คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11176/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการคัดลอกอุทธรณ์ และแก้ไขโทษฐานยาเสพติดที่ศาลชั้นต้นคำนวณผิด
ฎีกาของจำเลยที่ 1 คัดลอกข้อความในอุทธรณ์ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา เพียงแต่ตัดข้อความในอุทธรณ์หน้า 8 ย่อหน้าที่ 1 หน้า 9 ถึงหน้า 11 บรรทัดที่ 1 ถึงที่ 3 ออกเท่านั้น มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดขึ้นคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใด อย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่ศาลชั้นต้นลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นจำคุก 10 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นคำนวณโทษที่เพิ่มไม่ถูกต้องอันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย อาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวในคำพิพากษาได้ และให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 1 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมผู้บริโภค: ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความแพ้คดีชำระแทนได้ แม้กฎหมายยกเว้นให้โจทก์
แม้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคสอง เพียงแต่บัญญัติยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงให้แก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีในศาล แต่มิได้มีบทบัญญัติใดกล่าวถึงอำนาจศาลในการที่จะพิจารณาสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลเหมือนเช่นกรณีการได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลเพราะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 158 (เดิม) ก็ตาม แต่กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 158 (เดิม) ดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมแก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีในศาลในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ดังนั้น แม้กฎหมายจะยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงให้แก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคหรือโจทก์ก็ตาม แต่อานิสงส์เช่นว่านี้ก็ไม่ควรเป็นประโยชน์ที่ตกได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ฟ้องหรือสู้ความโดยไม่สุจริต โดยเหตุนี้หากในการพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่แพ้คดีจะต้องเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 นั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมอื่น นอกจากค่าทนายความต่อศาลในนามของโจทก์ผู้ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมนั้นได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอ แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15624/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องโทษโดยศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการบวกโทษเป็นไม่บวกโทษนั้น ถือเป็นการแก้ไขคำพิพากษา เพราะทำให้ผลของคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป มิใช่เป็นกรณีที่มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน: การตีความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายและแก้ไขข้อผิดพลาดในการจดทะเบียน
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ในราคา 5,093,600 บาท และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว เมื่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี ว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด ซึ่งการแปลและตีความคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่มีใจความว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำพิพากษาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน ศาลล่างมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อให้การบังคับคดีถูกต้อง
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด การที่ศาลล่างทั้งสองแปลตีความคำพิพากษาว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา นั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7357/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลที่วางไว้เกินจากที่ศาลสั่งคืนได้ แม้มีข้อตกลงค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ศาลฎีกาสั่งแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาตามยอม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่งว่า ค่าขึ้นศาลมีเพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยวางเงินค่าขึ้นอุทธรณ์เป็นเงิน 75,000 บาท ความผิดพลาดจึงเกิดเพราะความผิดหลงในข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งความผิดพลาดในเรื่องการคืนค่าขึ้นศาลให้แก่จำเลยนี้เป็นคนละส่วนกับข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็เป็นข้อตกลงระหว่างคู่ความในเรื่องความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างกันเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาล เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นเรื่องตามป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นว่านั้นให้ถูกต้องตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 65,000 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญากู้เงิน & การบังคับจำนอง: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับ & แก้ไขคำพิพากษาหากผิดพลาด
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
การที่ผู้กู้มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ให้กู้ โดยมีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้จัดการทำประกันภัยแทนผู้กู้ได้ และผู้กู้ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมและค่าเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง จึงเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ อันเป็นหนี้ในอนาคตจะถือว่าจำเลยที่ 1 และนาย ช. ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และนาย ช. ตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้และบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นการบังคับจำนองว่า เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยทั้งสองโดยชอบแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ หากไม่พอย่อมยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 และนาย ช. ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ แต่ในตอนพิพากษากลับมิได้พิพากษาเกี่ยวกับการบังคับจำนอง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดในคำพิพากษา และสิทธิการบังคับจำนองเหนือที่ดินที่แบ่งแยก
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยพิมพ์ตัวเลขโฉนดที่ดินผิดพลาด ศาลชั้นต้นมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเพียงการแก้ไขในรายละเอียดให้ตรงตามความเป็นจริง มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
โฉนดที่ดินที่จำนองมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองมิได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยอันจะทำให้การบังคับคดีไม่เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การแก้ไขคำพิพากษา และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 16646, 16647, 16649 และ 16650 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 90 อันเป็นทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนกว่าจะครบ โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนหรือไม่ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงแต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังที่โจทก์อ้างได้ หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และหาอาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตีความคำพิพากษาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนการขอตีความคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบถ้วน มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีความคำพิพากษาไม่ได้
of 54