พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซื้อขายที่ดิน: แก้ไขเลขที่ น.ส.3 ในคำฟ้องได้หากไม่กระทบสาระสำคัญ
คำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำเลยโอนขายที่ดิน น.ส.3เลขที่ 105 ให้โจทก์. ความปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินพิพาทโดยบรรยายฟ้องระบุเลขที่ของ น.ส.3 ผิดพลาดไป. ความจริงที่ดินพิพาทที่โจทก์บังคับให้จำเลยขายคือที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 195. ดังนี้ศาลย่อมบังคับให้จำเลยขายที่ดินพิพาทตามฟ้องซึ่งมีน.ส.3 เลขที่ที่ถูกต้องได้. ไม่เป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษา. และไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 323/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องแม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วายาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท แม้มีข้อผิดพลาดในคำพิพากษา ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องได้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว 20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, การผูกพันตามสัญญา, และข้อจำกัดในการขอแก้ไข
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้ คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, ความผูกพันคำพิพากษา, และกรณีพิเศษ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่จึง เป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้นไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อตกลงท้าทายทางกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันต่อผู้แทนดำเนินคดี
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1 ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาลคำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1 ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาลคำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าทายข้อกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันของข้อตกลงต่อโจทก์ที่ไม่ได้ร่วมท้า
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาล คำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาล คำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี