คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งแยกที่ดิน: ศาลมีอำนาจปรับลดเนื้อที่ตามความเป็นจริง แม้คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลพิพากษาให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตรงตามโฉนดโดยถือตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แท้จริงขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้บังคับคดีแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ลดลงตามส่วนของเนื้อที่ดินที่เหลือผิดไปจากคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วได้ กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการแก้ไขคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วเพราะในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไปตามความเป็นจริงได้
เมื่อข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยปรากฏชัดอยู่ในสำนวนโดยคำแถลงรับของคู่ความพอที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้ไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งแยกที่ดิน: ศาลมีอำนาจปรับลดเนื้อที่ตามข้อเท็จจริง แม้คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลพิพากษาให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตรงตามโฉนดโดยถือตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แท้จริงขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้บังคับคดีแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ลดลงตามส่วนของเนื้อที่ดินที่เหลือผิดไปจากคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วได้ กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการแก้ไขคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วเพราะในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไปตามความเป็นจริงได้
เมื่อข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยปรากฎชัดอยู่ในสำนวนโดยคำแถลงรับของคู่ความพอที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้ไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบังคับคดีไม่ถูกต้องแก้ไขได้ โจทก์มีสิทธิขอออกคำบังคับใหม่ให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการบังคับคดี เช่นการออกคำบังคับ หากออกไปโดยไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาย่อมแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องได้ เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา และการแก้ไขนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ออกคำบังคับใหม่ หรือแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางแพ่งในคดีรับของโจร: การบังคับคดีชำระหนี้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์เงินเหรียญของผู้เสียหายรวมเป็นเงิน 110,000 บาท หรือรับของโจรเงินเหรียญของผู้เสียหาย ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยรวมเป็นเงิน22,300 บาท และขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 87,700 บาทที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยคงมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 87,700 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องแก่ผู้เสียหาย ก็ต้องแปลว่าเป็นคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในส่วนที่จำเลยรับของโจร เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้วย่อมไม่อาจขอให้ยึดทรัพย์ของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางแพ่งในคดีรับของโจร ศาลจำกัดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดอาญา ผู้เสียหายขอบังคับคดีเกินกว่านั้นไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยคงมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ก็ต้องแปลว่าเป็นคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในส่วนที่จำเลยรับของโจร เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้ว ย่อมไม่อาจขอให้ยึดทรัพย์ของจำเลยขายทอดตลาดอีกได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืม: ภาระการพิสูจน์, การต่อสู้เรื่องการถูกบังคับ, และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมซึ่งจำเลยให้การว่าลงชื่อโดยถูกบังคับหรือหลอกลวงโดยในสัญญากู้มิได้กรอกข้อความใดและไม่เคยรับเงิน จึงเป็นการต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ และโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้ความว่ามีการกู้ยืมแล้ว จำเลยจึงต้องมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อต่อสู้
ผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยแทนจำเลยด้วยไม่ได้ กรณีต้องบังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใดแต่ตามสัญญากู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยอัตราตามกฎหมาย และโจทก์มีคำขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อเห็นว่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดมาเกินอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าชดเชยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 58 ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียด เอกสารท้ายคำฟ้อง รวม 24,900 บาท ในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน 24,900 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 58 เป็นเงิน 14,900 บาท จึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาด เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้ว แต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้น จึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดในส่วนของจำนวนเงินค่าชดเชย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143
โจทก์ที่58ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียดเอกสารท้ายคำฟ้องรวม24,900บาทในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน24,900บาทเมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่58เป็นเงิน14,900บาทจึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาดเมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้วแต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้นจึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน โมฆะ ผู้มีสิทธิบังคับโอนคือผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
การซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันก่อน โดยตกลงกันว่าชำระราคาแล้วจะนัดไปทำการจดทะเบียนโอนกันที่สำนักงานที่ดินเลย ครั้งถึงวันนัดโจทก์จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจัดหวัดอุบลราชธานี แต่ผู้ร้องสอดไปคัดค้านและขออายัดที่ดิน โจทก์จำเลยจึงขอถอนยกเลิกคำขอจดทะเบียน สัญญาซื้อขายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเมื่อทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และจะถือว่าสมบูรณ์ในฐานะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นผู้ที่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ตนเพียงผู้เดียว
สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงขายที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น มิได้ระบุที่ดินอีกแปลงโฉนดเลขที่ 13305 ตามที่โจทก์ฟ้องมาหรือโฉนดเลขที่ 233205 ตามโฉนดที่ดินที่โจทก์ส่งศาลไว้ด้วย จึงบังคับให้โอนได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทโดยมิได้ระบุเลขโฉนดที่ดินจึงไม่ชัดแจ้งพอศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 125 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ให้ผู้ร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายที่ดิน: เลขที่ น.ส.๓ ผิดพลาด ไม่กระทบสิทธิโจทก์
คำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำเลยโอนขายที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 105 ให้โจทก์ ความปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินพิพาทโดยบรรยายฟ้องระบุเลขที่ของ น.ส.3 ผิดพลาดไป ความจริงที่ดินพิพาทที่โจทก์บังคับให้จำเลยขายคือที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 195 ดังนี้ศาลย่อมบังคับให้จำเลยขายที่ดินพิพาทตามฟ้องซึ่งมี น.ส.3 เลขที่ที่ถูกต้องได้ ไม่เป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษา และไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 323/2512)
of 54