พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาการยึดทรัพย์จำนอง: รวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ในชั้นพิจารณาก็ปรากฏตามสัญญาจำนองว่าเป็นการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงปรากฏแต่เพียงว่าขอให้ยึดทรัพย์จำนอง ที่ดินและ "สร้าง" ออกขายทอดตลาดเมื่อทรัพย์จำนองได้แก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ย่อมยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67333 ตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบ โดยไม่ระบุให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดด้วย จึงเป็นกรณีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเนื่องมาจากการพิมพ์คำขอท้ายฟ้องผิดพลาดและมิได้มีการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว จึงมีเหตุสมควรที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกันไม่ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้เมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 คำร้องขอของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำพิพากษาเพิ่มความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย มิใช่คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดมากขึ้น อันมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ จึงขอแก้ไขไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญาประนีประนอมตามยอมได้หากเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา จึงอยู่ในบังคับที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในสัญญาดังกล่าวได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขเลขโฉนดในคำพิพากษา: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขรายละเอียดเลขที่โฉนดให้ถูกต้อง แม้ในชั้นบังคับคดี หากไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดิน เมื่อตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องระบุชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 82489 หาใช่ที่ดินโฉนดเลขที่ 82498 ดังที่โจทก์กล่าวฟ้องและในคำขอท้ายฟ้อง การที่โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนเลขโฉนดจากเลขที่ 82498 เป็นเลขที่ 82489 จึงเป็นการขอแก้ไขในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงกับความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและการแก้ไขคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. การเปลี่ยนแปลงหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้มีการหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นเดือน เมื่อหักทอนบัญชีในเดือนสุดท้ายที่มีการเลิกสัญญา คือ วันที่ 30 กันยายน 2539 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ จำนวน 2,529,015.86 บาท แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นหนี้ที่คำนวณถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าหลังจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งความจริงโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ โจทก์ไม่อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้จึงมิใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนภาระจำยอมกับที่ดินแปลงใหม่หลังแบ่งแยก - ศาลอุทธรณ์สั่งได้ ไม่ขัดฟ้องเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 106380 หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ที่ดินดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 9411 ที่ดินทั้งสองแปลงจึงเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ไม่ว่าที่ดินจะได้แบ่งแยกกันเมื่อใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งให้พนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนภาะจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 9411 จึงไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้องและไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษา กับไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: ผู้รับเงินมีสิทธิได้รับอัตราสูงสุดในฐานะผู้ฝากทั่วไป แม้ผู้จ่ายเป็นส่วนราชการ
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ฝากทั่วไปมิใช่อัตราที่คิดสำหรับส่วนราชการเป็นผู้ฝากและไม่ต้องคำนึงเลยว่าผู้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ และกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องคำพิพากษาศาลฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยอันอาจแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่เป็นกรณีมีปัญหาการบังคับคดีเกี่ยวกับการคิดคำนวณดอกเบี้ยซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่ร้องขอต่อศาลให้วินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดินที่ต้องบังคับจำนองตามคำพิพากษาจากโฉนดเลขที่ 137814 เป็น 137818 เนื่องจากเจ้าหน้าที่โจทก์พิมพ์เลขโฉนดที่ดินดังกล่าวในสัญญาจำนองผิดพลาด เพราะหมายเลขโฉนดที่ดินเขียนด้วยเลขไทย ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจนว่าเป็นโฉนดเลขที่ 137814 หรือ 137818 แต่ในสัญญาจำนองที่ดิน และหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุระวางของที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตรงกับโฉนดที่ดิน ซึ่งโจทก์ได้ถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าวแนบท้ายฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจบังคับจำนองแก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ที่ถูกต้องได้ โดยไม่เป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาและไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในคำพิพากษาชั้นบังคับคดี ศาลอนุญาตได้หากไม่เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษา
การขอแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในคำพิพากษาซึ่งเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่เมื่อมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาก็ขอแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไข ศาลแก้ไขดอกเบี้ยผิดพลาด
ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ. 1 จำเลยรับว่าโจทก์ไม่สามารถเข้า ครอบครองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ได้จริง จึงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 180,000 บาท (หนึ่งแสน แปดหมื่นบาท) โจทก์พอใจและไม่เรียกร้องใด ๆ หากจำเลยนำเงินมาให้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันนี้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินแล้วจะโอนที่ดิน น.ส. 3 ก. ดังกล่าวให้แก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ได้ตกลงจะยินยอมเสีย ดอกเบี้ยตามกฎหมาย ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ปฏิบัติต่างตอบแทน ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ก่อน แล้วโจทก์จึงจะโอนสิทธิในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนั้นจำเลยจึงจะเกี่ยงให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้โดยส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยก่อนมิฉะนั้นจะไม่ชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามมานั้นได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2542 นั้นผิดพลาดไปเพราะศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วว่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2541 ดังนั้นย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2541 ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยแม้จำเลยฎีกาเพียงฝ่ายเดียว ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจมาตรา 143 แห่ง ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามมานั้นได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2542 นั้นผิดพลาดไปเพราะศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วว่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2541 ดังนั้นย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2541 ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยแม้จำเลยฎีกาเพียงฝ่ายเดียว ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจมาตรา 143 แห่ง ป.วิ.พ.