท้องที่ศาลนั้นฟัง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังศาลที่จำเลยที่ 2 ถูกคุมขังอยู่ในท้องที่ได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคืนศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาและสำนวนมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมโดยทำเป็นคำพิพากษาใหม่ สั่งแก้ไขปรับปรุงคำพิพากษาเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยเสียชีวิตระหว่างการพิจารณา และการพิจารณาคดีเฉพาะจำเลยที่เหลือ
ศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จและส่งให้ศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1ฟังแล้ว และได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไปยังศาลอีกแห่งหนึ่งเพื่ออ่านให้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำท้องที่ศาลนั้นฟัง แต่เมื่อปรากฎว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังศาลที่จำเลยที่ 2 ถูกคุมขังอยู่ในท้องที่ได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคืนศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษา ศาลฎีกาและสำนวนมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมโดยทำเป็นคำพิพากษาใหม่ สั่งแก้ไขปรับปรุงคำพิพากษาเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีผลผูกพันแม้ไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ หากมีการวางมัดจำแล้ว
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้โดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือใช้บังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ แต่โจทก์ผู้ซื้อได้วางมัดจำเป็นเงินไว้ซึ่งถือว่าเป็นการวางประจำตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้โอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบห้าวันร่วมกันโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้โดยไม่สุจริตและเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องราคาที่ดินคืนได้
จำเลยที่ 2 กู้เงินผู้คัดค้านสองจำนวน จำนวนละ 500,000 บาทจำนวนแรกไม่ได้มีหลักฐานการกู้ เพียงออกเช็ค 2 ฉบับไม่ลงวันที่มอบให้ผู้คัดค้านยึดถือจำนวนที่สองนำที่ดินพิพาท 8 แปลงมาจำนองยอมให้ถือว่าสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านโอนที่ดินจำนองชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ผู้คัดค้านโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงเป็นของผู้คัดค้าน แม้การรับจำนองดังกล่าวได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้จำนองเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่ที่ดิน 8 แปลง ที่นำมาจำนองมีราคาถึง 1,000,000บาท เศษ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ผู้คัดค้านอยู่เพียง 500,000 บาทการที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงจึงเป็นการกระทำที่รู้อยู่แล้วว่าทำให้จำเลยที่ 2 และเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2เสียเปรียบ ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตชอบที่จะเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงินผิด เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข การเพิกถอนการโอนที่ดินเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถือเป็นการโอนโดยชอบ ยังถือไม่ได้ว่าผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: ห้ามตั้งประเด็นใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้องในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1ชอบที่จะไปดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก
การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องของตนต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้อง ในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ จำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้นย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไป ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องขอตนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1
of 54